Skip to the content
✕
WETLANDS
พื้นที่ชุ่มน้ำ รุ่มรวยความหลากหลาย
ROUTE 2
WETLANDS
0/3
พื้นที่ชุ่มน้ำ
รุ่มรวยความหลากหลาย
เลื่อนลงเพื่อดูต่อ ↓
รู้หรือไม่ว่า...
โลกของเรามีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่เพียง 2% ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น*
แต่พื้นที่ชุ่มน้ำกลับเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ
ที่สำคัญของโลก ทั้งยังเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต
ของทั้งมนุษย์และสัตว์
(*ข้อมูลจาก World Wildlife Fund (WWF))
ในประเทศไทย มีพื้นที่ชุ่มน้ำ
อยู่ราว 6.75% ของพื้นที่*
ซึ่งบริเวณคาบสมุทรไทยนับเป็นแหล่งพื้นที่ชุ่มน้ำ
ที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศ
(*ข้อมูลจาก World Wildlife Fund (WWF))
หนึ่งในพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทยที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ
เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งน้ำขนาดใหญ่
อยู่ห่างจาก
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา
๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
ไปเพียง 30 กิโลเมตรเท่านั้น
พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ
ระดับนานาชาติแห่งใด ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไทย ?
พรุควนขี้เสียน หนองบงคาย บึงโขงหลง
และดอนหอยหลอด
ต่างก็เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ
ระหว่างประเทศ
อนุสัญญาแรมซาร์คืออะไร ?
อนุสัญญาแรมซาร์หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ แรกเริ่มเป็นข้อตกลง
ของรัฐบาลแต่ละประเทศที่กำหนดกรอบการทำงาน เพื่อร่วมมืออนุรักษ์แหล่งที่อยู่
อาศัยและใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำ อันเป็นการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ
ต่อมาจึงได้ขยายขอบเขตของอนุสัญญาให้ครอบคลุมการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกอย่างยั่งยืน ตลอดจนยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์
ลำดับที่ 110 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน
พ.ศ. 2541
การเป็นภาคีในอนุสัญญาแรมซาร์นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของ
ประชาคมโลกในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมร่วมกัน
ปัจจุบัน ทั่วโลกมีแรมซาร์ไซต์ประมาณ
2,400 แห่ง
ในจำนวนนี้มีพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทยอยู่ทั้งหมด
15 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ราว 2,532,618.75 ไร่
นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ชุ่มน้ำมากที่สุด
เป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดาวน์โหลดข้อมูล “อนุสัญญาแรมซาร์”
“พรุควนขี้เสียน”
แรมซาร์ไซต์แห่งแรกของประเทศไทย
ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือใน “เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย”
จังหวัดพัทลุง เป็นบริเวณที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และสวยงาม
จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่ง
ทะเลน้อยเป็นส่วนหนึ่งของ
“ทะเลสาบสงขลา”
ทะเลสาบสงขลา มีความยาวจากปากน้ำขึ้นไปทางทิศเหนือราว 80 กิโลเมตร
มีเนื้อที่กว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา
ทะเลสาบสงขลา แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
ทะเลน้อย
อยู่ทางตอนเหนือสุดของทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีพืชน้ำจืดนานาชนิดขึ้นอยู่โดยรอบ เป็นแหล่งพักพิงของนกน้ำประจำถิ่นและนกอพยพมาจากแหล่งอื่น รวมถึงสัตว์น้ำหายากและใกล้สูญพันธุ์
อาทิ ปลาดุกลำพัน ปลาตือ โลมาอิรวดีหรือโลมาหัวบาตร
ทะเลสาบ (ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง)
เป็นส่วนที่มีเกาะหลายเกาะ อาทิ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะหมาก
ทะเลสาบตอนกลางเชื่อมกับทะเลสาบตอนล่างด้วยคลองหลวงและอ่าวท้องแบน
บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลขึ้น-ลง
จึงมีทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย
ทะเลสาบสงขลา (ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง)
เป็นทะเลสาบที่มีส่วนเชื่อมต่อกับอ่าวไทย เป็นทะเลสาบน้ำเค็ม แต่ในฤดูฝนจะเป็นน้ำกร่อย
แต่เดิมมีป่าชายเลนปกคลุมโดยทั่ว แต่ปัจจุบันกลายเป็นที่อยู่อาศัยและทำประมง มีการวางเครื่องมือประมงเกือบทั่วบริเวณ
บริเวณปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นทางออกสู่อ่าวไทย มีความลึกประมาณ 12–14 เมตร
เนื่องจากทะเลสาบสงขลาได้รับน้ำจืดที่ไหลมาจากเทือกเขาบรรทัดและ
เทือกเขาสันกาลาคีรี
และน้ำเค็มจากอ่าวไทย ทำให้ทะเลสาบสงขลากลายเป็น “พื้นที่สามน้ำ”
จุดรวมกันของ น้ำจืด น้ำกร่อย และเค็ม ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
ระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์จากการสะสมตัวของธาตุอาหารและตะกอนต่าง ๆ
โดยส่วนที่เป็นแผ่นดินจะได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเล บางครั้งเราไม่สามารถระบุ
ขอบเขตที่ชัดเจนของระบบนิเวศชายฝั่งได้ เนื่องจากชายฝั่งในแต่ละบริเวณ
มีลักษณะแตกต่างกันไป แต่ชายฝั่งทะเลมักจะประกอบด้วยระบบนิเวศย่อย ๆ
อาทิ ระบบนิเวศป่าบก แม่น้ำลำคลอง ป่าชายเลน แนวหญ้าทะเล
และแนวปะการัง
ชายฝั่งทะเลของจังหวัดสงขลา
มีความยาวประมาณ 159 กิโลเมตร
ครอบคลุมเขตอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร
อำเภอเมืองสงขลา อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา
ชายฝั่งทะเลของสงขลามีลักษณะเป็นหาดทรายยาวทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ปากทะเลสาบทางด้านใต้เป็นจะงอยซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ของจังหวัดสงขลาที่ทอดตัวยาวลงไปถึงเขาเก้าเส้งที่เป็นหินแกรนิตอยู่ริมทะเล
จากนั้นเป็นหาดทรายขาวที่มีความกว้างสลับกับแนวลากูน ต่อเนื่องไปจนถึง
อำเภอจะนะ และอำเภอเทพาจรดกับเขตจังหวัดปัตตานี
ระบบนิเวศลากูน
ลากูน (Lagoon) คือ ทะเลสาบน้ำเค็มที่มีน้ำไหลเข้าออกได้ เกิดขึ้น
ทั้งในทะเลและบริเวณชายฝั่งทะเล ทะเลสาบสงขลานับเป็นทะเลสาบ
น้ำเค็มชายฝั่งทะเลที่เกิดจากการปิดกั้นของสันดอน
บริเวณปากอ่าว
ปิดล้อมบริเวณที่เป็นอ่าวอยู่เดิม แต่ยังมีทางออกแคบ ๆ ให้น้ำไหลผ่านได้
บริเวณลากูนเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นศูนย์รวมของระบบนิเวศหลากหลาย
ประเภท อาทิ ที่ลุ่มน้ำเค็ม ป่าชายเลน และแนวหญ้าทะเล
ระบบนิเวศป่าพรุ
ป่าชนิดนี้มักปรากฏในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมขังเป็นเวลานาน
ป่าพรุในภาคใต้จะมีลักษณะทึบ ในขณะที่ป่าพรุในภาคกลางจะมี
ลักษณะโปร่งกว่า ดินป่าพรุมีส่วนประกอบของดินพรุหรือพีต (Peat)
คือซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกัน โครงสร้างของป่าพรุที่สมบูรณ์
และไม่ถูกรบกวนจะคล้ายกับป่าดิบชื้น แต่ชนิดพรรณไม้จะแตกต่างกันมาก
เรือนยอด
ของป่าพรุค่อนข้างชิดและต่อเนื่องกันสามารถสูง
ได้ถึง 24–37 เมตร
พรรณไม้ของป่าพรุ
มีโครงสร้างพิเศษ เพื่อดำรงชีพในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำท่วมขังตลอดเวลาโดยเฉพาะส่วนรากที่อยู่ในน้ำขัง
ในส่วนของป่าพรุที่อยู่ใกล้ชายทะเลมักพบต้นเสม็ด ต้นช้างไห้ ตังหนใบใหญ่ และกาบอ้อย
สัตว์โดดเด่นที่พบได้ในป่าพรุ
คือ นากใหญ่ขนเรียบ นากเล็กเล็บสั้น และนกเงือกดำ
เราสามารถพบป่าพรุได้โดยรอบบริเวณ
ทะเลสาบสงขลา ป่าพรุที่สำคัญ คือ
"พรุควนขี้เสียน"
ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
ที่เป็นแรมซาร์ไซต์แห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมี
“พรุควนเคร็ง”
ที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา
จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช
“เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง”
มีเนื้อที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพัทลุงและสงขลา
และ “พรุเชิงแส”
หรือ “อ่าวบางเต็ง” ที่ตั้งอยู่ในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวดสงขลา
ส่วนป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
อุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย
คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พรุโต๊ะแดง”
ในจังหวัดนราธิวาสมีเนื้อที่ทั้งหมด
125,625 ไร่
ระบบนิเวศป่าชายเลน
ป่าชนิดนี้มักปรากฏอยู่ตามที่ดินเลนและริมทะเล หรือบริเวณปากน้ำ
ของแม่น้ำสายใหญ่ที่มีน้ำเค็มท่วมถึง นอกจากนี้ยังพบได้ตามชายฝั่ง
ทั้งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะดินอ่อน
ต้นไม้ที่ขึ้นในป่าชายเลน
จึงมักมีรากค้ำยันและรากหายใจ
พรรณไม้ที่ขึ้นตามป่าชายเลน ส่วนมากเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก
โดยส่วนใหญ่เป็นไม้ในวงศ์โกงกาง และพรรณไม้อื่น ๆ
อาทิ ต้นแสมทะเล ลำพูน โปรง ปอทะเล
จังหวัดบนคาบสมุทรไทย
ที่มีพื้นที่ป่าชายเลนมากที่สุด คือ
จังหวัดพังงา
(417.11 ตารางกิโลเมตร)
จังหวัดกระบี่
(350.14 ตารางกิโลเมตร)
จังหวัดสตูล
(347.21 ตารางกิโลเมตร)
ส่วนป่าชายเลนบริเวณทะเลสาบสงขลาจะมีลักษณะเป็นป่าชายเลนเตี้ย ๆ
กระจายอยู่ทั่วไปส่วนใหญ่มักพบขึ้นอยู่บริเวณปากแม่น้ำและบริเวณที่เป็นดินโคลน
พื้นที่ชุ่มน้ำปรากฏอยู่ ในหลากหลายพื้นที่
ไม่ว่าจะอยู่ในป่าหรือชายฝั่ง ซึ่งภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่มากที่สุดในประเทศไทย
จากการศึกษาข้อมูลของนักวิจัย ทำให้เราพบว่า
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นบ้านของสัตว์
หลายชีวิต ทั้งยังมีเอกลักษณ์ที่หาได้
เฉพาะที่แห่งนี้เท่านั้น
สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จำต้องปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่
และสภาพแวดล้อมที่แปรผันอยู่เสมอ
คลิกรับข้อมูล “สิ่งมีชีวิตในทะเลสาบสงขลา”
สัตว์เลื้อยคลาน และ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู เป็น Hotspot
ที่มีการพบสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นจำนวนมาก โดยในบริเวณทะเลสาบสงขลา
มีการค้นพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 11 ชนิด ในบริเวณที่มีน้ำขัง อาทิ ทุ่งนา หนอง บึง
และมีการค้นพบสัตว์เลื้อยคลาน 27 ชนิด ซึ่ง 20 ชนิดในจำนวนนี้เป็นงูทั้งสิ้น
งูงวงช้าง
งูผ้าขี้ริ้ว / งูม้าลาย
ขอขอบคุณภาพสัตว์จาก องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
นก
นกเป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วไป ลักษณะของนก
เป็นผลจากวิวัฒนาการโดยการคัดเลือกตามธรรมชาติ
นกรูปร่างต่างกันอาศัยอยู่ได้ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น นกน้ำที่พบได้ที่ทะเลสาบสงขลา
จะปรับตัวเพื่อให้ดำรงชีวิตได้ที่ผิวน้ำและใต้น้ำรวมถึงการปรับตัวของจะงอยปากของนกแต่ละชนิด
ให้เข้ากับการหาอาหารและการปรับตัวของรูปร่างเพื่อเกาะบนพื้นผิวต่าง ๆ หรือเดินบนพื้นดิน
นกกาบบัว
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
มีการพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด 24 ชนิดบริเวณทะเลสาบสงขลา โดยในจำนวนนี้
มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ 2 ชนิด และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
3 ชนิด ปัจจุบัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมบริเวณทะเลสาบสงขลามีการเปลี่ยนแปลง
ไปอย่างมาก ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและการบุกรุกพื้นที่ทั้งทางบกและทางน้ำของมนุษย์
จึงทำให้สัตว์ที่เป็นชนิดเฉพาะถิ่นอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์
ค้างคาวหน้ายักษ์จมูกปุ่ม
นากเล็กเล็บสั้น
เสือปลา
ขอขอบคุณภาพสัตว์จาก องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
ปลา
ทะเลสาบสงขลามีทางเปิดเชื่อมออกสู่ทะเลอ่าวไทย และติดต่อกับแม่น้ำลำคลอง
หลายสาย จึงมีระบบนิเวศที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล
ทำให้มีสัตว์น้ำหลากหลายและหมุนเวียนอยู่ตลอดปี โดยมีการสำรวจพบพันธุ์ปลา
ในบริเวณนี้ประมาณ 465 ชนิด
ปลาตะเพียนขาว
ปลากระทิงไฟ
ขอขอบคุณภาพสัตว์จาก องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
เราสามารถพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้หลากหลายชนิดทั่วบริเวณทะเลสาบสงขลา
ไม่ว่าจะเป็นไส้เดือนทะเล แมลงน้ำ ครัสเตเชียนขนาดเล็ก กั้ง กุ้ง ปู
หอย
ทะเลสาบสงขลามีสภาพระบบนิเวศแบบลากูน ประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำจืด บริเวณทะเลน้อย
และแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ น้ำกร่อย บริเวณทะเลสาบตอนบนส่วนล่าง และทะเลสาบตอนกลาง
และน้ำเค็ม บริเวณทะเลสาบตอนล่าง และชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
