วันที่เข้าร่วมกิจกรรม
เข้าชมนิทรรศการทั่วไป
เลือกช่วงเวลาที่ต้องการเข้าชม
วิทยากรนำชม
กิจกรรม ภายใน อาคาร
กิจกรรมฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ราคา 100 บาท / คน
กิจกรรมฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ฐานที่ 1 ความลับของผีเสื้อ
อ.1 – ป.3
40 – 50 คน
30 นาที – 45 นาที (สามารถปรับเวลาได้ตามความเหมาะสม)
- กระดาษ A3 ปริ้นรูปผีเสื้อ - กาว - กระดาษสี - สีเมจิก
ปีกของผีเสื้อเป็นเยื่อบางๆ มีเส้นปีกเป็นโครงร่างให้คงรูปอยู่ได้ ลวดลายบนแผ่นปีกของเกล็ดผีเสื้อจะเกิดขึ้นจากเกล็ดชิ้นเล็กๆ เรียงซ้อนกัน ปกคลุมทั่วทั้งแผ่นปีก ปีกของผีเสื้อมีจำนวนเกล็ดที่เรียงซ้อนกัน โดยลวดลาย หรือสีที่เกิดขึ้นบนปีกของผีเสื้อก็เกิดจากเกล็ดของผีเสื้อที่มีสีแตกต่างกันเรียงซ้อนกันเป็นกลุ่ม กิจกรรมนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง สี และลักษณะของสิ่งมีชีวิต โดยใช้ปีกผีเสื้อเป็นสื่อในการเรียนรู้
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้และมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี มาตรฐานที่ 11 ตัวบ่งชี้ 11.1.1 สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 5 – 6 ปี
ฐานที่ 2 ลูกไม้หล่นไกลต้น
อ.1 – ม.3
- กระดาษ A4 - กรรไกร - กาว - สีไม้ สีเมจิก - ดินสอ ยางลบ กบเหลา - คลิปหนีบกระดาษ
พืชมีกลวิธีในการกระจายเมล็ดพันธุ์หลากหลายวิธี มีพืชหลายชนิดที่มีวิวัฒนาการจนผล หรือเมล็ด มีส่วนคล้ายปีก หรือมีส่วนของปุย ทำให้เมล็ดหรือผลนั้นถูกลมพัดพาไปได้ไกล เช่น ยาง ตะเคียน ประดู่ ปีบ นุ่น และโมก ลักษณะดังกล่าวเป็นผลทางวิวัฒนาการ เพื่อความอยู่รอดหรือการดำรงอยู่ของสายพันธุ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ประดิษฐ์สื่อเรียนรู้ ประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับการกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตและกลไกการวิวัฒนาการ
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 ป.1 ตัวชี้วัดที่ 1 และ ม.1 ตัวชี้วัดที่ 13 อ้างอิงจากสสวท.
ฐานที่ 3 ห่วงโซ่อาหาร
ป.1 – ม.6
- กระดาษระบายสี - สีไม้ หรือสีเมจิก - สื่อเรียนรู้
ห่วงโซ่อาหาร คือกระบวนการถ่ายทอดพลังงานผ่านการกินเป็นทอดๆ ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ และห่วงโซ่อาหารหลาย ๆ ห่วงโซ่ ที่มีความคาบเกี่ยวหรือสัมพันธ์กันเชื่อมโยงไปมา มีความซับซ้อนขึ้นกลายเป็นสายใยอาหาร ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยผู้ผลิต ผู้บริโภคลำดับขั้นต่าง ๆ และผู้ย่อยสลาย ซึ่งหากขาดตัวใดตัวหนึ่งไปก็จะทำให้ระบบมีการเปลี่ยนแปลง เกิดการเสียสมดุล ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เรียนรู้กลไกดังกล่าวผ่านกิจกรรม
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ป.5 ตัวชี้วัดที่ 2, 3, 4 และ ชั้น ม.3 ตัวชี้วัดที่ 3, 4, 5, 6 อ้างอิงจากสสวท.
