Skip to the content
✕
COAST
ชายฝั่งทะเล แหล่งพักพิงของชีวิต
ROUTE 3
COAST
0/3
ชายฝั่งทะเล
แหล่งพักพิงของชีวิต
เลื่อนลงเพื่อดูต่อ ↓
รู้หรือไม่ว่า...
สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่ดูสวยงามเพลินตา
มีระบบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
และน่าค้นหายิ่งกว่ามิติของความงาม
แม้จะเป็นเพียงแนวปะการังเล็ก ๆ
แต่ก็หล่อเลี้ยงชีวิตสัตว์ทะเลจำนวนมาก
แม้จะเป็นเพียงแนวหญ้าทะเล
แต่ก็เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลน้อยใหญ่
แม้จะเป็นเพียง
แนวต้นไม้ริมชายหาด
แต่ก็ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินทรายและช่วยกำบังลมพายุ
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา
๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
ตั้งอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
จังหวัดที่มีระบบนิเวศหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่า
และพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่ง
ของดินแดนคาบสมุทรไทยที่มีอาณาเขตติดต่อกับ
ทะเลฝั่งอ่าวไทยด้วย
ดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ของไทย
ขนาบด้วยทะเลทั้งสองฝั่ง
ทิศตะวันออกนั้นเรียกว่า
“อ่าวไทย”
เป็นส่วนหนึ่งของ “ทะเลจีนใต้”
ทิศตะวันตกเรียกกันว่า
“ทะเลอันดามัน”
แม้ดูเผิน ๆ จะเป็นทะเลเหมือนกัน
แต่ภายใต้ผืนน้ำนั้น มีความแตกต่าง
ที่เราอาจคาดไม่ถึง
ความแตกต่างของชายฝั่งคาบสมุทรไทยทั้งสองด้านนี้เอง
ทำให้เราพบสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศที่แตกต่างกัน
เกาะใดอยู่ในเขต
ทะเลฝั่งอันดามัน
ชายฝั่งทะเลไทยทั้งสองด้านเป็น “บ้าน”
ของสรรพชีวิตใต้ทะเลที่เราสามารถพบ
สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่
สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วจนแทบมองไม่เห็น
มาสำรวจระบบนิเวศทั้ง 3 แบบ
ที่เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตบริเวณชายฝั่งทะเลกันเถอะ
ระบบนิเวศหญ้าทะเล
มีความสำคัญต่อบริเวณชายฝั่งอย่างมาก เพราะเป็นบริเวณที่เหมาะกับการเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ รวมถึงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
อาทิ กุ้ง หอย และปู เป็นต้น
เป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนสัตว์ทะเล และเป็นที่ซ่อนตัวของสัตว์ทะเล
นานาชนิดที่เป็นสัตว์เล็กอย่าง
ปลาทะเล กุ้ง และปู
นอกจากนี้ ยังช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำที่พัดพาเข้าสู่ฝั่ง ลดอัตราการพังทลายของชายฝั่ง รวมถึงช่วยให้อินทรียวัตถุตกตะกอน กรองของเสีย ก่อให้เกิดการหมุนเวียนและสะสมแร่ธาตุในระบบนิเวศ
สัตว์น้ำที่พบในระบบนิเวศหญ้าทะเล
ส่วนใหญ่มักเป็นสัตว์จำพวกไส้เดือนทะเล หอย กุ้ง กั้ง
ปู ปลิงทะเล ดาวทะเล และปลาหลากชนิด อาทิ ปลาหมูสี ปลาสีเสียด ปลาเห็ดโคน และปลาไส้ตัน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังสามารถพบสัตว์ขนาดใหญ่ ได้แก่ พะยูน
และเต่าทะเล ที่อาศัยและหากินในบริเวณนี้
หญ้าทะเลมีส่วนช่วยในการกรอง
และปรับปรุงคุณภาพน้ำ
เพราะมีรากคอยยึดจับพื้นดิน ช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน
ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างป่าชายเลนกับแนวปะการัง