นอกจากนี้ ทะเลสาบสงขลายังอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล อยู่ติดกับพื้นดินที่มี
ความลาดชันน้อยและค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีการสะสมของธาตุอาหาร
ที่มาจากการชะล้างผิวหน้าดินลงสู่แหล่งน้ำดึงดูดให้สัตว์หลายชนิดเข้ามาพักพิง
อาศัยในบริเวณนี้
ปูแสมก้ามแดง
หอยถั่วเขียว
ด้วงเต่าทองบัว
ขอขอบคุณภาพด้วงเต่าทองบัวจาก องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
และภาพหอยถั่วเขียวจาก ผศ. พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทะเลสาบสงขลา
10 สิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจในพื้นที่ชุ่มน้ำ
ที่หาดูได้ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
5 เกร็ดความรู้เด็ด ๆ
เกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำจากนักวิจัย
รู้หรืà¸à¹„ม่
ปลาดุà¸à¸¥à¸³à¸žà¸±à¸™ (Clarias nieuhofii) มีà¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¹€à¸‰à¸žà¸²à¸°à¸—ี่ภาคใต้
อ่านต่อ
ปลาดุà¸à¸¥à¸³à¸žà¸±à¸™ เป็นปลาที่มีส่วนหัวเล็à¸à¸ªà¸±à¹‰à¸™ ลำตัวเรียวยาวà¸à¸§à¹ˆà¸²à¸›à¸¥à¸²à¸”ุà¸à¸Šà¸™à¸´à¸”à¸à¸·à¹ˆà¸™ ๆ ครีบหลังà¹à¸¥à¸°à¸„รีบà¸à¹‰à¸™à¸¢à¸²à¸§à¹ƒà¸«à¸à¹ˆà¹€à¸à¸·à¸à¸šà¹€à¸—่าลำตัว มีà¸à¸§à¸±à¸¢à¸§à¸°à¸žà¸´à¹€à¸¨à¸©à¸—ี่ช่วยในà¸à¸²à¸£à¸«à¸²à¸¢à¹ƒà¸ˆ ทำให้หมà¸à¸•à¸±à¸§à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¹‚คลนตมที่มีน้ำน้à¸à¸¢à¹„ด้เป็นเวลาหลายเดืà¸à¸™ à¸à¸²à¸¨à¸±à¸¢à¹€à¸‰à¸žà¸²à¸°à¹ƒà¸™à¸›à¹ˆà¸²à¸žà¸£à¸¸ ที่รà¸à¸—ึบ ที่มีà¸à¸£à¸°à¹à¸ªà¸™à¹‰à¸³à¹„หลเà¸à¸·à¹ˆà¸à¸¢ หรืà¸à¹ƒà¸™à¹à¸à¹ˆà¸‡à¸™à¹‰à¸³à¸™à¸´à¹ˆà¸‡à¸—ี่มีต้นไม้ปà¸à¸„ลุม à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸„วามเป็นà¸à¸£à¸” ซึ่งตรงà¸à¸±à¸šà¸¥à¸±à¸à¸©à¸“ะขà¸à¸‡à¸›à¹ˆà¸²à¸žà¸£à¸¸à¹ƒà¸™à¸ าคใต้
รู้หรืà¸à¹„ม่
ทำไมà¸à¸£à¸°à¸”à¸à¸‡à¸›à¸¹à¸¡à¸±à¸à¹à¸‚็ง
อ่านต่อ
ร่างà¸à¸²à¸¢à¸‚à¸à¸‡à¸›à¸¹à¸¡à¸µà¹€à¸›à¸¥à¸·à¸à¸à¹à¸‚็งห่à¸à¸«à¸¸à¹‰à¸¡à¸—ั้งตัว ซึ่งลัà¸à¸©à¸“ะเฉพาะตัวเช่นนี้ ทำให้ปูสามารถเà¸à¸²à¸•à¸±à¸§à¸£à¸à¸”ในธรรมชาติได้ เนื่à¸à¸‡à¸ˆà¸²à¸à¹€à¸›à¸¥à¸·à¸à¸à¸—ี่à¹à¸‚็งจะช่วยให้ถูà¸à¸à¸±à¸”à¸à¸´à¸™à¹„ด้ยาภà¹à¸¥à¸°à¸›à¸à¸›à¸´à¸”จุดà¸à¹ˆà¸à¸™à¸‚à¸à¸‡à¸£à¹ˆà¸²à¸‡à¸à¸²à¸¢ à¸à¸£à¸°à¸”à¸à¸‡à¸—ี่ปิดมิดชิดยังช่วยรัà¸à¸©à¸²à¸„วามชุ่มชื้น ทำให้ปูบางชนิดสามารถà¸à¸²à¸¨à¸±à¸¢à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¸šà¸™à¸šà¸à¹„ด้โดยไม่à¹à¸«à¹‰à¸‡à¸•à¸²à¸¢à¹„ปเสียà¸à¹ˆà¸à¸™à¸à¸µà¸à¸”้วย
รู้หรืà¸à¹„ม่
พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัà¸à¸£à¸°à¸”ับโลà¸à¸«à¸£à¸·à¸à¹à¸£à¸¡à¸‹à¸²à¸£à¹Œà¹„ซต์ (Ramsar site) ในไทยมีà¸à¸¢à¸¹à¹ˆ 15 à¹à¸«à¹ˆà¸‡ ซึ่งมี 9 à¹à¸«à¹ˆà¸‡ à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸ าคใต้
อ่านต่อ
à¹à¸£à¸¡à¸‹à¸²à¸£à¹Œà¹„ซต์ คืà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัà¸à¸•à¹ˆà¸à¸à¸²à¸£à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¸à¸²à¸¨à¸±à¸¢à¸‚à¸à¸‡à¸™à¸à¸™à¹‰à¸³ ปลา สัตว์ป่าหายาภà¹à¸¥à¸°à¸„วามหลาà¸à¸«à¸¥à¸²à¸¢à¸—างชีวภาพ มุ่งเน้นà¸à¸²à¸£à¸à¸™à¸¸à¸£à¸±à¸à¸©à¹Œà¹à¸¥à¸°à¹ƒà¸Šà¹‰à¸›à¸£à¸°à¹‚ยชน์ขà¸à¸‡à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ชุ่มน้ำà¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸Šà¸²à¸à¸‰à¸¥à¸²à¸”ในทุภๆ ด้าน à¹à¸šà¹ˆà¸‡à¸à¸à¸à¹€à¸›à¹‡à¸™ 5 ประเภท ได้à¹à¸à¹ˆ พื้นที่ทางทะเล (Marine) พื้นที่ปาà¸à¹à¸¡à¹ˆà¸™à¹‰à¸³ (Estuarine) พื้นที่ทะเลสาบ (Lacustrine) พื้นที่à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸™à¹‰à¸³à¹„หล (Riverine) พื้นที่หนà¸à¸‡à¸™à¹‰à¸³à¸«à¸£à¸·à¸à¸—ี่ลุ่มชื้นà¹à¸‰à¸° (Palustrine) ประเทศไทยมีà¹à¸£à¸¡à¸‹à¸²à¸£à¹Œà¹„ซต์ถึง 15 à¹à¸«à¹ˆà¸‡ ซึ่งนับว่ามาà¸à¸—ี่สุดในà¸à¸²à¹€à¸‹à¸µà¸¢à¸™ à¹à¸£à¸¡à¸‹à¸²à¸£à¹Œà¹„ซต์à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¹à¸£à¸à¸‚à¸à¸‡à¹„ทยคืà¸à¸žà¸£à¸¸à¸„วนขี้เสียน จังหวัดพัทลุง (2541) à¹à¸¥à¸°à¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸¥à¹ˆà¸²à¸ªà¸¸à¸”คืà¸à¹à¸¡à¹ˆà¸™à¹‰à¸³à¸ªà¸‡à¸„รามตà¸à¸™à¸¥à¹ˆà¸²à¸‡ จังหวัดนครพนม (2562) นà¸à¸à¹€à¸«à¸™à¸·à¸à¸ˆà¸²à¸à¸žà¸£à¸¸à¸„วนขี้เสียนà¹à¸¥à¹‰à¸§ ภาคใต้ยังมีà¹à¸£à¸¡à¸‹à¸²à¸£à¹Œà¹„ซต์à¸à¸µà¸ 8 à¹à¸«à¹ˆà¸‡ ได้à¹à¸à¹ˆ
- ปาà¸à¹à¸¡à¹ˆà¸™à¹‰à¸³à¸à¸£à¸°à¸šà¸µà¹ˆ
- พรุโต๊ะà¹à¸”ง
- à¸à¸¸à¸—ยานà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¸«à¸²à¸”เจ้าไหม เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เà¸à¸²à¸°à¸¥à¸´à¸šà¸‡â€“ปาà¸à¹à¸¡à¹ˆà¸™à¹‰à¸³à¸•à¸£à¸±à¸‡
- à¸à¸¸à¸—ยานà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¹à¸«à¸¥à¸¡à¸ªà¸™-ปาà¸à¹à¸¡à¹ˆà¸™à¹‰à¸³à¸à¸£à¸°à¸šà¸¸à¸£à¸µâ€“ปาà¸à¸„ลà¸à¸‡à¸à¸°à¹€à¸›à¸à¸£à¹Œ
- à¸à¸¸à¸—ยานà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¸«à¸¡à¸¹à¹ˆà¹€à¸à¸²à¸°à¸à¹ˆà¸²à¸‡à¸—à¸à¸‡
- à¸à¸¸à¸—ยานà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¸à¹ˆà¸²à¸§à¸žà¸±à¸‡à¸‡à¸²
- เà¸à¸²à¸°à¸à¸£à¸°
- หมู่เà¸à¸²à¸°à¸£à¸°â€“เà¸à¸²à¸°à¸žà¸£à¸°à¸—à¸à¸‡
รู้หรืà¸à¹„ม่
ตำนานช้างà¹à¸„ระà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸—ะเลน้à¸à¸¢
อ่านต่อ
ช้างในประเทศไทยเป็นช้างเà¸à¹€à¸Šà¸µà¸¢ (Asian elephant) มีชื่à¸à¸—างวิทยาศาสตร์ว่า Elephas maximus มีà¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸°à¸ˆà¸²à¸¢à¸•à¸±à¹‰à¸‡à¹à¸•à¹ˆà¸¨à¸£à¸µà¸¥à¸±à¸‡à¸à¸² à¸à¸´à¸™à¹€à¸”ีย จีน จนถึงเà¸à¹€à¸Šà¸µà¸¢à¸•à¸°à¸§à¸±à¸™à¸à¸à¸à¹€à¸‰à¸µà¸¢à¸‡à¹ƒà¸•à¹‰ à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸ªà¸–านภาพใà¸à¸¥à¹‰à¸ªà¸¹à¸à¸žà¸±à¸™à¸˜à¸¸à¹Œ (Endangered) ขนาดตัวโดยทั่วไปสูงประมาณ 2.5 – 3 เมตร à¹à¸•à¹ˆà¹ƒà¸™à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ภาคใต้ขà¸à¸‡à¹„ทยมีหลัà¸à¸à¸²à¸™à¸›à¸£à¸²à¸à¸à¸—ั้งจาà¸à¸„ำบà¸à¸à¹€à¸¥à¹ˆà¸²à¹à¸¥à¸°à¸‹à¸²à¸à¸Ÿà¸±à¸™à¸à¸£à¸²à¸¡à¸Šà¹‰à¸²à¸‡à¸§à¹ˆà¸²à¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸à¸£à¸Šà¹‰à¸²à¸‡à¸šà¸£à¸´à¹€à¸§à¸“ทะเลน้à¸à¸¢ จังหวัดพัทลุงà¹à¸¥à¸°à¸ˆà¸±à¸‡à¸«à¸§à¸±à¸”สงขลา มีขนาดตัวที่เล็à¸à¸à¸§à¹ˆà¸²à¸Šà¹‰à¸²à¸‡à¹‚ดยทั่วไป