Skip to the content
✕
TROPICAL FOREST
ผืนป่าเขตร้อน ต้นธารชีวิต
ROUTE 1
TROPICAL
FOREST
0/3
ผืนป่าเขตร้อน ต้นธารชีวิต
เลื่อนลงเพื่อดูต่อ ↓
ไม่มีทาง
ที่เราจะอยู่ได้โดยไม่มีป่า
บางทีป่าก็อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด
อาจใกล้จนเหมือนกับเป็น สวนหลังบ้านเลยด้วยซํ้า
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ตั้งอยู่ ณ วิทยาเขตหาดใหญ่ บริเวณเชิงเขาคอหงส์
“เขาคอหงส์” เปรียบเสมือนสวนหลังบ้าน ของชาวหาดใหญ่
เขาคอหงส์
ครอบคลุมพื้นที่ทิศตะวันออกของเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ทอดตัวยาวในแนวทิศเหนือ–ใต้ ความยาวประมาณ 5.6 กิโลเมตร
มีพื้นที่ประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร
เขาคอหงส์ อุดมไปด้วยคุณค่าและความสำคัญหลากหลายด้าน อาทิ แหล่งบริการทางนิเวศ แหล่งต้นน้ำและซับน้ำฝน
แหล่งผลิต
อากาศบริสุทธิ์ ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เพียงพอต่อการหายใจของคนได้ประมาณ 400,000 คนต่อวัน เป็นสถานที่พักผ่อน หย่อนใจของคนท้องถิ่นและผู้มาเยือน
ภาพสะท้อนของกระบวนการฟื้นฟูป่า หลังจากการบุกรุกทำลาย
เขาคอหงส์เป็นผืนป่าสุดท้ายของหาดใหญ่ ปัจจุบันพื้นที่กว่า 37% ของเขาคอหงส์ เป็นป่าทดแทนที่ได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ คืนความอุดมสมบูรณ์ให้ป่าเขาคอหงส์กลับมาเป็นแหล่งพักพิงของสรรพชีวิตอีกครั้ง
ปัจจุบันเขาคอหงส์กลายเป็นอีก “แหล่งนันทนาการทางด้านการศึกษาธรรมชาติ” สำหรับเยาวชนและผู้สนใจบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 1.2 กิโลเมตร ครอบคลุมบริเวณป่าที่มีสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายทั้งผืนป่าปฐมภูมิและป่าทุติยภูมิ
ชวน “เดินป่า” ศึกษาธรรมชาติ เพื่อการเรียนรู้ “เขาคอหงส์”
บนเส้นทางในพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในแหล่งเรียนรู้ทั้งหมด 5 สถานี
สถานีที่ 1 “เกาะร้อน ๆ”
เรียนรู้เกี่ยวกับ “เกาะร้อน (Heat Island)” ปรากฏการณ์ของเมืองที่เต็มไปด้วย “ป่าคอนกรีต” มีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่ “ป่าสีเขียว” ทำให้พื้นที่เมืองต้องสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากรไปกับการลดอุณหภูมิ แต่การมีป่าเหมือนกับเขาคอหงส์ที่ใกล้เมืองหาดใหญ่จะช่วยให้ปรากฏการณ์เกาะร้อนนี้ลดลง เพราะ “ป่า” คือตัวช่วยสำคัญ ในการลดอุณหภูมิของอากาศ
สถานีที่ 2 “การปรับตัวของราก”
เรียนรู้เกี่ยวกับ “ราก” ของพืชที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งมีหน้าที่หลักในการดึงน้ำและสารอาหารสู่ลำต้น
นอกจากนี้รากก็ยังมีหน้าที่อื่น ๆ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของรากที่จะให้ประโยชน์กับพืชต่างกันไปอีกด้วย
สถานีที่ 3 “ธนาคารน้ำ”
เรียนรู้ “การกักเก็บน้ำของป่า” น้ำฝนส่วนใหญ่จะถูกเก็บอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน เหมือนการฝากน้ำไว้ใต้ผิวดิน
ซึ่งได้จากฝนที่กระทบเรือนยอด
และลำต้นของต้นไม้ ทำให้น้ำฝนไหลลงสู่ผืนดิน
จนผืนดินกลายเป็นธนาคารรับฝากน้ำปริมาณมาก
เมื่อถึงหน้าแล้งน้ำใต้ดินที่ถูกกักไว้จะถูกปลดปล่อยออกมาสู่ลำธารทีละน้อย
เหมือนป่าเขาคอหงส์ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของลำธารที่ไหลลงในพื้นที่อ่างเก็บน้ำของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
สถานีที่ 4 “ผู้ผลิตออกซิเจน”
เรียนรู้ “การผลิตออกซิเจน” ในแต่ละวัน
มนุษย์ต้องใช้ต้นไม้ที่มีเส้นรอบวงขนาด 850 เซนติเมตร
ในการผลิตออกซิเจนให้เพียงพอต่อการหายใจ มาลองดูกันว่า กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชนั้นเกิดขึ้นอย่างไร
แล้วผืนป่าเขาคอหงส์แห่งนี้สามารถผลิตออกซิเจนให้ผู้คนได้มากเท่าไหร่
สถานีที่ 5 “คนพึ่งป่า ป่าพึ่งคน”
เรียนรู้ “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับป่าอย่างสมดุล” คนเราใช้ประโยชน์จากป่ามานานตั้งแต่อดีต
แต่เมื่อมนุษย์มีประชากรมากขึ้นความต้องการใช้ทรัพยากรก็ยิ่งเพิ่มขึ้น
ป่าไม้ถูกแผ้วถางทำลายเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ ในที่สุดเมื่อป่าลดลง
ผลกระทบก็ย้อนกลับมาสู่มนุษย์ ที่ตักตวงผลประโยชน์จากป่ามากเกินพอดี
จนส่งผลกับชีวิตในด้านต่าง ๆ มากขึ้น
รู้ไหมว่า ? เขาคอหงส์มีป่าประเภทใดมากที่สุด
ป่าดิบชื้น
จัดเป็นป่าฝนในเขตร้อน มักอยู่ในบริเวณที่มีฝนตกชุก
มีความชุ่มชื้นในดินค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี
ป่าดิบแล้ง
มีลักษณะโครงสร้างคล้ายป่าดิบชื้น
มีไม้ผลัดใบขึ้นแทรกกระจายมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและความชุ่มชื้นภายในดิน
ป่าดิบเขา
ประเทศไทยจำแนกป่าดิบเขาออกเป็น 2 แบบ คือ
ป่าดิบเขาต่ำ และ ป่าดิบเขาสูง
ป่าพรุ
บางครั้งถูกเรียกว่า พื้นที่ชุ่มน้ำ
ด้วยลักษณะที่มีน้ำท่วมขังตลอดเวลา บริเวณป่าพรุจึงถือได้ว่า เป็นแหล่งเก็บน้ำจืด
ที่มีความสำคัญ ไม่น้อยไปกว่าการเป็นแหล่งรวมพรรณพืชและสัตว์นานาชนิด
เห็นไหมว่า พื้นที่หนึ่งแห่งอาจเป็นมากกว่าป่า จากการถูกจำแนกโดยเกณฑ์การแบ่งที่แตกต่างกันไป
ไม่ว่าจะเป็น ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา หรือป่าพรุ
ป่าเหล่านี้จัดเป็น ป่าประเภทไม่ผลัดใบ ที่อยู่ใน
“ป่าเขตร้อน”
คำว่า ป่าเขตร้อน คือ คำเรียกของป่าที่เกิดในบริเวณ
เส้นศูนย์สูตร ไม่ใช่คำเรียกเฉพาะของป่าชนิดใดชนิดหนึ่ง
ส่วนป่าเขตร้อน คาบสมุทรไทยนับจากใต้คอคอดกระ
ลงไป
จะมีความโดดเด่นเรื่องความชุ่มชื้นเป็นพิเศษ เพราะมีปริมาณ
น้ำฝนมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทำให้มีป่าดิบชื้นเยอะมากที่สุด
และมีความคล้ายคลึงกับป่าทางประเทศมาเลเซีย
“ป่าเขตร้อน
สังคมของสิ่งที่มีชีวิต
ที่มีความซับซ้อนมากที่สุด”
คาบสมุทรไทย
จัดเป็นป่าเขตร้อนที่น่าค้นหา
แห่งหนึ่งของโลก
เป็นที่อยู่ของสัตว์นานาชนิดที่พึ่งพาอาศัยกัน
ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเป็นแหล่งรวม
ของระบบนิเวศ
ที่ควรค่าแก่การศึกษา
ตัวอย่างความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
แม้ มนุษย์ ส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัยอยู่ในป่าเหมือนในอดีต
จนเหมือนว่า แยกกันอยู่โดยสิ้นเชิง
แต่ “ป่า” ยังสัมพันธ์และสำคัญกับ “ชีวิต” ของมนุษย์
ไม่ว่าจะในทางตรงหรือทางอ้อม มนุษย์ก็ยังคงได้รับประโยชน์จากป่า
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
“ป่า” ยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้โดยสมบูรณ์
ดังนั้น มนุษย์จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ
เพื่ออนุรักษ์ป่าให้คงอยู่ต่อไป
ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับข้อมูลป่าเขตร้อนในคาบสมุทรไทย
เราลองมาฟังเสียงธรรมชาติ จากป่าเขาคอหงส์กัน
ฟังแล้วได้ยินเสียงอะไรบ้าง
มีเสียงของสัตว์ตัวไหน ที่เราพอจะรู้จักบ้างไหม ?