แหล่งหญ้าทะเลตามชายฝั่งน่านน้ำไทยยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ถึง
ร้อยละ 80 ของพื้นที่ โดยมีแหล่งหญ้าทะเลที่สำคัญในบริเวณอ่าวไทย
และอันดามันหลายแห่ง อาทิ อ่าวทุ่งคา-สวี จังหวัดชุมพร
เกาะลิบง จังหวัดตรัง และเกาะศรีบอยา-เกาะปู จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
แม้แหล่งหญ้าทะเลส่วนใหญ่ในน่านน้ำไทยจะยังคงความสมบูรณ์ แต่บางแหล่งที่เสื่อมโทรม
ล้วนมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย
- ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบริเวณชายฝั่ง ทั้งการสร้างสะพาน
โรงแรม ท่าเรือ รวมถึงการปล่อยน้ำเสียของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว
- ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น
มีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล
- การเดินเรือที่ทำให้ใบหญ้าทะเลขาดและหน้าดินถูกขุดคุ้ย
- การประมงบางประเภท คราดหอย และเรืออวนลากขนาดเล็ก
- น้ำเสียตามชายฝั่งทะเลจากการทำเหมืองแร่ ท่าเทียบเรือ สะพานปลา และโรงงานอุตสาหกรรม
เราสามารถดูแลและอนุรักษ์
ระบบนิเวศหญ้าทะเลด้วยวิธีง่าย ๆ
โดยการดูแลรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด
บำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม
กำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์
จากแหล่งหญ้าทะเล
เรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งหญ้าอย่างถูกต้อง
โดยไม่ก่อการทำลาย
ระบบนิเวศป่าชายหาด
เราสามารถพบป่าชายหาดหรือสังคมพืชป่าชายหาดได้ตามชายฝั่งทะเล
ที่เป็นหาดทราย ในบริเวณที่เป็นดินทรายและน้ำทะเลท่วมไม่ถึง
เนื่องจากอยู่ใกล้ชายฝั่งพืชพรรณของป่าชายหาดจะมีลำต้นคดงอจากแรงลม
และเป็นพืชทนเค็ม (Halophytes) ซึ่งผืนดินบริเวณนี้มีความเค็ม
โดยได้รับไอเค็ม (Salt spray) จากทะเลที่พัดเข้ามา
หญ้าเป็นพืชเบิกนำ
ของป่าชายหาด
อาทิ หญ้าลอยลม ผักบุ้งทะเล เป็นต้น พืชเหล่านี้จะมีระบบราก
ที่ประสานกันจนเป็นร่างแหเพื่อยึดหน้าทราย
ตามเถาของผักบุ้งทะเลยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวของเมล็ดหญ้า
และไม้ใหญ่บางชนิด อย่างสนทะเล ลำเจียก เอนอ้า ฯลฯ
พืชชายหาด
อาทิ ต้นพลับพลึง รักทะเล ปอทะเล มักจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ
จึงทำหน้าที่เป็นเสมือนกำแพงกันคลื่นลมให้กับพืชชายหาด
ชนิดอื่น ๆ ที่ทนไอเค็มและลมได้น้อยกว่า
ป่าชายหาดมีพื้นที่ไม่มากนัก
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จึงมี
การเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา
บางครั้งอาจพบสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในป่าดิบออกมาหากินในป่าชายหาด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพบได้ อาทิ อีเก้ง พังพอนธรรมดา
เสือปลา แมวดาว หมูป่า ลิงแสม ลิงกัง ลิ่น และกระต่ายป่า เป็นต้น
และอาจพบสัตว์ในกลุ่มหนู กระรอก หรือค้างคาว
นอกจากนี้ ยังพบสัตว์จำพวกนก อย่างนกคุ่มอกลาย ไก่ป่า
นกกวัก นกอีลุ้ม และนกในกลุ่มนกชายเลนอีกหลายชนิด
ภาคใต้มีพื้นที่ที่ยังคงสภาพเป็น
ป่าชายหาดอยู่เพียง 2,552.87 ไร่
เป็นพื้นที่รวมจาก 6 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี
ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และปัตตานี
(ข้อมูลจากโครงการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน 2552)