หรืà¸à¹ƒà¸«à¸à¹ˆà¸à¸§à¹ˆà¸²à¸„วายขนาดใหà¸à¹ˆà¹€à¸¥à¹‡à¸à¸™à¹‰à¸à¸¢ โดยชาวบ้านเรียà¸à¸Šà¹‰à¸²à¸‡à¹€à¸«à¸¥à¹ˆà¸²à¸™à¸µà¹‰à¸§à¹ˆà¸² ช้างà¹à¸„ระ ช้างค่à¸à¸¡ ช้างà¹à¸à¸¥à¸š หรืà¸à¸Šà¹‰à¸²à¸‡à¸«à¸±à¸§à¹à¸”ง à¹à¸¥à¸°à¸Šà¸·à¹ˆà¸à¸à¸·à¹ˆà¸™ ๆ à¹à¸¥à¹‰à¸§à¹à¸•à¹ˆà¸—้à¸à¸‡à¸—ี่ โดยคำบà¸à¸à¹€à¸¥à¹ˆà¸²à¹„ด้ระบุว่าช้างà¹à¸„ระตัวสุดท้ายน่าจะหายไปจาà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่เมื่à¸à¸›à¸£à¸°à¸¡à¸²à¸“ 50 ปีที่à¹à¸¥à¹‰à¸§ à¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¹„รà¸à¹‡à¸•à¸²à¸¡ ข้à¸à¹€à¸—็จจริงว่าช้างบริเวณทะเลน้à¸à¸¢à¸™à¸±à¹‰à¸™à¹à¸„ระจริงหรืà¸à¹„ม่ à¹à¸„ระด้วยสาเหตุใด มีความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาà¸à¸²à¸£à¹ƒà¸à¸¥à¹‰à¸Šà¸´à¸”à¸à¸±à¸šà¸Šà¹‰à¸²à¸‡à¹€à¸à¹€à¸Šà¸µà¸¢à¸—ั่วไป หรืà¸à¸Šà¹‰à¸²à¸‡à¹à¸„ระบà¸à¸£à¹Œà¹€à¸™à¸µà¸¢à¸§à¸«à¸£à¸·à¸à¹„ม่นั้น ยังคงเป็นปริศนาลึà¸à¸¥à¸±à¸šà¸à¸¢à¸¹à¹ˆ
รู้หรืà¸à¹„ม่
เà¸à¸²à¸°à¸žà¸£à¸°à¸—à¸à¸‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸—ำรังวางไข่ในธรรมชาติà¹à¸«à¹ˆà¸‡à¸ªà¸¸à¸”ท้ายขà¸à¸‡à¸™à¸à¸•à¸°à¸à¸£à¸¸à¸¡à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศไทย
อ่านต่อ
เà¸à¸²à¸°à¸žà¸£à¸°à¸—à¸à¸‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸£à¸¡à¸‹à¸²à¸£à¹Œà¹„ซต์ หรืà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัà¸à¸£à¸°à¸«à¸§à¹ˆà¸²à¸‡à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศลำดับที่ 14 ขà¸à¸‡à¹„ทย เป็นที่ที่นัà¸à¸”ูนà¸à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–มาดูนà¸à¸•à¸°à¸à¸£à¸¸à¸¡à¹ƒà¸™à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¹„ด้เพียงที่เดียวในประเทศไทย เนื่à¸à¸‡à¸ˆà¸²à¸à¸™à¸à¸•à¸°à¸à¸£à¸¸à¸¡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸™à¸à¸‚นาดใหà¸à¹ˆà¹à¸•à¹ˆà¸à¹ˆà¸à¸™à¹„หวต่à¸à¸à¸²à¸£à¸£à¸šà¸à¸§à¸™à¸¡à¸²à¸à¹ƒà¸™à¸Šà¹ˆà¸§à¸‡à¸¤à¸”ูทำรังวางไข่ à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸±à¸à¸—ิ้งรังหาà¸à¸–ูà¸à¸£à¸šà¸à¸§à¸™ เà¸à¸²à¸°à¸žà¸£à¸°à¸—à¸à¸‡à¸à¸¥à¸²à¸¢à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸›à¸£à¸²à¸à¸²à¸£à¸”่านสุดท้ายที่ช่วยนà¸à¸Šà¸™à¸´à¸”นี้ให้ยังไม่สูà¸à¸žà¸±à¸™à¸˜à¸¸à¹Œà¹„ปจาà¸à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¹ƒà¸™à¸›à¸£à¸°à¹€à¸—ศไทย นัà¸à¸§à¸´à¸ˆà¸±à¸¢à¸‚à¸à¸‡à¸žà¸´à¸žà¸´à¸˜à¸ ัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๠พรรษา สยามบรมราชà¸à¸¸à¸¡à¸²à¸£à¸µà¸¯ รายงานว่านà¸à¸•à¸°à¸à¸£à¸¸à¸¡à¸šà¸™à¹€à¸à¸²à¸°à¸žà¸£à¸°à¸—à¸à¸‡à¸¡à¸µà¸›à¸£à¸°à¸Šà¸²à¸à¸£à¸™à¸±à¸šà¹„ด้สูงสุดจำนวน 24 ตัว
เรียนรู้กันมาจนถึงตรงนี้น่าจะเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า
พื้นที่ชุ่มน้ำมีความสำคัญแค่ไหน ?
พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก แต่พื้นที่ชุ่มน้ำกำลังเจอวิกฤติ
จากการรุกรานของมนุษย์ ทั้งโดยตั้งใจและไม่รู้ตัว สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปโดยมีต้นเหตุ
มาจากมนุษย์จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตจำนวนมากในบริเวณนี้
มาดูกันหน่อยว่า ตัวคุณเอง เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำด้วยวิธีไหนบ้าง ?
BACK TO
SELECT ROUTE
กลับไปเลือกเส้นทางอีกครั้ง
กลับสู่หน้าหลัก
พื้นที่ชุ่มน้ำคืออะไร ?
พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands) หมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น มีน้ำขัง น้ำท่วมถาวรหรือชั่วคราว เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล เป็นได้ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปจนถึงชายฝั่งทะเลและพื้นที่ในทะเล ที่เมื่อน้ำลดลงต่ำสุดแล้ว ระดับน้ำลึกสุดไม่เกิน 6 เมตร
ทำไมสัตว์ถึงสูญพันธุ์ ?
ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงทุกวันนี้ สิ่งมีชีวิตมากมายได้สูญพันธุ์หรือสิ้นสุดการดำรงเผ่าพันธุ์ไปจากโลกนี้ สาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่
- ถูกจำกัดที่อยู่อาศัย สาเหตุนี้เกิดขึ้นจากการรุกรานของมนุษย์
- ศักยภาพในการขยายพันธุ์ต่ำ อาทิ สัตว์ที่ใช้เวลาอุ้มท้องนานหรือออกลูกคอกละตัว
- ความต้องการอาหารเฉพาะ สัตว์บางชนิดกินอาหารได้เพียงอย่างเดียวตลอดชีวิต ดังนั้น หากแหล่งอาหารนั้นหมดไป สัตว์ชนิดนั้นก็จะสูญพันธุ์
- การถูกกลืนทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ข้ามชนิด สัตว์ที่มีจำนวนน้อยกว่าจึงอาจถูกกลืนทางพันธุกรรมได้
- การล่าสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการล่าเพื่อเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม หรือล่าเพื่อนำมาทำเป็นยา ก็สามารถทำให้สัตว์สูญพันธุ์ได้
- การใช้ยากำจัดศัตรูพืชที่ทำมาจากสารเคมี มักมีผลต่อธรรมชาติและห่วงโซ่อาหาร
- ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สายพันธุ์ที่ไม่สามารถปรับพฤติกรรมให้เข้ากับธรรมชาติได้ ก็ไม่อาจดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป
จะเห็นได้ว่า มนุษย์เป็นตัวกระตุ้นสำคัญในหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การรุกรานที่อยู่อาศัยของสัตว์ การล่า การใช้ยากำจัดศัตรูพืช หรือการมีพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
ประเภทของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
แหล่งน้ำบนโลกนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
แหล่งน้ำที่เกิดโดยธรรมชาติ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- น้ำผิวดิน พบได้ทั่วไปบนพื้นผิวโลก เกิดจากน้ำฝน การละลายของหิมะ และการไหลรวมกันจากน้ำที่ซึมออกมาบนผิวดิน อาทิ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง น้ำตก ทะเล มหาสมุทร เป็นต้น
- น้ำใต้ดิน มาจากการที่น้ำผิวดินซึมผ่านดินชั้นต่าง ๆ ลงไปถึงชั้นดินหรือชั้นหินที่ซึมผ่านไม่ได้จึงสะสมอยู่ระหว่างช่องว่างของดินหรือหิน อาทิ น้ำในดินที่ซึมอยู่ในดินเหนือชั้นหิน หรือน้ำบาดาล เป็นต้น
แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิ อ่างเก็บน้ำ คลอง เขื่อน
เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านอุปโภคและบริโภค เกษตรกรรม ผลิตกระแสไฟฟ้า รวมถึงลดปัญหาที่เกิดจากอุทกภัยในฤดูฝน
น้ำกร่อยคืออะไร ?