ฐานที่ 4 การจำแนกสิ่งมีชีวิต
ป.4 – ม.6
- คู่มือลักษณะ - ดินสอ - โมเดลสัตว์ - บอร์ดกระดาษบรูฟ เขียนตัวอย่าง - ปากกาเมจิก
กิจกรรมนี้ฝึกให้นักเรียนสามารถจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างกัน อย่างมีระบบ ซึ่ง Dichotomous Key เป็นวิธีการสากลเป็นที่ยอมรับ นอกจากสามารถใช้จัดจำแนกสิ่งมีชีวิตได้แล้ว Dichotomous Key ยังช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจเรื่องราวของวิวัฒนาการได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ป.1 ตัวชี้วัดที่ 1, 2 และ ชั้น ป.5 ตัวชี้วัดที่ 1 อ้างอิงจากสสวท.
ฐานที่ 5 การคัดสรรตามธรรมชาติและชีวภูมิศาสตร์
- กระดาษบรูฟ - กระดาษจับฉลาก - กระดาษ A4 1/2 แผ่น - สีไม้ - ดินสอ
การคัดสรรตามธรรมชาติ เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิต โดยสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่จะส่งผ่านไปสู่รุ่นต่อๆไป ลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะถูกคัดออก นั่นหมายความว่าสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาจสามารถอยู่รอดในสภาพแวดล้อมนึงหรืออาจจะสูญพันธุ์ในอีกสภาพแวดล้อมนึง จากสาเหตุนี้ ทำให้เราพบสิ่งมีชีวิตที่ต่างกันในสถานที่ต่างกัน แม้ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ป.5 ตัวชี้วัดที่ 1 และ ชั้น ม.4 ตัวชี้วัดที่ 3 อ้างอิงจากสสวท.
ฐานที่ 6 ใบไม้แห่งศิลปะ
- กระดาษ A4 - กรรไกร - กาว - สีไม้ สีเมจิก - ดินสอ ยางลบ กบเหลา - ใบไม้แห้ง
ใบไม้แห่งศิลปะเป็นการนำเอาลักษณะสัณฐาน และสีของแผ่นใบ มาออกแบบเป็นผลงานศิลปะตามจินตนาการ ให้ได้เห็นถึงความงามที่เรามักจะมองข้าม และนำเสนอผลงานที่ออกแบบตามจินตนาการของตนเอง
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้และมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานที่ 11 ตัวบ่งชี้ 11.1.1 สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 5 – 6 ปี
ฐานที่ 7 นักสำรวจ
-
นักสำรวจ เป็นกิจกรรมที่จะพาผู้ร่วมกิจกรรมตะลุยสำรวจพิพิธภัณฑ์ฯ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการกำเนิดจักรวาล สิ่งมีชีวิตต่างๆ การวิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งระบบนิเวศ ผ่านโซนนิทรรศการภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ● สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ป.1 ตัวชี้วัดที่ 1, 2 ชั้น ม.3 ตัวชี้วัดที่ 1, 2 และ ชั้น ม.4 ตัวชี้วัดที่ 1 ● สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว 3.2 ชั้น ป.6 ตัวชี้วัดที่ 1, 3 และ ชั้น ม.6 ตัวชี้วัดที่ 1, 2, 3 อ้างอิงจากสสวท.
ฐานที่ 8 Walk Rally ตามรอยมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ
เอกสารคู่มือ walk rally
วิทยากรหลัก 3 คน
นิทรรศการที่จัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ฯ มีทั้งส่วนที่อยู่ภายนอกอาคารและภายในอาคาร ก่อนเข้าสู่ตัวอาคารจะมีนิทรรศการหิน ป่าชายหาด และสังคมพืชชุ่มน้ำ เมื่อเข้ามาภายในตัวอาคาร บริเวณชั้นที่ 1 กำเนิดโลกและมาตราธรณีกาล, ชั้นลอย มหัศจรรย์ธรรมชาติ, ชั้น 2 ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต, ชั้น 3 ระบบนิเวศต่างๆ ซึ่งแต่ละนิทรรศการจะมีความลับซ่อนอยู่ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าศึกษาและค้นหาคำตอบไปด้วยกัน
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ● สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ป.1 ตัวชี้วัดที่ 1, 2 ชั้น ม.3 ตัวชี้วัดที่ 1, 2 และชั้น ม.4 ตัวชี้วัดที่ 1 ● สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว 3.2 ชั้น ป.6 ตัวชี้วัดที่ 1, 3 และ ชั้น ม.6 ตัวชี้วัดที่ 1, 2, 3 อ้างอิงจากสสวท.