เนื่องจากป่าชายหาดอยู่ติดกับทะเลจึงมักถูกทำลายและแปรสภาพ
เป็นแหล่งท่องเที่ยว บ้านเมือง และชุมชน ป่าชายหาดส่วนใหญ่
จึงมีเหลือให้เห็นเป็นหย่อมเล็ก ๆ และมีสภาพเสื่อมโทรม
แต่ในขณะเดียวกัน ป่าชายหาดที่ถูกบุกรุกและละเลย
เนื่องจากไม่มีพืชสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ กลับมีความสำคัญอย่างมาก
เพราะนอกจากจะ
ทำหน้าที่เป็นตัวยึดหน้าดินของดินทรายแล้ว
ก็ยังเป็นแนวกำบังคลื่นลมพายุจากทะเลด้วย
เปรียบเสมือนตัวรักษาสมดุลบริเวณรอยต่อของทะเลและป่าบนบก
รวมถึงช่วยกักเก็บน้ำและความชุ่มชื้นที่มีอยู่น้อยนิดให้แก่ดินทราย
อันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตในบริเวณนี้
ระบบนิเวศแนวปะการัง
ระบบนิเวศแนวปะการังเป็นระบบนิเวศในทะเลเขตร้อน และเป็นแหล่งอาศัย
ของสัตว์หลายชนิด โดยสัตว์ที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ปะการัง
แนวปะการังในประเทศไทยมักเกิดอยู่ตามชายฝั่งทะเลและชายฝั่งของ
เกาะต่าง ๆ ทั้งในอ่าวไทยและอันดามัน มีลักษณะการเกิดแนวปะการัง
จากการเติบโตของสัตว์ในกลุ่มปะการังแข็งที่ทับถมกันจนเป็นโครงสร้าง
ของแนวปะการัง
แนวปะการังที่พบในประเทศไทย
เป็นลักษณะของ
แนวปะการังที่ก่อตัวริมฝั่ง (Fringing reef) ตามชายฝั่งเกาะต่าง ๆ
ส่วนชายฝั่งแผ่นดินใหญ่มีแนวปะการังไม่มากนัก และมักเป็นแนวปะการังน้ำตื้น
จากการสำรวจพบว่า ในประเทศไทยมีปะการังแข็งประมาณ 300 ชนิด
แนวปะการัง เป็นระบบนิเวศเฉพาะตัว
ที่มีความอุดมสมบูรณ์เพราะมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิด
อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
เนื่องจากปะการังประกอบด้วยโครงสร้างหินปูน
ที่มีรูปทรงแตกต่างกัน ก่อให้เกิดซอกโพรง
เหมาะแก่การอยู่อาศัย หลบภัย หากิน วางไข่
และเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำนานาชนิด
จากการสำรวจพบว่า
มีปลาอาศัยอยู่ตาม
แนวปะการังกว่า 800 ชนิด
ทำให้ระบบนิเวศแนวปะการังมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่ง
ในท้องทะเล แนวปะการังบริเวณชายฝั่งช่วยป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะของ
คลื่นและกระแสน้ำโดยตรงจากลมพายุในฤดูมรสุม นอกจากนี้ แนวปะการังยังเป็น
แหล่งกำเนิดทรายให้กับชายหาด ทั้งจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูน
การกัดกร่อนโดยสัตว์ทะเลบางชนิด และจากกระแสคลื่น ซึ่งทำให้หินปูนปะการัง
แตกละเอียดเป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาด
โดยมีการประมาณไว้ว่าแร่ธาตุแคลเซียมคาร์บอเนต
ที่ทับถมในมหาสมุทรเกิดจากแนวปะการังถึง 50%
แนวปะการังสามารถเสื่อมโทรมได้จากหลายปัจจัย
ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ ธรรมชาติ
อย่างปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว
นอกจากนี้พฤติกรรมของมนุษย์ อาทิ การพัฒนาชายฝั่ง เพื่อรองรับการ
ท่องเที่ยว กิจกรรมประมง การทิ้งขยะ และน้ำเสียจากกิจกรรมของมนุษย์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญ
ที่กระตุ้นให้เกิดความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
ดังนั้น
ประชาชนและนักท่องเที่ยว
จึงต้องช่วยกันอนุรักษ์แนวปะการัง
เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติ โดยมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