น้ำกร่อย คือ น้ำที่ผสมกันระหว่างน้ำเค็มกับน้ำจืด พบได้บริเวณปากแม่น้ำหรือทางออกทะเล
ทำไมน้ำทะเลถึงขึ้นและลง ?
ปรากฏการณ์น้ำขึ้น–น้ำลง เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก และแรงดึงดูดของดวงจันทร์ โดยน้ำขึ้นจะเกิดบนผิวโลกที่หันเข้าหาดวงจันทร์และด้านที่อยู่ตรงข้ามดวงจันทร์
ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงมีผลต่อการเดินเรือ ทำให้นักเดินเรือและชาวประมงต้องคอยตรวจสอบระดับน้ำก่อนออกเดินเรือเสมอ
และยังส่งผลต่อระดับน้ำบริเวณปากแม่น้ำ เพราะน้ำขึ้นทำให้น้ำจากมหาสมุทรไหลสู่แม่น้ำจนอาจท่วมบ้านเรือนที่อยู่ตามชายฝั่งได้
ป่าต้นน้ำ
ป่าต้นน้ำ หรือป่าที่ปรากฏบริเวณต้นน้ำลำธาร จะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป หรือเป็นพื้นที่ลาดชัน
น้ำฝนนับเป็นต้นกำเนิดของน้ำบนผิวโลก ดังนั้น เมื่อมีฝนตกลงมาที่บริเวณป่าต้นน้ำ
น้ำจะไหลขังอยู่บนผิวดิน เรียกว่า “น้ำบนดิน” หากฝนตกหนัก น้ำผิวดินนี้จะไหลลงสู่ที่ลุ่ม จนกลายเป็นลำน้ำ ลำธาร แม่น้ำ
และไหลออกสู่ทะเลและมหาสมุทรต่อไป
ส่วนน้ำฝนอีกส่วนที่ตกลงสู่พื้นดินจะถูกดูดซึมลงในดินเป็น “น้ำใต้ดิน” ที่สร้างความชุ่มชื้นให้ผืนป่า และทำให้ต้นไม้ในป่าเติบโต
ยิ่งต้นไม้สูงก็จะยิ่งลดแรงปะทะของหน้าดินกับน้ำฝน เป็นสาเหตุที่ช่วยไม่ให้เกิดน้ำป่าไหลหลากนั่นเอง
ความหลากหลายทางชีวภาพคืออะไร ?
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดหลากหลายพันธุ์ในระบบนิเวศซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ
- ความหลากหลายของชนิด (Species Diversity) หมายถึง ความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ หรือสัดส่วนของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีอยู่
- ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) หมายถึง ความหลากหลายของยีน (Gene) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจจะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันได้
- ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecosystem Diversity) หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีปัจจัยจากความหลากหลายของถิ่นตามธรรมชาติ ความหลากหลายของการทดแทน และความหลากหลายของภูมิประเทศที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดมีวิวัฒนาการจากการปรับตัวในแต่ละระบบนิเวศ
ความหมายของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเชิงกายภาพ ที่อยู่อาศัยร่วมกันในที่ใดที่หนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต หรือสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกัน เราสามารถจำแนกระบบนิเวศออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ ระบบนิเวศบนบกและระบบนิเวศในน้ำ ซึ่งมีความหลากหลายแตกต่างกันไป แต่โดยรวมจะมีองค์ประกอบ ดังนี้
ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Component) ประกอบด้วย
- สารอนินทรีย์ อาทิ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ คาร์บอน
- สารอินทรีย์ อาทิ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
- สภาพแวดล้อมทางกายภาพ อาทิ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็ม ความชื้น
ส่วนประกอบที่มีชีวิต (Biotic Component)
- ผู้ผลิต (Producer)
- ผู้บริโภค (Consumer)
- ผู้ย่อยสลาย (Decomposer)
สันดอน
คือ เนินที่เกิดจากกระแสน้ำที่พัดพาตะกอนหรือกรวดทรายมาทับถมกัน ปรากฏนูนอยู่ใต้น้ำเป็นสันขึ้นมา มักขวางหรือปิดปากน้ำบริเวณทางเข้าท่าเรือและปากอ่าว
ทำไมป่าพรุถึงนับเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ
ป่าพรุ เป็นประเภทของป่าที่นับเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ
ด้วยลักษณะที่มีน้ำท่วมขังตลอดเวลา บริเวณป่าพรุจึงถือได้ว่า เป็นแหล่งเก็บน้ำจืด
ที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเป็นแหล่งรวมพรรณพืชและสัตว์นานาชนิด
เรือนยอด
คือ คำที่ใช้แบ่งระดับความสูงของต้นไม้ในป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน ชั้นเรือนยอด คือ ชั้นบนของป่าที่มีความสูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป
รากไม้ในป่าพรุต่างจากป่าชนิดอื่นอย่างไร ?
พืชส่วนใหญ่ในป่าพรุ มีโครงสร้างพิเศษโดยเฉพาะส่วนรากที่มีความหลากหลายและจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ อย่าง “พูพอน” หรือรากค้ำยันตามโคนต้น มีระบบรากแก้วสั้น แต่มีรากแขนงแผ่กว้างแข็งแรง บางชนิดมีระบบรากพิเศษหรือรากเสริม รากส่วนบนจะโผล่ขึ้นเหนือดินที่มีน้ำเลี้ยงเพื่อช่วยระบายอากาศ ปลายรากหยั่งไปในดินเพื่อช่วยพยุงลำต้น นอกจากนี้ ไม้บางชนิดมีรากช่วยหายใจอีกด้วย
ไฟไหม้พรุควนเคร็ง
เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 เกิดเหตุไฟไหม้ป่าพรุเนื่องจากมีคนเผาป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตรและหาปลาในป่าพรุควนเคร็ง
ลักษณะทางกายภาพของป่าพรุที่เต็มไปด้วยชั้นดินและซากอินทรีย์เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงอากาศแห้งแล้ง จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าพรุไปราว 15,000 ไร่ พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวกลายเป็นป่าพรุที่เสื่อมสภาพ ทำให้เสียพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และดักสารพิษปนเปื้อนจากพื้นที่ทำการเกษตรก่อนปล่อยสู่ทะเลสาบสงขลา รวมถึงสูญเสียพันธุ์พืชและสัตว์จำนวนมาก
Hotspot
Hotspot หมายถึง Biodiversity Hotspot หรือพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ต้องการมาตรการอนุรักษ์และคุ้มครองเป็นพิเศษเนื่องจากถูกมนุษย์รุกล้ำพื้นที่
พื้นที่ hotspot จะต้องตรงตามสองเงื่อนไขดังนี้
จะต้องมีชนิดสิ่งมีชีวิตที่พบได้เฉพาะพื้นที่นั้น ๆ อย่างน้อย 1,500 ชนิด
สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะต้องถูกรุกล้ำแหล่งที่อยู่อาศัยไปแล้วอย่างน้อย 75%
งูงวงช้าง
วงศ์ : Acrochordidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acrochordus javanicus (Hornstedt, 1787)
ชื่อสามัญ : Javan file snake
ลักษณะ : ลำตัวเหมือนงวงช้างดูนุ่มนิ่ม หนังย่นได้มาก พับงอตัวดี มีสีเทาดำหรือสีน้ำตาล
หรือสีน้ำตาลอมเขียวเข้ม เกล็ดที่หนังมีลักษณะเป็นตุ่มเล็กและถี่มาก
“งูงวงช้าง” จะอาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต เคลื่อนที่ในน้ำได้ดี
ไม่สามารถเลื้อยไปมาบนพื้นดินได้ พบบริเวณทะเลน้อยในบริเวณที่น้ำตื้นและมีแนวโน้มลดจำนวนลงเรื่อย ๆ
งูผ้าขี้ริ้ว / งูม้าลาย
วงศ์ : Acrochordidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acrochordus granulatus (Schneider, 1799)
ชื่อสามัญ : Granular file snake
ลักษณะ : รูปร่างอ้วน หัวเล็ก ตัวเป็นลายสีเทาดำสลับกับสีขาว เกล็ดเล็กละเอียด
“งูม้าลาย” อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย และพื้นที่ท้องน้ำเป็นเลน กินปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร และสามารถปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำได้ดี เคลื่อนที่บนบกไม่คล่องตัว พบบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางและตอนล่าง
ทำไมนกบางชนิดถึงบินได้ ?