เสียงสรรพสิ่งที่ดังระงมสะท้อน
ให้เห็นว่าถึงเขาคอหงส์จะเป็นผืนป่าขนาดเล็ก แต่เป็นที่พักพิงของสรรพสัตว์มากมาย
จากการสำรวจเราค้นพบว่า
เขาคอหงส์ ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตกว่า “200” ชนิด แม้ว่าในปัจจุบัน จะไม่มีสัตว์ใหญ่
หลงเหลืออยู่แล้ว
แม้จะกลายเป็นป่าทุติยภูมิ เขาคอหงส์ก็ยังเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตมากมาย อยากรู้ไหมว่ามีสัตว์อะไรในเขาคอหงส์บ้าง
ในพื้นที่ป่าเขตร้อน
เพียง 1 ตารางกิโลเมตร
เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนับพัน
ในผืนป่าที่กว้างใหญ่อย่าง
อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี จังหวัดสงขลา
ครอบคลุมพื้นที่ราว 140,000 ไร่
เราพบว่ามีสิ่งมีชีวิต
จำนวนไม่น้อยกว่า 700 ชนิด
เห็นไหมว่าคาบสมุทรไทย
เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ
อย่างไม่ต้องสงสัย
10 สิ่งมีชีวิตน่าสนใจ ของป่าเขตร้อน
ที่หาดูได้ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
5 เกร็ดความรู้เด็ด ๆ เกี่ยวกับป่าเขตร้อนจากนักวิจัย
รู้หรืà¸à¹„ม่
หาà¸à¹„ม่มีค้างคาว เราจะไม่มีสะตภà¸à¸±à¸šà¸—ุเรียนà¸à¸´à¸™
อ่านต่อ
มีà¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸„้นพบว่า ค้างคาวช่วย “ผสมเà¸à¸ªà¸£â€ ให้พืชเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸ªà¸³à¸„ัà¸à¹ƒà¸™à¸ าคใต้ขà¸à¸‡à¹„ทยไม่ต่ำà¸à¸§à¹ˆà¸² 10 ชนิด ค้างคาวเล็บà¸à¸¸à¸”ช่วยผสมเà¸à¸ªà¸£à¸žà¸·à¸Š 2 ชนิด ได้à¹à¸à¹ˆ สะตà¸à¹à¸¥à¸°à¸—ุเรียน โดยมีส่วนช่วยถึง 80-100% ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษà¸à¸à¸´à¸ˆà¸«à¸¥à¸²à¸¢à¸£à¹‰à¸à¸¢à¸¥à¹‰à¸²à¸™à¸šà¸²à¸—ต่à¸à¸›à¸µ เป็นตัวà¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸‚à¸à¸‡à¸à¸²à¸£à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸—างนิเวศ à¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸«à¸™à¸¶à¹ˆà¸‡à¸—ี่มนุษย์ได้รับจาà¸à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸Šà¸²à¸•à¸´
รู้หรืà¸à¹„ม่
โรคà¸à¸¸à¸šà¸±à¸•à¸´à¹ƒà¸«à¸¡à¹ˆà¹„ม่ได้เà¸à¸´à¸”จาà¸à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¸›à¹ˆà¸²à¹€à¸ªà¸¡à¸à¹„ป
อ่านต่อ
à¹à¸¡à¹‰à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¸›à¹ˆà¸²à¸«à¸¥à¸²à¸¢à¸Šà¸™à¸´à¸”จะเป็นà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸£à¸§à¸¡à¹€à¸Šà¸·à¹‰à¸à¹„วรัสที่à¸à¸²à¸ˆà¸à¹ˆà¸à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸à¸´à¸”โรคà¸à¸¸à¸šà¸±à¸•à¸´à¹ƒà¸«à¸¡à¹ˆ à¸à¸²à¸—ิ à¸à¸²à¸£à¸•à¸£à¸§à¸ˆà¸žà¸šà¹€à¸Šà¸·à¹‰à¸à¹„วรัสà¸à¸§à¹ˆà¸² 200 สายพันธุ์ในค้างคาว à¹à¸•à¹ˆà¸„้างคาวà¸à¹‡à¸¡à¸µà¸ ูมิต้านทานไม่ให้ตัวเà¸à¸‡à¸›à¹ˆà¸§à¸¢ à¹à¸¥à¸°à¹„ม่มีทางที่เชื้à¸à¸ˆà¸°à¸¡à¸²à¸ˆà¸²à¸à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œ ถ้ามนุษย์ไม่เข้าไปรบà¸à¸§à¸™à¸«à¸£à¸·à¸à¸¢à¸¸à¹ˆà¸‡à¹€à¸à¸µà¹ˆà¸¢à¸§à¸à¸±à¸šà¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¸›à¹ˆà¸²
รู้หรืà¸à¹„ม่
“ป่าà¸à¸™â€ เป็น “ยาต้านขนานเà¸à¸â€ à¹à¸à¹‰à¹‚ลà¸à¸£à¹‰à¸à¸™
อ่านต่อ
บทบาทหนึ่งที่สำคัà¸à¸‚à¸à¸‡à¸•à¹‰à¸™à¹„ม้เมื่à¸à¸¢à¸²à¸¡à¹€à¸•à¸´à¸šà¹ƒà¸«à¸à¹ˆ คืà¸à¸„à¸à¸¢à¸”ัà¸à¹€à¸à¹‡à¸šà¸„าร์บà¸à¸™à¸ˆà¸²à¸à¸šà¸£à¸£à¸¢à¸²à¸à¸²à¸¨ สู่โรงจัดเà¸à¹‡à¸šà¸—ี่ดีเยี่ยมในบริเวณเนื้à¸à¹€à¸¢à¸·à¹ˆà¸à¸‚à¸à¸‡à¸žà¸§à¸à¸¡à¸±à¸™à¸œà¹ˆà¸²à¸™à¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸±à¸‡à¹€à¸„ราะห์ด้วยà¹à¸ªà¸‡ à¸à¸à¸›à¸£à¸à¸±à¸šà¸›à¹ˆà¸²à¸à¸™à¸—ี่à¸à¸¸à¸”มไปด้วยต้นไม้ขนาดใหà¸à¹ˆà¸¡à¸«à¸¶à¸¡à¸²à¸ˆà¸³à¸™à¸§à¸™à¸¡à¸²à¸à¹à¸¥à¸°à¸‚นาดเล็à¸à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸´à¸£à¸´à¸”à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸±à¸”à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¹„ปทั่ว ทำให้พวà¸à¸¡à¸±à¸™à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–à¸à¸±à¸à¹€à¸à¹‡à¸šà¸›à¸£à¸´à¸¡à¸²à¸“คาร์บà¸à¸™à¹„ด้เป็นจำนวนมาà¸à¸™à¸±à¹ˆà¸™à¹€à¸à¸‡ à¹à¸•à¹ˆà¸—ว่าเมื่à¸à¹„หร่ที่ต้นไม้ถูà¸à¸«à¸±à¸à¹‚ค่นลง à¹à¸œà¹‰à¸§à¸–างให้à¸à¸§à¹‰à¸²à¸‡à¸à¸à¸à¹„ป หรืà¸à¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¹€à¸œà¸²à¹„หม้เà¸à¸´à¸”ขึ้น จะทำให้สิ่งที่เคยถูà¸à¸ˆà¸±à¸”เà¸à¹‡à¸šà¹„ว้เป็นà¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸”ี ค่à¸à¸¢ ๆ ถูà¸à¸›à¸¥à¸”ปล่à¸à¸¢à¸à¸à¸à¸¡à¸²à¸ªà¸¹à¹ˆà¸šà¸£à¸£à¸¢à¸²à¸à¸²à¸¨à¹ƒà¸™à¸£à¸¹à¸›à¹à¸šà¸šà¸‚à¸à¸‡à¸à¹Šà¸²à¸‹à¸„าร์บà¸à¸™à¹„ดà¸à¸à¸à¹„ซด์หรืà¸à¸à¹Šà¸²à¸‹à¹€à¸£à¸·à¸à¸™à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸à¸•à¹ˆà¸²à¸‡ ๆ à¸à¸²à¸—ิ มีเทน ไนตรัสà¸à¸à¸à¹„ซด์ à¹à¸¥à¸°à¹„นตรัสà¸à¸à¸à¹„ซด์à¸à¸·à¹ˆà¸™ ๆ เป็นต้น à¹à¸¥à¸°à¸à¸²à¸ˆà¸™à¸³à¹„ปสู่à¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸´à¸”ภาวะโลà¸à¸£à¹‰à¸à¸™à¸•à¹ˆà¸à¹„ป ที่น่าวิตà¸à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸„ืภมีà¸à¸²à¸£à¸„าดà¸à¸²à¸£à¸“์ไว้ว่าในà¹à¸•à¹ˆà¸¥à¸°à¸›à¸µà¸ˆà¸°à¸¡à¸µà¸à¹Šà¸²à¸‹à¹€à¸£à¸·à¸à¸™à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸à¸›à¸£à¸°à¸¡à¸²à¸“ 10 เปà¸à¸£à¹Œà¹€à¸‹à¹‡à¸™à¸•à¹Œà¸–ูà¸à¸›à¸¥à¸”ปล่à¸à¸¢à¸ªà¸¹à¹ˆà¸šà¸£à¸£à¸¢à¸²à¸à¸²à¸¨à¸—ี่มาจาà¸à¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸—ำขà¸à¸‡à¸¡à¸™à¸¸à¸©à¸¢à¹Œ à¸à¸²à¸—ิ à¸à¸²à¸£à¹à¸œà¹‰à¸§à¸–างป่า à¸à¸²à¸£à¸•à¸±à¸”โค่นต้นไม้ใหà¸à¹ˆà¹à¸¥à¸°à¹€à¸œà¸²à¸›à¹ˆà¸²à¹ƒà¸™à¸šà¸£à¸´à¹€à¸§à¸“ป่าà¸à¸™à¹à¸¥à¸°à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ป่าพรุเพื่à¸à¸‚ยายขนาดพื้นที่ทางà¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸©à¸•à¸£ หรืà¸à¸‚ยายพื้นที่à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¸à¸²à¸¨à¸±à¸¢