เมื่อเดินเรือในทะเลใกล้แนวชายฝั่ง ให้ผูกจอดเรือไว้ที่ทุ่นไม่ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง
ทำเครื่องหมายแสดงแนวปะการังเพื่อป้องกันไม่ให้เรือเข้ามาใกล้
ห้ามทำประมงโดยใช้
อวนลาก อวนรุน
เข้ามาจับปลาบริเวณชายฝั่งที่มีแนวปะการัง
ช่วยกันส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของการรักษาปะการัง
ไม่เก็บปะการังมาขาย ทำเป็นของที่ระลึก หรืออุดหนุนสินค้าที่ทำมาจากปะการัง
ไม่ทิ้งขยะลงในท้องทะเล
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา
๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติและวัฒนธรรม
ที่เกาะบุโหลนเล จังหวัดสตูล ซึ่งมีแนวปะการังที่สวยงาม
นอกจากผู้เยี่ยมชมจะได้ศึกษาธรรมชาติแล้ว
ยังจะได้ซึมซับวัฒนธรรมของ
ชาวอุรักลาโว้ย
กลุ่มชาวเลที่อาศัยในธรรมชาติอย่างกลมกลืนอีกด้วย
รู้หรือไม่ว่า
พื้นที่ 3 ใน 4 ของโลกใบนี้
ประกอบด้วย น้ำ
ในแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นคลอง แม่น้ำ ชายฝั่ง หรือทะเลลึก
จะมีสิ่งมีชีวิตหนึ่งประเภท ที่ถ้าหากขาดไปจะกระทบต่อ
ทุกชีวิตบนโลกเลยทีเดียว
อยากรู้ว่าคืออะไร ลองส่องดูสิ
ใช่แล้ว สิ่งมีชีวิตที่ว่านั้นก็คือ แพลงก์ตอน นั่นเอง
แพลงก์ตอนบางชนิด เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านะ
แม้ว่าจะมีขนาดจิ๋วแค่นี้
แต่ก็มีความแจ๋วขนาดที่ขาดไม่ได้เชียวนะ
แพลงก์ตอน (Plankton)
มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า “Drifting” หรือ “Wanderer”
ที่มีความหมายว่า ล่องลอยหรือผู้พเนจร ดังนั้นแพลงก์ตอนจึงหมายถึง
สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ล่องลอยอยู่ในน้ำตามทิศทางที่สายน้ำจะพัดพาไปโดย
ที่ไม่สามารถว่ายน้ำหรือเคลื่อนที่ได้ตามต้องการ
แพลงก์ตอนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด โดยจำแนก
ตามลักษณะการกินอาหาร ดังนี้
แพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton)
สามารถสร้างอาหารได้เองจากการสังเคราะห์แสง
จึงมักกระจายตัวอยู่ในบริเวณที่แสงแดดส่องถึงเท่านั้น
พบได้ทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย
แพลงก์ตอนสัตว์ (Zooplankton)
เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ล่องลอยในกระแสน้ำ ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง
จึงต้องกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอย่างแพลงก์ตอนพืช สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
หรือสารแขวนลอยอื่น ๆ เป็นอาหาร อาทิ ตัวอ่อนของกุ้งหรือปู เป็นต้น
แพลงก์ตอนเป็นสิ่งมีชีวิต
ที่สำคัญต่อท้องทะเลอย่างมาก
โดยแพลงก์ตอนพืชเป็นผู้ผลิตขั้นต้นของห่วงโซ่อาหาร
เพราะทำหน้าที่เป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์ทะเลนานาชนิด รวมทั้งสัตว์ใหญ่
อย่างวาฬ ดังนั้นปริมาณของแพลงก์ตอนพืชจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของแพลงก์ตอนสัตว์
และสัตว์ที่บริโภคต่อไปเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดห่วงโซ่อาหาร
ทีนี้รู้หรือยังว่า
แพลงก์ตอนนั้น...
จิ๋วแต่แจ๋ว
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่หรือเล็กจิ๋วแค่ไหน
ก็ล้วนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทั้งสิ้น
คลิกรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพลงก์ตอน