กิจกรรม ภายนอก อาคาร
กิจกรรมคอหงส์วิทยา ราคา 150 บาท / คน
กิจกรรมคอหงส์วิทยา
กิจกรรมเดินป่าศึกษาเส้นทางธรรมชาติ
สถานีที่ 1 เกาะร้อนๆ (Heat Island)
20 – 30 คน
25 – 35 นาที
เทอร์โมมิเตอร์
ปรากฏการณ์เกาะร้อน คือ ปรากฏการณ์ที่พื้นที่เมืองที่เต็มไปด้วยคอนกรีต มีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่รอบ ๆ ข้างที่มีต้นไม้มากกว่า ทำให้พื้นที่เมืองต้องเปลืองพลังงานไปกับการใช้เครื่องปรับอากาศ การที่เรามีพื้นที่ป่าอยู่ใกล้ๆเมือง จะช่วยให้ปรากฏการณ์นี้อ่อนลง เพราะป่ามีความชุ่มชื้น อากาศเย็นจากป่าจะไหลมาแทนที่อากาศร้อนในเมือง จึงช่วยลดอุณหภูมิของอากาศในเมืองได้ กิจกรรมนี้จะให้นักเรียนวัดอุณหภูมิและเปรียบเทียบกันบริเวณนอกป่า ขอบป่า และในป่า
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ม.4 ตัวชี้วัดที่ 2 อ้างอิงจากสสวท.
สถานีที่ 2 การปรับตัวของราก (Root Adaptation)
ปกติรากของพืชจะอยู่ใต้ดิน มีหน้าที่หลักในการดึงน้ำและสารอาหารสู่ลำต้น นอกจากนี้ในบางพื้นที่มีลักษณะพิเศษเช่นเป็นเขา มีหิน หน้าดินตื้น รากจึงมีการปรับตัวแบบพิเศษ กิจกรรมนี้จะให้นักเรียนสังเกตบริเวณรอบๆ เพื่อหาต้นไม้ที่มีรากแบบพิเศษและลองวิเคราะห์ว่าต้นไม้ได้ประโยชน์อะไรจากการมีรากแบบนั้น
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 ชั้น ป.4 ตัวชี้วัดที่ 1 และ ชั้น ม.4 ตัวชี้วัดที่ 12 อ้างอิงจากสสวท.
สถานีที่ 3 ธนาคารน้ำ (Water bank)
- ตลับเมตร - นาฬิกาจับเวลา
หน้าที่ที่สำคัญอีกประการของป่า คือเป็นแหล่งต้นน้ำ โดยป่าจะกักเก็บน้ำฝนไว้ใต้ดิน แล้วค่อยๆปลดปล่อยน้ำออกมาทีละน้อย ช่วยให้น้ำที่มากเกินไปไม่ไหลท่วมบ้านเมือง ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้มีน้ำใช้ในช่วงหน้าแล้งที่มีฝนน้อย คล้ายกับธนาคารที่คอยรักษาเงินไว้ในยามมีเงิน และสามารถถอนออกมาใช้เวลาขาดแคลน กิจกรรมนี้จะให้นักเรียนคำนวณหาปริมาณน้ำที่ป่าผลิตออกมาและไหลอยู่ในลำธาร
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ม.4 ตัวชี้วัดที่ 4 อ้างอิงจากสสวท.
สถานีที่ 4 ผู้ผลิตออกซิเจน (Oxygen Producer)
- สายวัด - เชือก
ในกระบวนการสร้างอาหารของพืช พืชจะใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารตั้งต้น และในที่สุดก็จะได้ก๊าซออกซิเจนเป็นผลิตภัณฑ์ ดังนั้นพืชจึงถือเป็นผู้ผลิตออกซิเจน ในแต่ละวันคนเราต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจ เทียบได้กับปริมาณออกซิเจนที่ผลิตได้จากต้นไม้ที่มีเส้นรอบวง 850 เซนติเมตร ดังนั้น นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการคำนวณโดยประมาณว่า พื้นที่ป่าแต่ละแห่งที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่ สามารถผลิตออกซิเจนให้คนได้กี่คน
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 ชั้น ป.3 ตัวชี้วัดที่ 1, 2 และ ชั้น ม.1 ตัวชี้วัดที่ 7, 8 อ้างอิงจากสสวท.