นกบางชนิดลอยตัวอยู่ในอากาศได้ด้วยแรงกระพือปีก เมื่อนกกดปีกลงจะเกิดแรงต้านกับอากาศ ทำให้นกสามารถเคลื่อนที่ไปในอากาศได้
นอกจากนี้ นกบางชนิดยังมีสรีระที่เอื้อต่อการกระพือปีกบิน เพราะมีปอดที่ใหญ่ เพื่อช่วยในการหายใจ มีกล้ามเนื้อปีกที่แข็งแรง เพื่อใช้ในการกระพือปีก และมีกระดูกที่กลวงเป็นโพรง น้ำหนักเบา เพื่อช่วยให้ลอยตัวได้ในอากาศ
นกกาบบัว
วงศ์ : Ciconiidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mycteria leucocephala (Pennant, 1789)
ชื่อสามัญ : Painted stork
ลักษณะ : ขนลำตัวสีขาว มีลายสีดำเหลือบเขียวบนหลัง และมีแต้มสีชมพูบนปีกและหลังช่วงล่าง
จะงอยปากออกสีเหลือง หนังที่หน้าสีเหลืองเป็นมัน ขาสีน้ำตาลเกือบแดง
“นกกาบบัว” กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำ โดยจะลุยลงไปในน้ำแล้วจุ่มจะงอยปากลงไปหาอาหารตามโคลนท้องน้ำ
หาเหยื่อด้วยการยืน ก้มตัว และอ้าปากแช่อยู่ในน้ำ รอให้เหยื่อผ่านมาแล้วงับเหยื่อเข้าปาก
นกกาบบัวจะอพยพวางไข่ที่ทะเลน้อยเป็นประจำ
แต่ปัจจุบันมีให้พบเห็นน้อยลง และถูกจัดอยู่ในประเภทสิ่งมีชีวิตที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ค้างคาวหน้ายักษ์จมูกปุ่ม
วงศ์ : Hipposideridae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hipposideros halophyllus (Hill and Yenbutra, 1984)
ชื่อสามัญ : Thai roundleaf bat
ลักษณะ : เป็นค้างคาวขนาดเล็กมาก มีขนคลุมลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ด้านล่างลำตัวมีสีอมขาว
แผ่นจมูกมีสีชมพู มีใบหูขนาดเล็ก ตอนกลางของแผ่นกั้นรูจมูกจะป่องออกและมีรูปร่างคล้ายไต
“ค้างคาวหน้ายักษ์จมูกปุ่ม” เป็นค้างคาวหายากที่พบได้บริเวณทะเลน้อย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดให้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์
นากเล็บสั้น
วงศ์ : Mustelidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aonyx cinerea (Illiger, 1815)
ชื่อสามัญ : Oriental small-clawed otter
ลักษณะ : มีขนาดเล็กกว่านากชนิดอื่น ๆ หูสั้น ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแกมเทา ขนเรียบเป็นมัน
ใต้คางและคอด้านล่างมีสีขาวนวล มีเล็บสั้นทื่อและยื่นออกมาไม่พ้นปลายนิ้ว หางแข็ง
“นากเล็บสั้น” พบได้บริเวณใกล้แหล่งน้ำ อาทิ ลำธาร ปากแม่น้ำ และป่าชายเลน เป็นต้น
ชอบอาศัยเป็นฝูง ประมาณ 4–12 ตัว พบได้บริเวณทะเลน้อย
เสือปลา
วงศ์ : Felidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prionailurus viverrinus (Bennett, 1833)
ชื่อสามัญ : Fishing cat
ลักษณะ : รูปร่างล่ำสัน ขาสั้น ขนาดใหญ่กว่าแมวบ้าน ลวดลายคล้ายแมวดาว
ขนมันวาว หยาบ สั้น มีสีเทาอมน้ำตาลหรือเทาอมมะกอก หลังหูมีสีดำแต้มสีขาว ขาสั้น หางสั้นมาก
“เสือปลา” หากินในเวลากลางคืน อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเฉพาะหนอง บึง และป่าชายเลน ว่ายน้ำได้เก่ง โดยใช้ขาหลังที่มีพังผืดตีน้ำ พบได้บริเวณทะเลน้อย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดให้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์
ปลาตะเพียนขาว
วงศ์ : Cyprinidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1850)
ชื่อสามัญ : Java barb, Thai barb
ลักษณะ : ลำตัวป้อม ก้านครีบแข็ง ก้านสุดท้ายของครีบมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีขาว-เงิน
บริเวณหลังมีสีเขียวปนน้ำตาลจาง ๆ ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ ใส ครีบท้องสีขาว
“ปลาตะเพียน” เป็นปลาที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี กินตะไคร่น้ำ สาหร่าย ไรน้ำ และซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร พบได้ทั่วบริเวณของทะเลสาบสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง
ปลากระทิงไฟ
วงศ์ : Mastacembelidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mastacembelus erythrotaenia (Bleeker, 1850)
ชื่อสามัญ : Fire eel
ลักษณะ : ลำตัวยาว แบนข้าง หัวแหลม ปลายจะงอยปากเป็นท่อสั้น ไม่มีเกล็ด ลำตัวมีสีดำ
มีเส้นและจุดสีแดงสดประอยู่บริเวณหัว ลำตัว และครีบอก ขอบครีบหลังและครีบก้นมีสีแดง
“ปลากระทิงไฟ” อาศัยในน้ำจืด ตามโพรงไม้และรากไม้บริเวณแหล่งน้ำนิ่ง พบบริเวณทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลาตอนบน
ปัจจุบันพบในธรรมชาติน้อยมาก และอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปจากทะเลสาบสงขลา
“ปู” สัตว์ที่อยู่ (เกือบ) ทุกที่
บนโลกนี้มีปูอยู่ราว 6,800 ชนิด และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก
ปูมีแหล่งที่อยู่อาศัยในระบบนิเวศที่หลากหลาย
ตั้งแต่ป่าบนภูเขาสูง ที่ราบ ป่าชายเลน ชายฝั่งทะเล ไปจนถึงใต้ทะเลลึก
ปูสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง ทั้งพืช สัตว์ และเศษซาก
นอกจากนี้ ปูยังมีกระดองที่แข็งมาก คอยปกป้องไม่ให้โดนสัตว์อื่นกิน
มีก้ามและขาที่แข็งแรง ทรงพลัง และใช้งานได้หลากหลาย
และถ้าหากโดนงับจนขาดก็ยังสามารถงอกก้ามและขาใหม่ได้เองด้วย
นี่อาจเป็นเหตุที่ทำให้ปู สามารถดำรงชีวิตอยู่ในหลากหลายสถานที่ก็เป็นได้
ปูแสมก้ามแดง
วงศ์ : Sesarmidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parasesarma eumolpe (De Man, 1895)
ชื่อสามัญ : Red-claw marsh crab
กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นผิวปกคลุมด้วยขนกระจัดกระจายทั่วไป
พื้นผิวกระดองมีสีน้ำตาลสลับลวดลายสีน้ำเงินอมฟ้า ก้ามมีสีแดงอมดำ ปลายก้ามสีแดงสด ส่วนท้องด้านล่างมีสีม่วงแดง
“ปูแสมก้ามแดง” อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำทะเลและน้ำกร่อยในเขตน้ำขึ้น-น้ำลง มักขุดรูอยู่ตามพื้นในป่าชายเลน
กินใบของต้นแสมและเศษซากอินทรียสารต่าง ๆ เป็นอาหาร พบบริเวณป่าชายเลนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง
หอยถั่วเขียว
วงศ์ : Neritidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clithon sowerbyana (Recluz, 1842)
ชื่อสามัญ : Sowerby clithon
ลักษณะ : เป็นหอยฝาเดียว เปลือกเหลืองหนา รูปไข่ มีลวดลายสีน้ำตาลเข้มไม่ซ้ำแบบกัน ริมขอบมีกลุ่มฟันขนาดเล็ก 5 ซี่ ขนาบด้วยฟันขนาดใหญ่ข้างละ 1 ซี่ แผ่นเปิดเป็นหินปูน สีเทา ด้านในมีเงี่ยงยึดกับขอบช่องเปิด
“หอยถั่วเขียว” เป็นหอยทะเลที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย มักอยู่ตามปากน้ำ หรือฝังตัวในหน้าดินแบบทราย
หรือเกาะตามแนวหินในเขตน้ำขึ้น-น้ำลง
ด้วงเต่าทองบัว
วงศ์ : Chrysomelidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Donacia sp.