ถึงแพลงก์ตอนจะตัวเล็กแค่นี้
แต่นักวิจัยก็ยังสามารถค้นพบ
แพลงก์ตอนชนิดใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
นักวิจัยของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
ได้ค้นพบแพลงก์ตอนชนิดใหม่บนโลก ชื่อว่า “ไรน้ำก้นหยัก”
สัตว์ชนิดใดไม่นับเป็น
แพลงก์ตอน
หากขาดแพลงก์ตอนไปสัตว์ในระบบนิเวศต่าง ๆ
รวมถึงมนุษย์ก็จะได้รับผลกระทบทั้งสิ้น
เช่นเดียวกับทุก ๆ สิ่งในธรรมชาติของเรา
ถ้าหากขาดปูที่อยู่ในป่าชายเลน หรือค้างคาวตัวเล็กที่อาศัยอยู่ในป่า
ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างแน่นอน
10 สิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจในพื้นที่ชายฝั่ง
ที่หาดูได้ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
5 เกร็ดความรู้เด็ด ๆ
เกี่ยวกับชายฝั่งจากนักวิจัย
รู้หรืà¸à¹„ม่
หาà¸à¹à¸™à¸§à¸›à¸°à¸à¸²à¸£à¸±à¸‡à¹€à¸ªà¸µà¸¢à¸«à¸²à¸¢à¹à¸¥à¸°à¸–ูà¸à¸—ำลายจนสิ้น จะส่งผลต่à¸à¸¡à¸™à¸¸à¸©à¸¢à¹Œà¸—ุà¸à¸„นบนโลà¸
อ่านต่อ
à¹à¸¡à¹‰à¸§à¹ˆà¸²à¹à¸™à¸§à¸›à¸°à¸à¸²à¸£à¸±à¸‡à¸ˆà¸°à¸„รà¸à¸šà¸„ลุมพื้นผิวโลà¸à¸™à¹‰à¸à¸¢à¸à¸§à¹ˆà¸² 1% à¹à¸•à¹ˆà¹à¸™à¸§à¸›à¸°à¸à¸²à¸£à¸±à¸‡à¸—ั้งหมดนี้à¸à¹‡à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸—ี่à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¸à¸²à¸¨à¸±à¸¢à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆ 25% ขà¸à¸‡à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¸™à¹‰à¸³à¹ƒà¸•à¹‰à¸—ะเล สัตว์ทะเลเหล่านี้ เป็นà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸«à¸²à¸£à¸ªà¸³à¸„ัà¸à¸‚à¸à¸‡à¸¡à¸™à¸¸à¸©à¸¢à¹Œà¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸™à¹‰à¸à¸¢ 500 ล้านคน ดังนั้น หาà¸à¹à¸™à¸§à¸›à¸°à¸à¸²à¸£à¸±à¸‡à¸–ูà¸à¸—ำลายจะทำให้มนุษย์ขาดà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸à¸²à¸«à¸²à¸£à¸—ี่สำคัà¸à¹„ปด้วย
รู้หรืà¸à¹„ม่
สาหร่ายทะเลเป็นà¹à¸«à¸¥à¹ˆà¸‡à¸à¸³à¹€à¸™à¸´à¸”à¸à¸à¸à¸‹à¸´à¹€à¸ˆà¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¹‚ลà¸à¸¡à¸™à¸¸à¸©à¸¢à¹Œà¸¡à¸²à¸•à¸±à¹‰à¸‡à¹à¸•à¹ˆà¸¢à¸¸à¸„ดึà¸à¸”ำบรรพ์
อ่านต่อ
ความจริงà¹à¸¥à¹‰à¸§ à¸à¸à¸à¸‹à¸´à¹€à¸ˆà¸™à¸£à¸²à¸§ 70–80% ขà¸à¸‡à¹‚ลà¸à¹ƒà¸šà¸™à¸µà¹‰ ถูà¸à¸œà¸¥à¸´à¸•à¸‚ึ้นด้วยà¸à¸£à¸°à¸šà¸§à¸™à¸à¸²à¸£à¸ªà¸±à¸‡à¹€à¸„ราะห์à¹à¸ªà¸‡à¹‚ดยสาหร่ายในน้ำ à¹à¸¥à¸°à¸¢à¸±à¸‡à¸Šà¹ˆà¸§à¸¢à¸”ูดซับà¸à¹Šà¸²à¸‹à¸„าร์บà¸à¸™à¹„ดà¸à¸à¸à¹„ซด์ที่ละลายà¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¹ƒà¸™à¸™à¹‰à¸³à¸à¸µà¸à¸”้วย สาหร่ายทำหน้าที่ผลิตà¸à¸à¸à¸‹à¸´à¹€à¸ˆà¸™à¹ƒà¸«à¹‰à¹à¸à¹ˆà¹‚ลà¸à¸¡à¸™à¸¸à¸©à¸¢à¹Œà¸¡à¸²à¸•à¸±à¹‰à¸‡à¹à¸•à¹ˆà¸¢à¸¸à¸„ดึà¸à¸”ำบรรพ์ เนื่à¸à¸‡à¸ˆà¸²à¸à¸¡à¸µà¸à¸²à¸£à¸žà¸šà¸Ÿà¸à¸ªà¸‹à¸´à¸¥à¸ªà¸²à¸«à¸£à¹ˆà¸²à¸¢à¸ªà¸µà¹€à¸‚ียวà¹à¸à¸¡à¸™à¹‰à¸³à¹€à¸‡à¸´à¸™à¸«à¸£à¸·à¸à¹„ซยาโนà¹à¸šà¸„ทีเรีย ที่มีà¸à¸²à¸¢à¸¸à¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸™à¹‰à¸à¸¢ 3,600 ล้านปี ซึ่งนับเป็นสิ่งมีชีวิตà¹à¸£à¸ ๆ บนโลà¸
รู้หรืà¸à¹„ม่
หมึà¸à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¹„ม่มีà¸à¸£à¸°à¸”ูà¸à¸ªà¸±à¸™à¸«à¸¥à¸±à¸‡à¸—ี่ฉลาดที่สุด
อ่านต่อ