ยาไหนที่ว่าดีหรืà¸à¸§à¹ˆà¸²à¹à¸™à¹ˆà¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸à¹ƒà¸Šà¹‰à¸šà¸£à¸£à¹€à¸—าภาวะโลà¸à¸£à¹‰à¸à¸™ ฤๅจะสู้ “ยาต้านโลà¸à¸£à¹‰à¸à¸™â€ ตามà¹à¸šà¸šà¸‰à¸šà¸±à¸šà¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸Šà¸²à¸•à¸´ นั่นคืภà¸à¸²à¸£à¸›à¹‰à¸à¸‡à¸à¸±à¸™à¸£à¸±à¸à¸©à¸²à¹à¸¥à¸°à¸Ÿà¸·à¹‰à¸™à¸Ÿà¸¹à¹€à¸¢à¸µà¸¢à¸§à¸¢à¸² “ป่าà¸à¸™â€ ให้à¸à¸¸à¸”มสมบูรณ์ ตัวà¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸‡à¸²à¸™à¸§à¸´à¸ˆà¸±à¸¢à¸Šà¸´à¹‰à¸™à¹‚บว์à¹à¸”งที่ตีพิมพ์เผยà¹à¸žà¸£à¹ˆà¸¥à¸‡à¸§à¸²à¸£à¸ªà¸²à¸£à¸—างวิทยาศาสตร์ที่มีชื่à¸à¸§à¹ˆà¸² Nature ใน ค.ศ. 2015 โดย Houghton à¹à¸¥à¸°à¸„ณะ ทางคณะวิจัยได้คาดà¸à¸²à¸£à¸“์ไว้à¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸™à¹ˆà¸²à¸ªà¸™à¹ƒà¸ˆà¸§à¹ˆà¸² “ประมาณà¸à¸¥à¸²à¸‡à¸›à¸µ ค.ศ. 2050 ป่าà¸à¸™à¸ˆà¸°à¸„à¸à¸¢à¸—ำหน้าที่ดูดà¸à¸±à¸à¸„าร์บà¸à¸™à¸ˆà¸²à¸à¸šà¸£à¸£à¸¢à¸²à¸à¸²à¸¨à¸«à¸£à¸·à¸à¸Šà¹ˆà¸§à¸¢à¸¥à¸”à¸à¸²à¸£à¸›à¸¥à¸”ปล่à¸à¸¢à¸à¹Šà¸²à¸‹à¸—ี่นำไปสู่à¸à¸²à¸£à¹€à¸à¸´à¸”ภาวะโลà¸à¸£à¹‰à¸à¸™à¹„ด้ตามเป้าหมายâ€
รู้หรืà¸à¹„ม่
ป่าà¸à¸™à¹€à¸‚ตร้à¸à¸™ ปà¸à¸”ขà¸à¸‡à¹‚ลà¸à¸à¸³à¸¥à¸±à¸‡à¹€à¸œà¸Šà¸´à¸à¸§à¸´à¸à¸¤à¸•à¸´
อ่านต่อ
ป่าเขตร้à¸à¸™ ผู้ให้บริà¸à¸²à¸£à¹€à¸Šà¸´à¸‡à¸™à¸´à¹€à¸§à¸¨à¸—ี่สำคัภยิ่งใหà¸à¹ˆ à¹à¸•à¹ˆà¸à¹‡à¹€à¸›à¸£à¸²à¸°à¸šà¸²à¸‡ !!! ป่าเป็นทั้งà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸™à¹‰à¸³ à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸«à¸²à¸£ à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸Ÿà¸à¸à¸à¸²à¸à¸²à¸¨à¸‚à¸à¸‡à¹‚ลภà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸ªà¸¡à¸¸à¸™à¹„พรยารัà¸à¸©à¸²à¹‚รค à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸—ี่à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¸à¸²à¸¨à¸±à¸¢à¸‚à¸à¸‡à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¸›à¹ˆà¸² à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸—่à¸à¸‡à¹€à¸—ี่ยวพัà¸à¸œà¹ˆà¸à¸™à¸«à¸¢à¹ˆà¸à¸™à¹ƒà¸ˆ à¹à¸¥à¸°à¸¢à¸±à¸‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸—ี่à¸à¸±à¸à¹€à¸à¹‡à¸šà¸„าร์บà¸à¸™à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¹ƒà¸«à¸à¹ˆà¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸±à¸šà¹‚ลà¸à¸à¸µà¸à¸”้วย รู้หรืà¸à¹„ม่ว่าป่าขนาดพื้นที่ประมาณ 10 ตารางà¸à¸´à¹‚ลเมตร สามารถผลิตà¸à¸à¸à¸‹à¸´à¹€à¸ˆà¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¸à¸±à¸šà¸„นได้ถึงประมาณ 500,000 คน ขณะเดียวà¸à¸±à¸™à¸•à¹‰à¸™à¹„ม้ที่มีขนาดประมาณ 1 คนโà¸à¸šà¸à¹‡à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–ช่วยà¸à¸±à¸à¹€à¸à¹‡à¸šà¸„าร์บà¸à¸™à¹„ว้ได้ประมาณ 22 ตัน ดังนั้นยิ่งถ้าเป็นป่าดิบà¹à¸¥à¸°à¸•à¹‰à¸™à¹„ม้ใหà¸à¹ˆà¸«à¸™à¸²à¹à¸™à¹ˆà¸™ ยิ่งมีความสามารถในà¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸à¸à¸à¸‹à¸´à¹€à¸ˆà¸™à¹à¸¥à¸°à¸à¸±à¸à¹€à¸à¹‡à¸šà¸„าร์บà¸à¸™à¸¡à¸²à¸à¸¢à¸´à¹ˆà¸‡à¸‚ึ้น à¹à¸•à¹ˆà¸›à¸±à¸ˆà¸ˆà¸¸à¸šà¸±à¸™à¸à¸²à¸£à¸‚ยายตัวขà¸à¸‡à¸Šà¸¸à¸¡à¸Šà¸™à¹€à¸¡à¸·à¸à¸‡ à¸à¸²à¸£à¹€à¸›à¸¥à¸µà¹ˆà¸¢à¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ป่าให้เป็นพื้นที่เà¸à¸©à¸•à¸£à¸à¸£à¸£à¸¡ à¸à¸²à¸£à¹€à¸œà¸²à¸›à¹ˆà¸² ทำให้พื้นที่ป่าเขตร้à¸à¸™à¸¥à¸”ลงà¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸£à¸§à¸”เร็ว à¸à¸²à¸£à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸à¸à¸à¸‹à¸´à¹€à¸ˆà¸™à¸à¹‡à¸¥à¸”น้à¸à¸¢à¸¥à¸‡ à¹à¸¥à¸°à¸¢à¸±à¸‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸²à¸£à¸›à¸¥à¸”ปล่à¸à¸¢à¸„าร์บà¸à¸™à¸à¸à¸à¸ªà¸¹à¹ˆà¸Šà¸±à¹‰à¸™à¸šà¸£à¸£à¸¢à¸²à¸à¸²à¸¨ ส่งผลให้เà¸à¸´à¸”à¸à¸²à¸£à¹€à¸£à¹ˆà¸‡à¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸‚à¸à¸‡à¸ าวะโลà¸à¸£à¹‰à¸à¸™à¹à¸¥à¸°à¸›à¸±à¸à¸«à¸²à¸à¸¸à¹ˆà¸™à¸¥à¸°à¸à¸à¸‡ เรามีป่าที่ทำหน้าที่ปà¸à¸”ขà¸à¸‡à¹‚ลà¸à¹€à¸«à¸¥à¸·à¸à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¹€à¸žà¸µà¸¢à¸‡ 30% เท่านั้น à¹à¸¥à¸°à¸—ุภๆ ชั่วโมงป่าขนาดเท่าสนามฟุตบà¸à¸¥à¸à¸³à¸¥à¸±à¸‡à¸«à¸²à¸¢à¹„ปเรื่à¸à¸¢ ๆ ถ้ามนุษย์ยังคงทำลายป่าด้วยà¸à¸±à¸•à¸£à¸²à¹€à¸£à¹‡à¸§à¹€à¸—่านี้ต่à¸à¹„ป ป่าจะหมดไปจาà¸à¹‚ลà¸à¸ ายในไม่เà¸à¸´à¸™ 100 ปีข้างหน้านี้เท่านั้น ! คุณ…จะช่วยป่า ช่วยปà¸à¸”ขà¸à¸‡à¹‚ลภà¹à¸¥à¸°à¸Šà¹ˆà¸§à¸¢à¸à¸™à¸²à¸„ตขà¸à¸‡à¹€à¸£à¸²à¹„ด้à¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹„รบ้าง?