ชื่อสามัญ : Aquatic leaf beetle
ลักษณะ : ส่วนหัวมีปากไว้กัด ส่วนอกมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนท้องมีปีกแข็งและเรียบปกคลุมอยู่
“ด้วงเต่าทองบัว” อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด เกาะอยู่บริเวณพืชที่ลอยอยู่เหนือน้ำ และกินพืชเป็นอาหาร
พบได้ที่ทะเลน้อย ทะเลสาบตอนบนและทะเลสาบตอนกลาง
“ปู” สัตว์ที่อยู่ (เกือบ) ทุกที่
บนโลกนี้มีปูอยู่ราว 6,800 ชนิด และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก ปูมีแหล่งที่อยู่อาศัยในระบบนิเวศที่หลากหลาย ตั้งแต่ป่าบนภูเขาสูง ที่ราบ ป่าชายเลน ชายฝั่งทะเล ไปจนถึงใต้ทะเลลึก
ปูสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง ทั้งพืช สัตว์ และเศษซาก นอกจากนี้ ปูยังมีกระดองที่แข็งมาก คอยปกป้องไม่ให้โดนสัตว์อื่นกิน มีก้ามและขาที่แข็งแรง ทรงพลัง และใช้งานได้หลากหลาย และถ้าหากโดนงับจนขาดก็ยังสามารถงอกก้ามและขาใหม่ได้เองด้วย
นี่อาจเป็นเหตุที่ทำให้ปู สามารถดำรงชีวิตอยู่ในหลากหลายสถานที่ก็เป็นได้
ถูกต้องแล้วจ้า
พรุควนขี้เสียน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประมาณ 3,085 ไร่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของนกน้ำกว่า 187 ชนิด หนึ่งในนั้นคือ นกกาบบัว ซึ่งจะมาทำรังวางไข่ที่บริเวณนี้เท่านั้น
พันธุ์ไม้ที่พบในบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก อาทิ กก เสม็ดขาว เสม็ดชุน ยาง ผักกูด เป็นต้น
พรุควนขี้เสียนแห่งนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทย
ไม่ใช่นะจ๊ะ
คำตอบที่ถูกต้องคือ พรุควนขี้เสียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุงจ้า ส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย เกิดจากการควบคุมระบบน้ำ แต่เดิมเป็นที่ลุ่มอยู่ทางตอนล่างของแม่น้ำกก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาหมอแคระที่พบเฉพาะบริเวณแหล่งน้ำจืดแถบใต้ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงเท่านั้น
หนองบงคายแห่งนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) ของไทย
ไม่ใช่นะจ๊ะ
คำตอบที่ถูกต้องคือ พรุควนขี้เสียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุงจ้า
ส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง ตั้งอยู่ที่จังหวัดบึงกาฬ
เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ของภาคอีสานที่เชื่อมต่อกับลุ่มแม่น้ำโขง มีนกประจำถิ่นอยู่อย่างน้อย 44 ชนิด
และเป็นแหล่งพักพิงอพยพในฤดูหนาวไม่ต่ำกว่า 37 ชนิด พบพรรณไม้ อาทิ ยาง หว้า ไทร ตะแบกนา แสมขาว กันเกรา เป็นต้น
บึงโขงหลงแห่งนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) ของไทย
ไม่ใช่นะจ๊ะ
คำตอบที่ถูกต้องคือ พรุควนขี้เสียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุงจ้า
ส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม
เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลที่มีลักษณะธรรมชาติที่หายาก เพราะเกิดจากการทับถมของตะกอนปากแม่น้ำ
ที่นี่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหอยหลอด และหอยอีกหลายชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ทั้งยังเป็นแหล่งหาอาหารของนกชายเลนใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด
ดอนหอยหลอดแห่งนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) ของไทย
ข้อนี้กล่าวถูกต้องแล้วจ้า
รู้ไหมว่าทะเลสาบสงขลาเพิ่งเกิดขึ้นเพียงร้อยกว่าปีมาแล้วเท่านั้น
เพราะเมื่อดูบันทึกการเดินเรือของชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายในสยามเมื่อ 200–300 ปีก่อน
ไม่มีการบันทึกลักษณะภูมิประเทศของทะเลสาบสงขลาเอาไว้เลย
คาดว่าลักษณะทางภูมิประเทศที่คล้ายทะเลปิดของทะเลสาบสงขลา เกิดขึ้นจากการทับถมของโคลนตะกอนและทราย
จนเป็นแนวสันทรายแทนทาลัม ซึ่งสันทรายดังกล่าวมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นแผ่นดินขึ้นมาเชื่อมกับแผ่นดินใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ข้อนี้กล่าวถูกต้องแล้วจ้า
นกกาบบัวเป็นนกน้ำที่พบได้มากที่ทะเลสาบสงขลา และที่นี่ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของนกน้ำชนิดอื่น ๆ ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพด้วยนะ
ข้อนี้กล่าวไม่ถูกต้องนะจ๊ะ
ช้างแคระ เป็นช้างเอเชียพันธุ์เล็กที่ลำตัวเตี้ยและเล็กกว่าช้างป่าทั่วไป
จัดเป็นสัตว์ป่าหายากชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก จึงไม่สามารถนำมาใช้แรงงานได้เหมือนช้างป่า
น่าเสียดายที่ช้างแคระสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากอาศัยในที่ราบต่ำจึงถูกล่าเป็นอาหารได้ง่าย
แต่มีตำนานเล่าว่า เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มีคนเคยพบช้างแคระที่บริเวณตอนเหนือของทะเลน้อยและทะเลหลวงด้วยนะ
ข้อนี้กล่าวถูกต้องแล้วจ้า
ในจำนวนปลาหลายร้อยชนิดที่อาศัยอยู่ในทะเลน้อย ปลาตะเพียนเป็นปลาที่พบได้มากที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตหายากที่พบได้ในบริเวณนี้ อาทิ ปลาดุกลำพัน นกกาบบัว โลมาอิรวดี เสือปลา
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวสั้น มีใบหน้า อก และท้องเป็นสีขาวตัดกับกระหม่อม คอ และลำตัวด้านบนที่เป็นสีเทาดำ ปากสั้นและตรง แข้งและนิ้วสีเขียว ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย อาศัยอยู่ตามหนองน้ำ เวลาเดินหางจะกระดกขึ้นลง กินได้ทั้งพืชและสัตว์ พบทั่วไปตามเอเชียใต้ ในฤดูผสมพันธุ์จะร้องเสียงดัง “กวัก ๆ”
“นกกวัก” เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ลักษณะทั่วไป
เป็นกบขนาดกลาง ตาโต หัวแบน หน้าโค้งมน ผิวหนังส่วนบนของร่างกายมีปุ่มอยู่ทั่วไปเป็นสีน้ำตาลเทา ประด้วยปุ่มสีน้ำตาลเข้มและสีเหลืองครีม ริมฝีปากมีลายสีดำสลับสีเหลืองครีม
สามารถพบได้เฉพาะในป่าพรุหรือแหล่งน้ำนิ่งในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ เสียงร้องฟังคล้ายสุนัขเห่า จึงมีชื่อเรียกในบางท้องถิ่นว่า “หมาน้ำ”
ลักษณะทั่วไป
กระดองนูน รูปทรงคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู สีม่วงเข้มหรือน้ำตาล มีจุดสีเหลือง 6 จุดเรียงอยู่ในแนวใกล้กลางกระดอง ขอบด้านข้างกระดองหยักเป็นฟันเลื่อย 4 ซี่ ก้าม 2 ข้างมีขนาดต่างกันชัดเจน เป็นสีแดงอมม่วงหรือสีน้ำตาล ส่วนโคนก้ามเป็นปื้นสีดำ พบได้ใน
ภาคอื่น ๆ ของประเทศไทยยกเว้นภาคเหนือและภาคอีสาน อาศัยในบริเวณทุ่งนา คู คลอง บึงน้ำจืด และบ่อเลี้ยงสัตว์นำ้
ปูนาม่วงมีก้ามใหญ่แข็งแรง สามารถหนีบเปลือกหอยให้แตกเพื่อกินเนื้อหอยได้
ลักษณะทั่วไป
ความยาว 43 เซนติเมตร เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะเหมือนกัน หัวสีทองอมน้ำเงิน ลำตัวด้านบนมีสีน้ำเงินอมม่วง ใต้คางและอกมีสีน้ำเงินอมเขียว ท้องและสีข้างมีสีน้ำเงินอมม่วง หัวไหล่และขนปีกมีสีน้ำเงินอมเขียว ตาสีแดง จะงอยปากและแผ่นที่หน้าผากสีแดง มีขาและนิ้วเท้ายาวมาก