หมึภเป็นสิ่งมีชีวิตในà¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡à¸¡à¸à¸¥à¸¥à¸±à¸ªà¸—ี่วิวัฒนาà¸à¸²à¸£à¸ˆà¸™à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–ว่ายน้ำได้à¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸à¸´à¸ªà¸£à¸° หมึà¸à¸¡à¸µà¸£à¸°à¸šà¸šà¸›à¸£à¸°à¸ªà¸²à¸—ที่ยà¸à¸”เยี่ยมà¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸ªà¸¡à¸à¸‡à¸‚นาดใหà¸à¹ˆ จนà¸à¸²à¸ˆà¸à¸¥à¹ˆà¸²à¸§à¹„ด้ว่า หมึà¸à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸à¸¥à¸¸à¹ˆà¸¡à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¹„ม่มีà¸à¸£à¸°à¸”ูà¸à¸ªà¸±à¸™à¸«à¸¥à¸±à¸‡à¸—ี่ฉลาดที่สุด ตัวà¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸„วามฉลาดขà¸à¸‡à¸«à¸¡à¸¶à¸à¸à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸«à¸™à¸¶à¹ˆà¸‡à¸à¹‡à¸„ืภพวà¸à¸¡à¸±à¸™à¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เปลี่ยนสีเพื่à¸à¸žà¸£à¸²à¸‡à¸•à¸±à¸§à¹ƒà¸«à¹‰à¹€à¸‚้าà¸à¸±à¸šà¸žà¸·à¹‰à¸™à¸œà¸´à¸§à¸•à¹ˆà¸²à¸‡ ๆ เพื่à¸à¸›à¹‰à¸à¸‡à¸à¸±à¸™à¸•à¸±à¸§à¸ˆà¸²à¸à¸¨à¸±à¸•à¸£à¸¹à¸—ี่à¸à¸²à¸ˆà¹€à¸‚้ามาทำà¸à¸±à¸™à¸•à¸£à¸²à¸¢à¹„ด้
รู้หรืà¸à¹„ม่
à¹à¸™à¸§à¸Šà¸²à¸¢à¸à¸±à¹ˆà¸‡à¸—ะเลภาคใต้มีระยะทางà¸à¸§à¹ˆà¸² 2,400 à¸à¸´à¹‚ลเมตร à¹à¸¥à¸°à¸—ั้งสà¸à¸‡à¸à¸±à¹ˆà¸‡à¸¡à¸µà¸¥à¸±à¸à¸©à¸“ะไม่เหมืà¸à¸™à¸à¸±à¸™
อ่านต่อ
ภาคใต้ขà¸à¸‡à¹„ทยมีลัà¸à¸©à¸“ะเป็นคาบสมุทรหรืà¸à¹à¸«à¸¥à¸¡à¸¢à¸·à¹ˆà¸™à¸¥à¸‡à¸¡à¸²à¹ƒà¸™à¸—ะเล มีà¹à¸™à¸§à¸Šà¸²à¸¢à¸à¸±à¹ˆà¸‡ ทั้งà¸à¸±à¹ˆà¸‡à¸à¹ˆà¸²à¸§à¹„ทยà¹à¸¥à¸°à¸à¸±à¹ˆà¸‡à¸à¸±à¸™à¸”ามันยาวรวมà¸à¸±à¸™à¸à¸§à¹ˆà¸² 2,400 à¸à¸´à¹‚ลเมตร หรืà¸à¸žà¸ ๆ à¸à¸±à¸šà¸£à¸°à¸¢à¸°à¸—างจาà¸à¸«à¸²à¸”ใหà¸à¹ˆà¸–ึงชายà¹à¸”นเหนืà¸à¸ªà¸¸à¸”ขà¸à¸‡à¹€à¸¡à¸µà¸¢à¸™à¸¡à¸²à¸£à¹Œà¸—ี่ติดà¸à¸±à¸šà¸ˆà¸µà¸™à¹€à¸¥à¸¢à¸—ีเดียว เราจึงมีทรัพยาà¸à¸£à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¸Šà¸²à¸•à¸´à¸—างทะเลมหาศาล นà¸à¸à¸ˆà¸²à¸à¸™à¸±à¹‰à¸™à¸Šà¸²à¸¢à¸à¸±à¹ˆà¸‡à¸à¹ˆà¸²à¸§à¹„ทยà¸à¸±à¸šà¸à¸±à¹ˆà¸‡à¸à¸±à¸™à¸”ามันมีต้นà¸à¸³à¹€à¸™à¸´à¸”à¹à¸•à¸à¸•à¹ˆà¸²à¸‡à¸à¸±à¸™ โดยà¸à¸±à¹ˆà¸‡à¸à¹ˆà¸²à¸§à¹„ทยเà¸à¸´à¸”จาà¸à¸à¸²à¸£à¸¢à¸à¸•à¸±à¸§ (emerged) ขà¸à¸‡à¹à¸œà¹ˆà¸™à¸”ิน ทะเลจึงค่à¸à¸™à¸‚้างตื้นเพียง 50 เมตร à¹à¸¥à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸•à¸°à¸à¸à¸™à¸”ินเลน ในขณะที่à¸à¸±à¹ˆà¸‡à¸à¸±à¸™à¸”ามันเà¸à¸´à¸”จาà¸à¸à¸²à¸£à¸ˆà¸¡à¸•à¸±à¸§ (submerged) ขà¸à¸‡à¹à¸œà¹ˆà¸™à¸”ิน จึงเà¸à¸´à¸”เป็นทะเลลึà¸à¸–ึง 3,000 เมตร ความลาดชันสูง à¹à¸¥à¸°à¸¡à¸µà¸—ี่ราบà¹à¸„บ ๆ
รู้หรืà¸à¹„ม่
ภาคใต้à¹à¸¥à¸°à¸à¹ˆà¸²à¸§à¹„ทย
เคยเป็นทุ่งหà¸à¹‰à¸²à¸¡à¸²à¸à¹ˆà¸à¸™
อ่านต่อ
ระหว่างยุคน้ำà¹à¸‚็งครั้งสุดท้ายเมื่à¸à¸«à¸¥à¸²à¸¢à¹à¸ªà¸™à¸›à¸µà¸–ึงหลายหมื่นปีà¸à¹ˆà¸à¸™ ระดับน้ำทะเลขà¸à¸‡à¹‚ลà¸à¹„ด้ลดลงจาà¸à¸£à¸°à¸”ับปัจจุบันลงไปถึง 120 เมตร ทำให้บริเวณà¸à¹ˆà¸²à¸§à¹„ทยà¸à¸¥à¸²à¸¢à¹€à¸›à¹‡à¸™à¹à¸œà¹ˆà¸™à¸”ินเชื่à¸à¸¡à¸•à¹ˆà¸à¸£à¸°à¸«à¸§à¹ˆà¸²à¸‡à¹€à¸à¸²à¸°à¸•à¹ˆà¸²à¸‡ ๆ