รู้หรืà¸à¹„ม่
à¸à¸šà¸›à¹ˆà¸²à¸žà¸£à¸¸à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¹à¸šà¸šà¹„หน
อ่านต่อ
à¸à¸šà¸›à¹ˆà¸²à¸žà¸£à¸¸ เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบà¸à¸—ี่สามารถà¸à¸²à¸¨à¸±à¸¢à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸›à¹ˆà¸²à¸žà¸£à¸¸à¸¡à¸µà¸Šà¹ˆà¸§à¸‡à¹€à¸§à¸¥à¸²à¸‚ยายพันธุ์ในช่วงฤดูà¸à¸™à¸—ี่มีน้ำหลาà¸à¸¡à¸²à¸à¸ˆà¸™à¸ªà¸ าพà¸à¸£à¸”ขà¸à¸‡à¸™à¹‰à¸³à¸¥à¸”ลง à¸à¸²à¸£à¸›à¸£à¸±à¸šà¸•à¸±à¸§à¸•à¹ˆà¸à¸ªà¸ าพน้ำที่เป็นà¸à¸£à¸”ได้ดี มัà¸à¸à¸²à¸¨à¸±à¸¢à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¸•à¸²à¸¡à¹€à¸£à¸·à¸à¸™à¸¢à¸à¸”ขà¸à¸‡à¸•à¹‰à¸™à¹„ม้ พุ่มไม้ à¸à¸´à¹ˆà¸‡à¹„ม้ หรืà¸à¹€à¸›à¸¥à¸·à¸à¸à¹„ม้ที่พ้นน้ำท่วมขัง à¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢ พบบริเวณเà¸à¸²à¸°à¸šà¸à¸£à¹Œà¹€à¸™à¸µà¸¢à¸§ คาบสมุทรมลายู ภาคใต้ตà¸à¸™à¸¥à¹ˆà¸²à¸‡à¸ªà¸¸à¸”ขà¸à¸‡à¹„ทย ในป่าดิบชื้นที่ราบต่ำที่มีน้ำท่วมขัง สถานภาพใà¸à¸¥à¹‰à¸–ูà¸à¸„ุà¸à¸„าม (Near Threatened) ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ป่าพรุโต๊ะà¹à¸”ง à¸à¸šà¸›à¹ˆà¸²à¸žà¸£à¸¸à¸à¹‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸«à¸™à¸¶à¹ˆà¸‡à¹ƒà¸™à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¸—ี่มีความต้à¸à¸‡à¸à¸²à¸£à¹à¸šà¸šà¹€à¸‰à¸žà¸²à¸°à¹€à¸ˆà¸²à¸°à¸ˆà¸‡à¸à¸±à¸šà¸£à¸°à¸šà¸šà¸™à¸´à¹€à¸§à¸¨à¸™à¸µà¹‰
เห็นไหมว่า
ป่าให้อะไร กับเรามากมายหลายอย่าง
แต่ในขณะเดียวกัน
ป่าก็กำลังเจอวิกฤติอย่างต่อเนื่อง
และมีแนวโน้มที่ผืนป่าจะลดลง เรื่อยๆ
ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของเมืองทำให้เราต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น
การเกิดไฟป่า การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหรือการอนุรักษ์ป่าแบบผิดวิธี
เราจะช่วยธรรมชาติ
ให้ฟื้นคืนมาได้อย่างไร ?
ในประเทศไทยมีการกำหนดพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชไม่ให้ถูกรุกรานและทำลาย
ปัจจุบันมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าและผืนป่า
โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมป่าไม้ มูลนิธิ หรือองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม คอยดูแลและควบคุม
แล้วเราจะช่วยอนุรักษ์ป่า
ได้อย่างไรบ้าง ?
ลองมาดูกันซิว่า เรามีส่วนช่วยอนุรักษ์ป่าด้วยวิธีไหนได้บ้าง ?
อ๊ะ ๆ ตอบตามความจริงนะ
BACK TO
SELECT ROUTE
กลับไปเลือกเส้นทางอีกครั้ง
กลับสู่หน้าหลัก
ทำไมถึงชื่อว่า “เขาคอหงส์” ?
เล่ากันว่า ในอดีตมีภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า พระหนอน ได้ขึ้นไปก่อเจดีย์ไว้องค์หนึ่ง
โดยมีรูปหงส์ล้อมรอบ ชาวบ้านจึงเรียกเขาลูกนี้ว่า “เขาก่อหงส์” และต่อมาเพี้ยนเป็น “เขาคอหงส์”
นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าบริเวณรอบ ๆ เขาคอหงส์ เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณที่มีอายุเก่าแก่กว่า 5,000 ปี อีกด้วย
"ป่าต้นน้ำ" สำคัญอย่างไร ?
ต้นน้ำ โดยทั่วไปมักปรากฏอยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป หรือพื้นที่ลาดชันมากกว่า 35%
สามารถพบได้ตามป่าต่าง ๆ เราเรียกพื้นที่นั้นว่า “ป่าต้นน้ำ”
ทำหน้าที่ในการดูดซับและกักเก็บน้ำฝน เปรียบเสมือนอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติ
เป็นต้นกำเนิดของธารน้ำที่จะรวมกันเป็นแม่น้ำสายต่าง ๆ
ป่าปฐมภูมิและป่าทุติยภูมิคืออะไร ?
ป่าปฐมภูมิ หรือ ป่าขั้นที่หนึ่ง หมายถึง ผืนป่าดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่แรกเริ่มซึ่งอาจย้อนกลับไปตั้งแต่แหล่งนั้น ๆ ยังไม่ปรากฏสิ่งมีชีวิต ป่าทุติยภูมิ หรือ ป่าขั้นที่สอง หมายถึง ป่าที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ
ซึ่งอาจเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ การถูกทิ้งร้างหรือได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาเป็นป่าในเวลาต่อมา บางครั้งเราจึงเรียกป่าลักษณะนี้ว่า ป่าทดแทน
เรือนยอดคืออะไร ?