พบได้ทั่วประเทศไทยตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ซึ่งมีพืชน้ำขึ้นอยู่ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ กินทั้งพืชและสัตว์ กินพืชน้ำ เมล็ดพืช ผลไม้ หอย แมลงต่าง ๆ รวมทั้งชอบขโมยไข่นกอื่นและลูกนกกินด้วย
ลักษณะทั่วไป
ความยาว 45-52 เซนติเมตร ปีกขาว ปากเหลือง ปลายปากดำ ตาและขาเหลือง ชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์มีสีน้ำตาล-เทา มีลายและจุดสีขาว ชุดขนในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีทั่วไปเป็นสีแดงและขาว หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน
อาศัยอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งน้ำตื้น ๆ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกปู ลูกงู และแมลงต่าง ๆ เป็นนกอพยพ พบได้ทั่วประเทศ
ลักษณะทั่วไป
ความยาวประมาณ 11-26 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำตาลเข้มอมเขียวมะกอก ขอบปากมีจุดสีดำ ท้องสีขาว ขามีลายพาดสีเข้ม ต้นขาด้านในมีลายคล้ายร่างแห
เป็นกบที่ใหญ่ที่สุดในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบตามลำห้วย คลอง แม่น้ำในป่าภาคใต้จนถึงภาคตะวันตก หากินตอนกลางคืน ชอบสภาพอากาศค่อนข้างเย็น กลางวันมักหลบซ่อนอยู่ตามที่มืดและชื้น
ลักษณะทั่วไป
เกล็ดตั้งแต่หัวถึงปลายหางสีเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาล พื้นของตัวมีสีน้ำตาลแดง มีลายแบ่งเป็นวงและมีหลายสี ที่บริเวณส่วนหัวมีเส้นสีดำที่เรียกว่า “ศรดำ“ จนเกือบถึงปลายปาก หัวมีขนาดใหญ่ ปลายหางยาวแหลม เกล็ดเรียบเรียงเป็นแถวได้ระหว่าง 69 ถึง 74 แถวที่บริเวณกลางลำตัว เกล็ดทวารเป็นแผ่นเดี่ยว
เป็นงูที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลก ไม่มีพิษ มีปากใหญ่ ฟันแหลมคม ขากรรไกรแข็งแรงมาก กินสัตว์แทบทุกชนิด เลื้อยช้า นิสัยดุ หากินกลางคืนทั้งบนบกและในน้ำ นอนในที่มืดและเย็น เช่น โพรงดิน โพรงไม้ ถ้ำ
ลักษณะทั่วไป
หัวมีขนาดใหญ่และแยกออกจากคอชัดเจน ตาขนาดใหญ่ ลูกตาดำกลม ลำตัวรูปร่างเรียว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลดำ ด้านข้างลำคอมีแต้มสีส้มแดงรูปสามเหลี่ยม เกล็ดบริเวณริมฝีปากบางเกล็ดมีขอบสีดำ ท้องสีครีม
อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำในป่าดิบชื้น กินสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นอาหารหลัก
ลักษณะทั่วไป
ความยาว 2.5–3 เมตร ตัวสีดำ มีลายดอกสีขาวหรือเหลืองเป็นแถวพาดขวางตัว หางเป็นปล้องสีดำสลับกับเหลืองอ่อน ลิ้นสีม่วงปลายแฉก หนังหยาบเป็นเกล็ด
เป็นสัตว์ที่ดุ ใช้หางฟาดศัตรูแล้วใช้ปากกัด ชอบอยู่ใกล้น้ำ ว่ายน้ำ ดำน้ำเก่ง และขึ้นต้นไม้เก่งด้วย กินทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก ทั้งของสดและของเน่า
ลักษณะทั่วไป
ความยาวหัวถึงหาง 51-56 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียลักษณะเหมือนกัน ขนสีดำเหลือบน้ำเงิน รอบตามีจุดสีขาวขนาดเล็ก ใต้คางสีครีม ในฤดูผสมพันธุ์บนหัวจะมีลายริ้วสีขาว
อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ดำน้ำเพื่อจับปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร เมื่อขึ้นจากน้ำจะยืนกางปีกตากแดดให้ขนแห้ง เป็นท่าที่พบได้บ่อย ในฤดูผสมพันธุ์จะรวมฝูงทำรังด้วยกันบนต้นไม้ โดยนำกิ่งไม้มาวางขัดสานกันไว้หยาบ ๆ
ร่างกายของปูมีเปลือกแข็งห่อหุ้มทั้งตัว ซึ่งลักษณะเฉพาะตัวเช่นนี้ ทำให้ปูสามารถเอาตัวรอดในธรรมชาติได้ เนื่องจากเปลือกที่แข็งจะช่วยให้ถูกกัดกินได้ยาก และปกปิดจุดอ่อนของร่างกาย กระดองที่ปิดมิดชิดยังช่วยรักษาความชุ่มชื้น ทำให้ปูบางชนิดสามารถอาศัยอยู่บนบกได้โดยไม่แห้งตายไปเสียก่อนอีกด้วย
แรมซาร์ไซต์ คือพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญต่อการอยู่อาศัยนกน้ำ ปลา สัตว์ป่าหายาก และความหลากหลายทางชีวภาพ มุ่งเน้นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดในทุก ๆ ด้าน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ทางทะเล (Marine) พื้นที่ปากแม่น้ำ (Estuarine) พื้นที่ทะเลสาบ (Lacustrine) พื้นที่แหล่งน้ำไหล (Riverine) พื้นที่หนองน้ำ หรือที่ลุ่มชื้นแฉะ (Palustrine) ประเทศไทยมีแรมซาร์ไซต์ถึง 15 แห่ง ซึ่งนับว่ามากที่สุดในอาเซียน แรมซาร์ไซต์แห่งแรกของไทยคือพรุควนขี้เสี้ยน จังหวัดพัทลุง (2541) และแห่งล่าสุดคือแม่น้ำสงครามตอนล่าง จังหวัดนครพนม (2562) นอกเหนือจากพรุควนขี้เสี้ยนแล้ว ภาคใต้ยังมีแรมซาร์ไซต์อีก 8 แห่งด้วยกัน ได้แก่
- ปากแม่น้ำกระบี่
- พรุโต๊ะแดง
- อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง – ปากแม่น้ำตรัง
- อุทยานแห่งชาติแหลมสน - ปากแม่น้ำกระบุรี – ปากคลองกะเปอร์
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
- อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
- เกาะกระ
- หมู่เกาะระ – เกาะพระทอง
ช้างในประเทศไทยเป็นช้างเอเชีย (Asian Elephant) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Elephus maximus มีการกระจายตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย จีน จนถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ขนาดตัวโดยทั่วไปสูงประมาณ 2.5–3 เมตร แต่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทยมีหลักฐานปรากฏทั้งจากคำบอกเล่าและซากฟันกรามช้างว่าประชากรช้างบริเวณทะเลน้อย จ.พัทลุง และจ. สงขลา มีขนาดตัวที่เล็กกว่าช้างโดยทั่วไป หรือใหญ่กว่าควายขนาดใหญ่เล็กน้อย โดยชาวบ้านเรียกช้างเหล่านี้ว่า ช้างแคระ ช้างค่อม ช้างแกลบ หรือช้างหัวแดง และชื่ออื่น ๆ แล้วแต่ท้องที่ โดยคำบอกเล่าได้ระบุว่าช้างแคระตัวสุดท้ายน่าจะหายไปจากพื้นที่เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงว่าช้างบริเวณทะเลน้อยนั้นแคระจริงหรือไม่ แคระด้วยสาเหตุใด มีความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการใกล้ชิดกับช้างเอเชียทั่วไป หรือช้างแคระบอร์เนียวหรือไม่นั้น ยังคงเป็นปริศนาลึกลับอยู่
เกาะพระทองเป็นแรมซาร์ไซต์ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศลำดับที่ 14 ของไทย เป็นที่ที่นักดูนกสามารถมาดูนกตะกรุมในธรรมชาติได้เพียงที่เดียวในประเทศไทย เนื่องจากนกตะกรุมเป็นนกขนาดใหญ่แต่อ่อนไหวต่อการรบกวนมากในช่วงฤดูทำรังวางไข่ และมักทิ้งรังถ้าหากถูกรบกวน เกาะพระทองกลายเป็นปราการด่านสุดท้ายที่ช่วยนกชนิดนี้ยังไม่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในประเทศไทย นักวิจัยของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา สยามบรมราชกุมารีฯ รายงานว่านกตะกรุมบนเกาะพระทองมีประชากรนับได้สูงสุดจำนวน 24 ตัว