ที่เรียà¸à¸§à¹ˆà¸²à¹à¸œà¹ˆà¸™à¸”ินซุนดา (Sunda Shelf) à¹à¸¥à¸°à¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¸›à¹ˆà¸²à¹‚ดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูà¸à¸”้วยนมขนาดใหà¸à¹ˆà¸ªà¸²à¸¡à¸²à¸£à¸–เดินทางà¸à¸žà¸¢à¸žà¸¥à¸‡à¹„ปถึงบริเวณที่ปัจจุบันคืà¸à¹€à¸à¸²à¸°à¸šà¸à¸£à¹Œà¹€à¸™à¸µà¸¢à¸§ ชวาà¹à¸¥à¸°à¸ªà¸¸à¸¡à¸²à¸•à¸£à¸² à¹à¸•à¹ˆà¸à¹‡à¸¡à¸µà¸ªà¸±à¸•à¸§à¹Œà¸«à¸¥à¸²à¸¢à¸Šà¸™à¸´à¸” เช่น ไฮยีนา (ซึ่งสูà¸à¸žà¸±à¸™à¸˜à¸¸à¹Œà¹„ปจาà¸à¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่à¹à¸¥à¹‰à¸§) à¸à¸§à¸²à¸‡à¸›à¹ˆà¸²à¸à¹‡à¸à¸²à¸¨à¸±à¸¢à¸à¸¢à¸¹à¹ˆà¸à¸±à¸šà¸žà¸·à¹‰à¸™à¸—ี่ทุ่งหà¸à¹‰à¸²à¸ªà¸°à¸§à¸±à¸™à¸™à¸² à¹à¸¥à¸°à¹„ม่à¸à¸žà¸¢à¸žà¸œà¹ˆà¸²à¸™à¸¥à¸‡à¹„ปถึงป่าดิบชื้นทางภาคใต้ตà¸à¸™à¸¥à¹ˆà¸²à¸‡à¸¥à¸‡à¹„ป
ระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งเป็นแหล่งพักพิง
สำคัญของสิ่งมีชีวิตมากมาย
ในเมื่อเรารักและหวงแหนบ้านของเรา ดังนั้น
เราควรต้องช่วยกันคุ้มครองและรักษาบ้านของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ด้วย
ปัจจุบันมีองค์กรมากมายที่เข้ามามีบทบาทหน้าที่
ในการอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งและท้องทะเล
แต่ตัวเราเองก็สามารถช่วยกันอนุรักษ์ทะเล
ได้อีกหลายวิธีเช่นเดียวกัน
ไหนมาลองดูกันว่าเรามีส่วน ช่วยอนุรักษ์ชายฝั่งด้วยวิธีไหน
ได้บ้าง ?
BACK TO
SELECT ROUTE
กลับไปเลือกเส้นทางอีกครั้ง
กลับสู่หน้าหลัก
ความยาวของชายฝั่ง
อ่าวไทยมีความยาวชายฝั่ง รวม 2,055.18 กิโลเมตร
ทะเลอันดามันมีความยาวชายฝั่ง รวม 1,093.14 กิโลเมตร
อาณาเขต
อ่าวไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามลักษณะภูมิประเทศ คือ
- อ่าวไทยฝั่งตะวันออก เริ่มตั้งแต่จุดกึ่งกลางปากแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนจรดเขตแดนประเทศกัมพูชา
- อ่าวไทยฝั่งตะวันตก เริ่มตั้งแต่จุดกึ่งกลางปากแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนจรดเขตแดนประเทศมาเลเซีย
ทะเลอันดามัน
เป็นทะเลเปิดออกสู่มหาสมุทรอินเดีย เริ่มตั้งแต่ปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง ไปจนถึงช่องแคบมะละกา จรดเขตแดนมาเลเซียที่จังหวัดสตูล
ลักษณะของชายฝั่ง
ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยจะเป็นชายฝั่งทะเลแบบยกตัว
เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลก ทำให้บริเวณที่เคยจมอยู่ใต้น้ำโผล่เหนือผิวน้ำขึ้นมา รูปร่างของแนวชายฝั่งมักเรียบตรงไม่ค่อยเว้าแหว่งมาก
ชายฝั่งทะเลอันดามันจะเป็นชายฝั่งทะเลแบบยุบจม เกิดจากการยุบระดับต่ำของเปลือกโลก ชายฝั่งทะเลประเภทนี้มักเป็นหน้าผาชัน ไม่ค่อยพบที่ราบ และมีลักษณะเว้าแหว่งมาก
กระแสน้ำ
อ่าวไทย กระแสน้ำไหลเลียบแนวชายฝั่งจากใต้ขึ้นเหนือ
ทะเลอันดามัน กระแสน้ำไหลแรงในแนวเหนือ-ใต้ มากกว่าแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก และเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
ความใสของน้ำ
ทะเลอันดามันน้ำใสกว่าทะเลอ่าวไทย เนื่องจากทะเลอ่าวไทยได้รับตะกอนจากแม่น้ำหลายสาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำตาปี นอกจากนี้ ลักษณะของตะกอนที่พื้นผิวทะเลของอ่าวไทยประกอบด้วยตะกอนโคลนปนเศษเปลือกหอย มีสีเทาอมเขียว ดำ น้ำตาลเข้ม ตะกอนโคลนปนทรายและเลนในบางส่วน ในขณะที่ตะกอนของทะเลฝั่งอันดามันเป็นทรายและทรายปนโคลน ดังนั้น น้ำทะเลฝั่งอันดามันจึงใสกว่า
ความเค็มของน้ำทะเล