เรือนยอด คือ คำที่ใช้แบ่งระดับความสูงของต้นไม้ในป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน ชั้นเรือนยอด คือ ชั้นบนของป่าที่มีความสูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป
เกือบถูกแล้วนะ
จริง ๆ แล้ว ป่าเขาคอหงส์มีลักษณะร่วมกันของป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง
แต่พรรณไม้โดยมากอยู่ในกลุ่มไม้ผลัดใบ จึงอยู่ในประเภทป่าดิบแล้ง
ในคาบสมุทรไทยมีป่าเขตร้อนหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา หรือป่าพรุ
อยากรู้ว่า เราจะเจอป่าดิบชื้นได้ที่ไหนในคาบสมุทรไทยและมีลักษณะอย่างไรคลิก ที่นี่ ได้เลย
ถูกต้องนะคร้าบ
รู้ไหม ? ป่าเขาคอหงส์มีลักษณะร่วมกันของป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง
แต่พรรณไม้โดยมากอยู่ในกลุ่มไม้ผลัดใบจึงอยู่ในประเภทป่าดิบแล้ง
ในคาบสมุทรไทยมีป่าเขตร้อนหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา หรือป่าพรุ
อยากรู้ว่า เราจะเจอป่าดิบแล้งได้ที่ไหนอีกบ้างในคาบสมุทรไทยและมีลักษณะอย่างไร
คลิก ที่นี่ ได้เลย
ไม่ใช่น้า
จริง ๆ แล้ว ป่าเขาคอหงส์มีลักษณะร่วมกันของป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง
แต่พรรณไม้โดยมากเป็นไม้ผลัดใบ จึงอยู่ในประเภทป่าดิบแล้ง
ในคาบสมุทรไทยมีป่าเขตร้อนหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง หรือป่าพรุ นอกจากนี้ ยังมีป่าดิบเขาด้วย
อยากรู้ว่า เราจะเจอป่าดิบเขาได้ที่ไหนในคาบสมุทรไทย และมีลักษณะอย่างไร คลิก
ที่นี่ ได้เลย
ไม่ใช่น้า
จริง ๆ แล้ว ป่าเขาคอหงส์มีลักษณะร่วมกันของป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง
แต่พรรณไม้โดยมากเป็นไม้ผลัดใบ จึงอยู่ในประเภทป่าดิบแล้ง
ในคาบสมุทรไทยมีป่าเขตร้อนหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และยังมีป่าพรุอีกด้วย
อยากรู้ว่า เราจะเจอป่าพรุได้ที่ไหนในคาบสมุทรไทย และมีลักษณะอย่างไร คลิก
ที่นี่ ได้เลย
หลากหลายชื่อของป่าดิบชื้น
ด้วยสภาพป่าดิบชื้นที่ปกติจะมีความเขียวชอุ่มและรกทึบตลอดเวลา ทั้งยังเป็นป่าที่รับมรสุมหรือมีฝนมากตลอดปี เมื่อเทียบกับป่าชนิดอื่น ๆ จึงมีการเรียกชื่อ ป่าดิบชื้นว่า ป่าฝนเขตร้อน หรือ ป่าดงดิบ
ทำไมป่าเสม็ดไม่ใช่ป่าพรุ ?
แม้ต้นเสม็ดจะขึ้นในพื้นที่ป่าพรุเดิม จนมีลักษณะคล้ายกับป่าพรุ แต่เราจะเรียกพื้นที่นั้นว่า “ป่าพรุรุ่นสอง” หรือ “ป่าพรุที่เสื่อมสภาพ” ไม่ใช่ป่าพรุที่แท้จริง เพราะป่าเสม็ดกลายเป็นสังคมพืชเชิงเดี่ยว ต่างกับป่าพรุดั้งเดิมที่มีพรรณไม้หลากหลายกว่า
รากไม้ในป่าพรุต่างจากป่าชนิดอื่นอย่างไร ?
พืชส่วนใหญ่ในป่าพรุ มีโครงสร้างพิเศษโดยเฉพาะส่วนราก ที่มีความหลากหลายและจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น “พูพอน” หรือรากค้ำยันตามโคนต้น มีระบบรากแก้วสั้น แต่มีรากแขนงแผ่กว้างแข็งแรง บางชนิดมีระบบรากพิเศษหรือรากเสริม
กบป่าพรุคืออะไร ?
กบป่าพรุเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่สามารถอาศัยในป่าพรุ มีช่วงเวลาขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝนที่มีน้ำหลากมากจนสภาพกรดของน้ำลดลง สามารถปรับตัวกับสภาพน้ำที่เป็นกรดได้ดี มักอาศัยตามเรือนยอดของต้นไม้ พุ่มไม้ กิ่งไม้ หรือเปลือกไม้ที่พ้นน้ำท่วมขัง
แหล่งที่พบ
ด้วยภูมิศาสตร์และตำแหน่งที่ตั้ง ภาคใต้จัดเป็นแหล่งที่มีป่าดิบชื้นมากที่สุด
ตัวอย่างแหล่งป่าดิบชื้นที่น่าสนใจในภาคใต้ อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล อุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา จังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
พืชพันธุ์
ป่าดิบชื้นมักเป็นป่ารกทึบประกอบด้วยพรรณไม้หลายชนิด
เรือนยอดชั้นบนส่วนใหญ่เป็นไม้วงศ์ยาง-ตะเคียน (Dipterocarpaceae)
รวมทั้งพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ในวงศ์หมากหรือวงศ์ปาล์ม (Palmae) ขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ชนิดต่าง ๆ
ยังมีไม้พุ่ม พืชล้มลุก ระกำ หวาย ไผ่ต่าง ๆ เถาวัลย์หลากชนิด และพืชอิงอาศัยจำพวกเฟิร์นและมอส
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบชื้น เสือดาว กระจง สมเสร็จ นกหว้า นกชนหิน นกเงือกหัวแรด
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบชื้น เสือดาว กระจง สมเสร็จ นกหว้า นกชนหิน นกเงือกหัวแรด
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบชื้น เสือดาว กระจง สมเสร็จ นกหว้า นกชนหิน นกเงือกหัวแรด
แหล่งที่พบ
มักพบกระจัดกระจายทั่วไปตามที่ราบเชิงเขา ไหล่เขา และหุบเขา
ที่มีความชุ่มชื้นจนถึงระดับพื้นที่ความสูงไม่เกิน 950 เมตร เรือนยอดจะดูเขียวชอุ่มมากหรือน้อยตลอดปี
ตัวอย่างป่าดิบแล้งที่น่าสนใจในภาคใต้
อาทิ ป่าเขาคอหงส์ สวนหลังบ้านของชาวหาดใหญ่
นอกจากนี้ยังมีป่าดิบแล้งฝั่งทะเล
ที่มักขึ้นตามชายฝั่งทะเลทั้งเกาะในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
โดยเฉพาะเกาะที่เป็นหินปูน ซึ่งมีเรือนยอดไม่แน่นทึบและไม่สูงมากนัก
อาทิ ป่าดิบแล้งฝั่งทะเล อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ป่าดิบแล้งฝั่งทะเลภูเขาหินปูนใกล้ชายฝั่งทะเล ถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
พืชพันธุ์
ป่าดิบแล้งที่มีความชุ่มชื้นในดินน้อยหรือไม่สม่ำเสมอจะปรากฏไม้ผลัดใบในชั้นเรือนยอดมากกว่า
ในป่าที่มีความชุ่มชื้นสูงจะมีไม้ผลัดใบปะปนอยู่เป็นจำนวนไม่มากนัก
ตัวอย่างพรรณไม้ที่พบในป่าดิบแล้ง
พะยอม ตะเคียนทอง ปออีเก้ง
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบแล้ง
ช้างป่า เสือโคร่ง เสือดาว หมีควาย กระทิง กวางป่า หมูป่า
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบชื้น เสือดาว กระจง สมเสร็จ นกหว้า นกชนหิน นกเงือกหัวแรด
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบชื้น เสือดาว กระจง สมเสร็จ นกหว้า นกชนหิน นกเงือกหัวแรด
แหล่งที่พบ
ป่าดิบเขาต่ำ พบอยู่ตามภูเขาที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ประมาณ 1,000-1,900 เมตร
ป่าดิบเขาสูง มักจะปกคลุมตามสันเขาและยอดเขาที่สูงกว่า 1,900 เมตรขึ้นไป
ภาคใต้พบเพียงป่าดิบเขาต่ำ เนื่องจากยอดเขาที่สูงที่สุดของภาคใต้
คือ ยอดเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความสูงเพียง 1,800 เมตร
พืชพันธุ์
ป่าดิบเขาต่ำ สภาพป่ามีเรือนยอดแน่นทึบ
มีไม้พื้นล่างหนาแน่น มีพรรณไม้คล้ายป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง
แต่จะประกอบด้วยพรรณไม้เขตอบอุ่นและพรรณไม้ภูเขาที่ต้องการอากาศหนาวเย็นตลอดปีอย่าง “ไม้วงศ์ก่อ” (Fagaceae)
ป่าดิบเขาสูง มีพรรณไม้ที่ต่างกันกับป่าดิบเขาต่ำโดยสิ้นเชิง และมักอยู่ในบริเวณที่มีเมฆหมอกปกคลุมจึงมีอีกชื่อว่า “ป่าเมฆ”
ตัวอย่างพรรณไม้ที่พบในป่าดิบเขา
พรรณไม้วงศ์ก่อต่าง ๆ อาทิ ก่อเดือย ก่อหรั่ง ก่อน้ำ ก่อหนาม ก่อแหนม และก่อตาหมูหลวง เป็นต้น
พรรณไม้ชนิดอื่น ๆ อาทิ จำปีหลวง จำปีป่า มณฑาดอย ทะโล้ ขุนไม้ มะขามป้อมแดง เป็นต้น
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบเขา เสือลายเมฆ เก้งหม้อ นกเงือกจะงอยแดง