สถานีที่ 5 คนพึ่งป่า ป่าพึ่งคน (Human and forest)
คนเราใช้ประโยชน์จากป่ามานานตั้งแต่อดีต แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ป่าก็ถูกทำลายเพื่อเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของคนจำนวนมาก พื้นที่ป่าจึงลดลงในที่สุดผลกระทบก็ย้อนมาสู่ตัวมนุษย์เอง กิจกรรมนี้จะให้นักเรียนลองวิเคราะห์ดูว่าป่ามีความจำเป็นต่อมนุษย์อย่างไร และมนุษย์จะมีวิธีการช่วยเหลือให้ป่าที่ลดน้อยลงกลับคืนมาได้อย่างไร
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ม.4 ตัวชี้วัดที่ 2, 4 อ้างอิงจาก สสวท.
สถานีที่ 6 กิจกรรมนักสะสม (My collection)
ถุงซิปล๊อค
ผู้เข้าร่วมจะเดินสำรวจสิ่งต่างๆไปตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาคอหงส์ หรือบริเวณริมอ่างเก็บน้ำ ม.อ. ได้ฝึกการสังเกตธรรมชาติรอบตัวที่มีความหลากหลาย โดยสามารถรวบรวมและจัดจำแนกประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ ตามลักษณะที่มองเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ลักษณะสัณฐานของสิ่งต่าง ๆ ได้
● กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ป.1 ตัวชี้วัดที่ 1 อ้างอิงจากสสวท. ● กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้และมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 3 – 6 ปี มาตรฐานที่ 10 ตัวบ่งชี้ 10.1 สภาพที่พึงประสงค์ 10.1.1, 10.1.2 และ 10.1.3 อายุ 5 – 6 ปี
กิจกรรมธรรมชาติพาเพลิน
ปักษาพาเพลิน (Birds Walk) ช่วงเวลา 06.00 - 09.00 น.
1 – 3 ชั่วโมง
300 บาท/คน
- กล้องดูนก (Binoculars) - เอกสารคู่มือดูนก - ดินสอ - สีไม้
วิทยากรหลัก 1 คน และวิทยากรผู้ช่วย 2 คน
นก เป็นทรัพยากรชีวภาพที่สำคัญในท้องถิ่นและระบบนิเวศ ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมประชากรสัตว์กลุ่มแมลงและอื่น ๆ ทั้งยังเป็นผู้กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติให้กับทรัพยากรพืช การได้มองสีสันสวยงามและพฤติกรรมที่น่ารักของนกยังช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ลักษณะที่แตกต่างหลากหลายของนก ช่วยฝึกให้ผู้ที่ทำกิจกรรมดูนกรู้จักสังเกต และชอบค้นคว้า เพื่อที่จะให้ได้ทราบว่านกที่เจอเป็นนกชนิดใด ซึ่งจะเป็นความรู้เบื้องต้นที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าใจงานทางด้านอนุกรมวิธานได้โดยง่าย พฤติกรรมของนกขณะที่กำลังเฝ้าสังเกต และบริเวณที่อยู่อาศัยยังช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงบทบาทของนกในระบบนิเวศ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และอยากที่จะอนุรักษ์นกและระบบนิเวศที่นกอาศัยอยู่ต่อไป
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ชั้น ป.1 ตัวชี้วัดที่ 1, 2 และ ชั้น ม.3 ตัวชี้วัดที่ 2 อ้างอิงจากสสวท.
นิเวศราตรี (Night walk) ช่วงเวลา 18.00 - 20.00 น.
1.30 - 2 ชั่วโมง
- ไฟฉาย - อุปกรณ์สำหรับศึกษาสัตว์กลุ่มค้างคาว (bats) และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน (amphibians & reptiles)
ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศยามค่ำคืนเป็นสิ่งที่คนทั่วไปมองว่าลึกลับและน่ากลัว ในความเป็นจริงคือเรามีองค์ความรู้ของสิ่งมีชีวิตที่หากินกลางคืนค่อนข้างน้อย อาจเนื่องมาจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ยากต่อการพบและนำมาศึกษา และยิ่งไปกว่านั้นคือยากต่อการจำแนกชนิดอีกด้วย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จึงมักถูกมองข้าม (neglected) และถูกเข้าใจผิดในแง่ลบอยู่เสมอ เช่น ค้างคาว หนู งู กบ ทั้งที่พวกมันมีส่วนสำคัญต่อพลวัตรของระบบนิเวศอย่างมาก
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 ป.1 ตัวชี้วัดที่ 1, 2 และ ม.3 ตัวชี้วัดที่ 2 อ้างอิงจากสสวท.