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบชื้น เสือดาว กระจง สมเสร็จ นกหว้า นกชนหิน นกเงือกหัวแรด
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบชื้น เสือดาว กระจง สมเสร็จ นกหว้า นกชนหิน นกเงือกหัวแรด
แหล่งที่พบ
ป่าพรุปรากฏในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมขังเป็นแอ่งกระทะ
ดินป่าพรุมีส่วนประกอบของซากพืชซากสัตว์ทับถมกันเรียกว่า “ดินพรุ” หรือ “พีท” (Peat)
ป่าพรุในภาคกลางมีลักษณะโปร่ง ป่าพรุในภาคใต้มักมีลักษณะทึบกว่า
ลักษณะโครงสร้างของป่าพรุที่สมบูรณ์ไม่ถูกรบกวนจะดูคล้ายป่าดิบชื้น แต่มีพรรณไม้ที่ต่างกันอย่างมาก
ตัวอย่างป่าพรุที่น่าสนใจในภาคใต้
พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คือป่าพรุที่มีพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดซึ่งยังหลงเหลืออยู่
ป่าพรุหลายแห่งแปรสภาพเป็น ป่าเสม็ด
หมายถึงป่าพรุที่เสื่อมสภาพจากการถูกรบกวนเป็นประจำ
ภาคใต้เคยพบป่าพรุอยู่หลายแห่ง เช่น พรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราชและพัทลุง
พรุบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส พรุบ้านไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น
พืชพันธุ์
เรือนยอดชั้นบนของป่าพรุมีความสูงถึง 24-37 เมตร
พืชพรรณส่วนใหญ่ในป่าพรุมีโครงสร้างพิเศษ เพื่อดำรงชีพในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำท่วมขังตลอดเวลา
โดยเฉพาะส่วนรากที่อยู่ในน้ำขัง
ตัวอย่างพรรณไม้ที่พบในป่าพรุ
ช้างไห้ ตังหนใบใหญ่ ซันรูจี ขี้หนองพรุ กาบอ้อย ปาหนันช้าง สะเตียว เลือดควายใบใหญ่ หวาย ตะค้าทอง หลุมพี
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าพรุ นากใหญ่ขนเรียบ นากเล็กเล็บสั้น นกเงือกดำ กบป่าพรุ
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบชื้น เสือดาว กระจง สมเสร็จ นกหว้า นกชนหิน นกเงือกหัวแรด
สัตว์
ตัวอย่างสัตว์ที่น่าสนใจในป่าดิบชื้น เสือดาว กระจง สมเสร็จ นกหว้า นกชนหิน นกเงือกหัวแรด
คอคอดกระสำคัญอย่างไร ?
คอคอดกระ คือ ส่วนที่เล็กและแคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดระนอง นับเป็นการแบ่งเขตของป่าไม้ในประเทศไทยแบบหนึ่ง โดยถือว่าอาณาเขตตั้งแต่ใต้คอคอดกระลงไป มักมีฝนตกตลอดปีจึงพบป่าดิบชื้นจำนวนมาก ส่วนเหนือคอคอดกระขึ้นมา
เป็นเขตมรสุมแต่มีฤดูกาลที่ชัดเจน ป่าส่วนใหญ่จึงเป็นป่าผลัดใบหรือป่าดิบแล้ง และเป็นรอยต่อสำคัญของการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตตามหลักสัตว์ภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทำไมป่าคาบสมุทรไทยมีความคล้ายป่าทางประเทศมาเลเซีย ?
ภาคใต้ของประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย มีลักษณะภูมิประเทศใกล้เคียงกันและยังได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมที่พัดผ่านเหมือนกัน
ทำให้ป่าทางมาเลเซียมีลักษณะเป็นป่าเขตร้อนเหมือนคาบสมุทรไทย ดังนั้น เราจึงสามารถพบสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้ แต่ก็มีพืชบางชนิดที่พบได้แค่ในคาบสมุทรไทยเท่านั้น
ป่าเขตร้อนบนคาบสมุทรไทยเป็นที่น่าค้นหาระดับโลกจริงหรือ ?
คาบสมุทรไทยมีภูมิประเทศที่หลากหลาย ทั้งยังมี “คอคอดกระ” จุดรอยต่อสำคัญในการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตตามหลักสัตว์ภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทีมนักวิจัยของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จึงได้มีโอกาสร่วมค้นคว้าวิจัยกับหลากหลายสถาบันต่างประเทศชั้นนำมากมาย ซึ่งการค้นคว้าร่วมกันในพื้นที่คาบสมุทรไทยได้สร้างประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวางในเรื่องต่าง ๆ
ความหมายของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเชิงกายภาพ ที่อยู่อาศัยร่วมกันในที่ใดที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต หรือสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกัน เราสามารถจำแนกระบบนิเวศได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ ระบบนิเวศบนบกและระบบนิเวศในน้ำ ซึ่งมีความหลากหลายแตกต่างกันไป แต่โดยรวมจะมีองค์ประกอบ ดังนี้
ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Component) ประกอบด้วย
สารอนินทรีย์ อาทิ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ คาร์บอน เป็นต้น
สารอินทรีย์ อาทิ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ อาทิ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็ม ความชื้น เป็นต้น
ส่วนประกอบที่มีชีวิต (Biotic Component)
ผู้ผลิต (Producer)
ผู้บริโภค (Consumer)
ผู้ย่อยสลาย (Decomposer)
ข้อนี้กล่าวถูกต้องแล้วจ้า
ป่าดิบชื้นกับป่าดิบแล้งจัดอยู่ในกลุ่มป่าไม่ผลัดใบ มีลักษณะโดยรวมคล้ายกัน
ป่าดิบชื้นจัดเป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีความชุ่มชื้นในดินตลอดปี มักอยู่ในบริเวณที่ฝนตกชุก เช่น ภาคใต้ของประเทศไทย
แต่ป่าดิบแล้งมีความชุ่มชื้นในดินไม่สม่ำเสมอและมีพรรณไม้ผลัดใบขึ้นแทรกอยู่บ้าง
ข้อนี้แหละที่กล่าวผิดจ้า
ป่าเต็งรังเป็นป่าที่พบมากที่สุดในภาคอีสาน เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ป่าแดง” เป็นป่าโปร่งที่มักอยู่ในเขตที่แห้งแล้งจัด
จัดอยู่ในประเภทป่าผลัดใบ เป็นป่าเขตร้อนอีกชนิดหนึ่ง
อยู่ในภูมิอากาศที่ตรงข้ามกับคาบสมุทรไทยซึ่งมีฝนตกชุกตลอดปี มีความชุ่มชื้นสะสม จึงไม่มีป่าประเภทนี้ในคาบสมุทรไทย
ข้อนี้กล่าวถูกต้องแล้วจ้า
ป่าเขตร้อนในคาบสมุทรไทยส่วนมากจัดอยู่ในประเภทป่าไม่ผลัดใบ
เพราะเป็นพื้นที่สะสมปริมาณน้ำฝนและความชุ่มชื้นในดินเยอะกว่าพื้นที่อื่น ๆ
โดยป่าที่พบมากที่สุดจะเป็นป่าดิบชื้น ซึ่งมีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดปี
ข้อนี้กล่าวถูกต้องแล้วจ้า
ป่าพรุ มักเกิดในพื้นที่ที่มีน้ำจืดท่วมขังเป็นแอ่งกระทะ
มีการทับถมของซากพืชซากสัตว์ไม่สลายตัว ภาคใต้เป็นที่ตั้งของป่าพรุที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
แต่ปัจจุบันส่วนมากมักเป็นป่าพรุรุ่นที่ 2 พืชพรรณส่วนใหญ่ในป่าพรุมีโครงสร้างพิเศษ
เพื่อดำรงชีพในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำท่วมขังตลอดเวลา
รู้หรือไม่ ? ในอดีตเขาคอหงส์เคยมีเสือดาวและกวาง
จากการศึกษาเขาคอหงส์มาหลายปี พบว่าที่นี่เคยเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น เสือดาว กวาง เก้ง หมูป่า และอื่น ๆ อีกสารพัดชนิด แต่หลังจากมนุษย์เข้ามาใช้งานพื้นที่ป่า สัตว์ใหญ่เหล่านี้ก็เริ่มอพยพย้ายถิ่นออกไปในที่สุด เหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่ได้จากการเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตและภาพวาดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
ซึ่งช่วยให้เราศึกษาระบบนิเวศของเขาคอหงส์ได้ว่า มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และช่วยในการวิเคราะห์แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูได้อย่างถูกวิธี
ความหลากหลายทางชีวภาพคืออะไร ?
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดหลากหลายพันธุ์ในระบบนิเวศที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ
ความหลากหลายของชนิด (Species Diversity) หมายถึง ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตในพื้นที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ หรือสัดส่วนของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีอยู่
ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) หมายถึง ความหลากหลายของยีนที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจจะมีลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันได้
ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecosystem Diversity) หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีปัจจัยจากความหลากหลายของถิ่นตามธรรมชาติ ความหลากหลายของการทดแทน
และความหลากหลายของภูมิประเทศที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดมีวิวัฒนาการจากการปรับตัวในแต่ละระบบนิเวศ
การบริการทางนิเวศคืออะไร ?
การบริการทางนิเวศ คือ การที่เราได้รับประโยชน์จากธรรมชาติ “ซื้อ 1 ได้ของแถมมหาศาล” เป็นคำที่สามารถยกมาอธิบายคุณค่าของการลงทุนอนุรักษ์ป่าหรือสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อเรามีป่าหรือระบบนิเวศที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ ทั้งพรรณไม้ สัตว์ป่า จุลินทรีย์ เราก็จะได้รับการบริการทางนิเวศจากป่าฟรี ๆ อาทิ ชาวหาดใหญ่ที่ได้รับน้ำและอากาศที่บริสุทธิ์จากเขาคอหงส์ หรือแม้กระทั่งการฟื้นฟูป่าโดยสัตว์ป่าของป่าทุติยภูมิในเขาคอหงส์ เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป
สูงประมาณ 110-120 เซนติเมตร ความกว้างเมื่อกางปีกประมาณ 210 เซนติเมตร
ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนสั้น ๆ ขึ้นห่าง ๆ คล้ายหัวล้าน จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า
“นกโทงหัวล้าน” จะงอยปากมีขนาดใหญ่และยาวแหลม สีขนลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน
ใต้ท้องสีออกขาว มีกระจายกว้างมากแต่ในไทยหายากมาก
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
น่าสนใจอย่างไร :
เป็นนกขนาดใหญ่ที่เคยพบมากในหลายพื้นที่ของไทย
แต่ปัจจุบันเหลือประชากรที่ทำรังวางไข่ตามธรรมชาติเพียงแค่ที่เกาะพระทองเท่านั้น
เนื่องจากเป็นนกที่ชอบพื้นที่สงบ จึงค่อนข้างอ่อนไหวต่อการรบกวนทำให้ประชากรเหลือน้อยมากในปัจจุบัน
ลักษณะทั่วไป
ความยาวหัวและลำตัว 34-42 เซนติเมตร หาง 22-27 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-1.8 กิโลกรัม
ผิวหนังย่น ตาใหญ่สีแดงและสะท้อนแสงไฟ ใบหูเล็ก สีขนมีแตกต่างหลากหลายในแต่ละพื้นที่
ตัวเมียสีซีดกว่าตัวผู้เล็กน้อย มีพังผืดเชื่อมติดต่อกันระหว่างขาหน้าและขาหลัง ระหว่างขาหน้ากับคอ
ระหว่างนิ้วทุกนิ้ว และขาหลังกับหาง (ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกระเป๋าหน้าท้องในการเลี้ยงลูก)
น่าสนใจอย่างไร :
บ่างเป็นสัตว์จากวงศ์ Cynocephalidae กินใบไม้และยอดไม้เป็นอาหาร
ด้วยรูปร่างที่คล้ายพญากระรอกบิน และร่อนได้เหมือนกัน (แต่ร่อนได้ไกลกว่ากระรอกบิน)
ทำให้ในบางครั้งบ่างอาจจะถูกสับสนกับกระรอกบิน ซึ่งที่จริงแล้วบ่างกับกระรอกบินเป็นสัตว์คนละอันดับกัน
โดยภาษาใต้จะเรียกบ่างว่าพะจง หรือพุงจง แต่ในภาษาเหนือและภาษาอีสานจะเรียกกระรอกบินว่า
บ่าง จึงทำให้อาจเกิดความสับสนได้ บ่างจะไต่ขึ้นยอดไม้สูง ๆ ที่เป็นต้นเดี่ยวเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการร่อน
และห้อยหัวลงก่อนจะร่อนไปยังต้นอื่นที่เตี้ยกว่า
ลักษณะทั่วไป
หมีควายขนาดโตเต็มที่มีความยาวหัวและลำตัว 120–150 เซนติเมตร หางยาว 6.5–10
เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 150–160 กิโลกรัม หัวและลำตัวอ้วนใหญ่ ขาอ้วนล่ำ หางสั้น ตาเล็กและหูกลม
ขนหยาบสีดำ มีแถบขนบริเวณหน้าอกเป็นรูปตัว V สีขาวเด่น
แตกต่างจากหมีหมาซึ่งตัวเล็กกว่าแถบขนสีขาวบนหน้าอกจะเป็นรูปตัว U หมีควายอาศัยอาศัยในป่า กินอาหารหลากหลาย
เช่น เนื้อสัตว์ ผลไม้ ใบไม้ หน่อไม้ ซากสัตว์ แมลง รังผึ้ง และตัวอ่อนของผึ้ง
ภาคใต้ของไทยเป็นขอบเขตใต้สุดของการกระจายของหมีควาย
น่าสนใจอย่างไร :
หมีควายกินได้ทั้งพืชทั้งสัตว์
บางครั้งอาจเข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมจนเกิดความขัดแย้งกับชาวบ้าน
ชอบฉีกเปลือกไม้แสดงเป็นสัญลักษณ์บอกถึงอาณาเขตของตัว อาศัยและหากินตามลำพัง
ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อน หมีควายเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ค่อยดีจึงค่อนข้างดุร้าย
เมื่อตกใจหรือสงสัยจะยืนด้วยขาหลัง ตะปบคู่ต่อสู้ด้วยขาหน้าและกัดอย่างรุนแรง
ลักษณะทั่วไป
ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 107–129 เซนติเมตร หางยาว 79–99 เซนติเมตร หนัก 45–65
กิโลกรัม ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือมีสีเหลือง มีลายจุดสีดำที่เรียกว่า ลายขยุ้มตีนหมา
แต้มเรียงตามลำตัวเป็นกลุ่ม ๆ กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู
ปลาก็กิน ว่ายน้ำได้เก่ง อยู่อาศัยในป่าโปร่ง สามารถขึ้นล่าเหยื่อบนต้นไม้ หรือลากเหยื่อไปกินบนต้นไม้
สามารถพบได้ในแอฟริกาและเอเชีย ในประเทศไทยพบตามป่าทั่วไปแต่พบมากทางภาคใต้
จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
น่าสนใจอย่างไร :
เสือดาวและเสือดำจัดเป็นเสือชนิดเดียวกัน แต่ส่วนมากจะเข้าใจผิดว่าเสือดาวและเสือดำ
เป็นเสือคนละชนิด ซึ่งในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน
อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ แต่โอกาสที่จะเป็นเสือดาวมีมากกว่า
โดยที่เสือดำจะมีสีขนปกคลุมตามร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว
เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด เนื่องจากขนที่สวยทำให้เสือดาว/เสือดำมักถูกล่าเอาหนังไปเป็นเครื่องประดับบารมี
หรือล่าเอาเขี้ยวหรือเนื้อตามความเชื่อของผู้นิยมบริโภคสัตว์ป่า
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกเงือกขนาดใหญ่ ความยาวลำตัวประมาณ 120 เซนติเมตร
ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย โหนกหูและตาสีซีดกว่าตัวผู้ ขนบนปีกและตัวสีดำ ท้องและหางสีขาว
และใกล้ปลายหางมีแถบสีดำพาดตามขวาง จะงอยปากยาว โหนกเป็นรูปโค้งเรียวขึ้นทางด้านบน มีสีแดง
และรูปร่างคล้ายนอแรดซึ่งเป็นที่มาของชื่อสามัญ นกเงือกหัวแรดกระจายอยู่ในเขตซุนดา
ในประเทศไทยพบในภาคใต้เท่านั้น ปัจจุบันประชากรกำลังลดน้อยลง
และมีสถานภาพมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
น่าสนใจอย่างไร :
นกเงือกหัวแรดกินผลไม้เป็นอาหารหลัก
และอาจจะกินสัตว์อื่นเพิ่มเติมด้วยโดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์และเลี้ยงลูก เช่น ตั๊กแตน กิ้งกือ กิ้งก่าบิน
ตะขาบ ฯลฯ พวกมันจึงนับว่าเป็นผู้รักษาพลวัตของระบบนิเวศป่า
ทั้งจากการกระจายเมล็ดไม้ที่คาบผลไปกินแล้วคายหรือถ่ายเมล็ดออกมาซึ่งจะงอกเป็นต้นใหม่ขึ้นมา
เป็นการปลูกป่าอย่างมีประสิทธิภาพ และจากการควบคุมประชากรสัตว์อื่นในป่าให้สมดุลอีกด้วย
นกเงือกหัวแรดทำรังวางไข่ในโพรงไม้
ดังนั้นพวกมันจึงต้องการต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีโพรงและป่าที่สมบูรณ์เป็นบ้าน
ลักษณะทั่วไป
เป็นค้างคาวขนาดกลาง ความยาวหัวและลำตัว 8-13 เซนติเมตร หางสั้นมาก ยาวเพียง 1-2.5
เซนติเมตร หน้าค่อนข้างยาว ลิ้นยาวมาก ขนสั้น สีน้ำตาลเทา กินน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร นิ้วที่ 2
(หรือนิ้วชี้) ไม่มีเล็บที่ปกติพบในค้างคาวกินผลไม้อื่น ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อค้างคาวเล็บกุด
เป็นค้างคาวที่เกาะนอนเป็นโคโลนี หรือฝูงสัตว์ที่อยู่รวมตัวกันจนเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ ซึ่งโคโลนีของค้างคาวสามารถมีจำนวนได้มากถึง 50,000 ตัวในถ้ำเดียว ค้างคาวชนิดนี้ขอบเขตการกระจาย กว้าง ในไทยพบได้ทั่วประเทศ
น่าสนใจอย่างไร :
ค้างคาวเล็บกุดเป็นผู้ผสมเกสรที่สำคัญมากให้กับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด ทั้งสะตอและทุเรียน และยังรวมไปถึงกล้วยและพรรณไม้ป่าชายเลนหลายชนิดด้วย
ในแต่ละคืนค้างคาวเล็บกุดหากินห่างจากถ้ำโดยเฉลี่ย 1.25 กิโลเมตร แต่ก็สามารถบินหากินไกลได้ถึงประมาณ
18 กิโลเมตรจากถ้ำเลยทีเดียว
ลักษณะทั่วไป
เป็นค้างคาวขนาดใหญ่มาก กางปีกแล้วกว้างประมาณ 1.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1
กิโลกรัม ขนลำตัวสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ขนที่หัวสีน้ำตาลส้ม ไม่มีหาง เกาะนอนเป็นโคโลนีใหญ่ตามต้นไม้
พบตามป่าใกล้ชายฝั่งทะเล ประชากรลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากถูกล่าและสูญเสียที่อยู่อาศัย
น่าสนใจอย่างไร :
ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนเป็นค้างคาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย กินผลไม้เป็นอาหารหลัก
มีส่วนสำคัญมากในการกระจายเมล็ดพืช
โดยเฉพาะต้นไม้ขนาดใหญ่เรือนยอดสูงและผลใหญ่ที่ค้างคาวกินผลไม้ขนาดเล็กไม่สามารถกินได้
และสามารถพาเมล็ดไม้ไปได้ไกลเนื่องจากสามารถบินหากินได้ไกลถึง 50 กิโลเมตรในแต่ละคืน
แต่ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนก็กินน้ำหวานดอกไม้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงมีส่วนช่วยผสมเกสรพืชด้วย เช่น ทุเรียนป่า
ซึ่งต้นสูงกว่าทุเรียนพันธุ์ตามสวนทั่วไป
ลักษณะทั่วไป
ลิ่นชวามีหางที่ยาวเกือบพอ ๆ กับความยาวหัวและลำตัว และปกคลุมด้วยเกล็ดประมาณ 30
เกล็ด สีลำตัวมีสีน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม และมีขนบาง ๆ ขึ้นแทรกอยู่เล็กน้อย
เมื่อถูกรบกวนจะม้วนขดเป็นก้อนกลมเพื่อป้องกันส่วนท้องที่ไม่มีเกล็ด ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ‘pangolin’
ที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษามลายูว่า ‘penggulung’ ที่แปลว่า ม้วนหรือกลิ้ง (roller)
ลิ่นกินมดและปลวกจากรังเป็นอาหารหลัก โดยใช้เล็บที่ยาวและแข็งแรงเปิดรังแล้วใช้ลิ้นที่ยาวและเหนียวตวัดตัวมดและปลวกกิน ลิ่นชวาจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง
ในประเทศไทยพบได้เฉพาะป่าในภาคใต้เท่านั้น
น่าสนใจอย่างไร :
“ลิ่น” ถูกลักลอบค้าและฆ่ามากที่สุด เฉพาะปี 2019
มีรายงานการลักลอบค้าอย่างผิดกฎหมายถึง 195,000 ตัว เพราะความต้องการเกล็ดของมัน
เนื่องจากความเชื่อตามตำรายาแผนโบราณว่าเกล็ดลิ่นจะช่วยรักษาอาการหอบหืดและปวดข้อ
ซึ่งจุดชายแดนไทย-มาเลเซียเป็นที่สำคัญในการลักลอบขนตัวลิ่นออกไปยังที่อื่น ๆ
โดยเฉพาะผ่านไปยังประเทศจีน อย่างไรก็ตาม หลังเกิดโรคไวรัสโคโรนา-2019 ระบาด
ทางการจีนก็ได้สั่งให้การซื้อขายเกล็ดลิ่นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ลักษณะทั่วไป
คล้ายคลึงกับปูน้ำจืดในกลุ่มปูน้ำตกและปูป่าอื่น ๆ คือมีรูปทรงกระดองเป็นรูปวงรี ด้านข้างกระดองไม่มีฟัน ส่วนลักษณะที่มีความแตกต่างจากชนิดและสกุลอื่น ๆ ในละแวกใกล้เคียง คือ
การที่รยางค์ข้างปากไม่มีแส้ (flagellum) ปล้องอกปล้องที่ 3 และ 4 มีร่องโค้งลงไปทางด้านท้าย
ขาเดินค่อนข้างยาว
น่าสนใจอย่างไร :
เป็นปูสกุลและชนิดใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ โดยทั่วไปปูในวงศ์ Potamidae
จะอาศัยอยู่ไม่ห่างไกลจากแหล่งน้ำนัก
แต่ปูชนิดนี้ ตัวเต็มวัยถูกพบอยู่บนสันเขาซึ่งห่างไกลจากแหล่งน้ำไหลหรือแหล่งน้ำถาวร
จึงทำให้หลุดรอดจากการสำรวจเก็บตัวอย่างจากนักสัตววิทยาที่ศึกษาสัตว์น้ำมาได้เป็นระยะเวลานานก่อนจะถูกค้นพบและบรรยายลักษณะเป็นปูสกุลและชนิดใหม่
ลักษณะทั่วไป
เป็นผีเสื้อที่บินเชื่องช้า ร่อนไปตามกระแสลม จึงเป็นที่มาของคำว่า “ร่อนลม” ลักษณะปีกกว้าง
และบาง ลักษณะภายนอกเนื้อปีกมีสีขาว แนวเส้นปีกเป็นสีดำ และมีจุดสีดำเรียงตัวกระจายทั่วทั้งปีก มีทั้งหมด
2 สกุล คือ
สกุลผีเสื้อร่อนลมน้อย (Genus Ideopsis ) ซึ่งปัจจุบันพบเพียงชนิดเดียวในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น คือ
ผีเสื้อร่อนลมน้อย (The Small Wood Nymph) Ideopsis gaura perakaa Fruhstorfer, 1899
สกุลผีเสื้อร่อนลม (Genus Idea ) ที่พบได้แก่ ผีเสื้อร่อนลมสีมัว (The Tree Nymph) Idea lynceus
lynceus (Drury, 1773) ผีเสื้อร่อนลมมลายู (The Malayan Tree Nymph) Idea hypermnestra
linteata (Butler,1879) ผีเสื้อร่อนลมสีขี้เถ้า (The Ashy-white Tree Nymph) Idea stolli (Moore,
1883) และผีเสื้อร่อนลมสยาม (The Siam Tree Nymph) Idea leuconoe siamensis (Godfrey,1916)
ซึ่งผีเสื้อร่อนลมเกือบทุกชนิดพบเฉพาะในภาคใต้เท่านั้น และพบได้ค่อนข้างน้อย ยกเว้นผีเสื้อร่อนลมสยาม
ที่พบทางภาคตะวันออกด้วย