ทั้งอุณหภูมิน้ำ ความลึก และความหนาแน่นของมวลน้ำ ซึ่งทะเลในแต่ละบริเวณมีปัจจัยเหล่านี้ไม่เท่ากัน แม้จะเป็นทะเลเดียวกันอย่างทะเลอ่าวไทย แต่ก็ยังมีปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงยากที่จะระบุได้ว่า ทะเลฝั่งใดเค็มมากกว่ากัน
หญ้าทะเล
หญ้าทะเล ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
- ราก (Root) เป็นส่วนที่ใช้ดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุจากในดิน และช่วยในการยึดเกาะผืนดินอย่างมั่นคง
- เหง้า (Rhizome) เป็นส่วนของลำต้นที่คืบคลานไปใต้ผืนดิน
- ใบ (Leafblade) เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการใช้จำแนกชนิดของหญ้าทะเล
แพร่กระจายพันธุ์ของหญ้าทะเล
หญ้าทะเลขยายพันธุ์บริเวณน้ำตื้นของชายฝั่งทะเลเขตร้อน หญ้าทะเลสามารถสืบพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ
- สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกกิ่งก้านหรือยอดใหม่จากเหง้าหรือไรโซม (Rhizome)
- สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการผลิดอกและถ่ายละอองเกสรโดยใช้น้ำและคลื่นลมพัดพาไป เมื่อเกิดการปฏิสนธิ ดอกตัวเมียจะพัฒนาเป็นผล ซึ่งภายในมีเมล็ดที่ใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไป
พะยูนทำอะไรในแหล่งหญ้าทะเล ?
พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศหญ้าทะเล โดยจะเข้ามาหากินหญ้าทะเลที่ขึ้นห่างจากชายฝั่งประมาณ 1 กิโลเมตร ในช่วงที่น้ำทะเลกำลังขึ้น ทั้งกลางวันและกลางคืนเมื่อน้ำลง จะอาศัยอยู่ในร่องน้ำห่างจากชายฝั่งไปประมาณ 4–5 กิโลเมตร
สัตว์เศรษฐกิจ
หมายถึง สัตว์ที่มีปริมาณและศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ และนำรายได้เข้าสู่ประเทศ สัตว์เศรษฐกิจของไทย อาทิ ไก่ สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ทั้งในลักษณะแปรรูปหรือแช่แข็ง กุ้งกุลาดำ เป็นที่นิยมในการเพาะเลี้ยงและส่งออกได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น
ปะการังเป็นสัตว์ด้วยเหรอ ?
ปะการัง เป็นสัตว์ในกลุ่มใกล้เคียงกับแมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล และกัลปังหา แต่คนมักเข้าใจผิดว่าปะการังเป็นพืช เนื่องจากมีโครงร่างภายนอกแข็งเป็นหินปูน โดยปะการังสามารถสร้างขึ้นเองได้ ปะการังสามารถหาอาหารได้ด้วยหนวดที่มีเข็มพิษดักจับสัตว์ตัวเล็ก ๆ หนวดของปะการังจะโผล่ออกมาจากโครงร่างแข็งให้เห็นในช่วงกลางคืน แม้จะมีการดักจับสัตว์เล็กกินเป็นอาหาร แต่แหล่งพลังงานสำคัญที่แท้จริงของปะการังมาจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็กที่เรียกว่า ซูแซนเทลลี่ (Zooxanthellae) ซึ่งอาศัยอยู่ภายใต้เนื้อเยื่อของปะการัง สาหร่ายนี้สร้างอาหารได้มากพอสำหรับความต้องการของปะการังและตัวเอง จึงเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน
ปะการังจะสืบพันธุ์ในช่วงพระจันทร์เต็มดวง โดยจะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาผสมกันในกระแสน้ำ
เมื่อได้รับการผสม ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนที่มีลักษณะคล้ายหนอนตัวแบน ซึ่งจะล่องลอยไปหาพื้นผิวแข็งที่ว่างอยู่
เพื่อลงเกาะและพัฒนาเป็นกิ่งก้านปะการังต่อไป
ประเภทของปะการังที่พบในประเทศไทย
-
ปะการังโขด
มีลักษณะเป็นเหมือนก้อนหินฐานกว้าง ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลหรือเทา พบได้ทั่วไปและมีจำนวนมากที่สุดชนิดหนึ่ง สามารถทนต่อภัยธรรมชาติและแรงกระแทกจากลมมรสุม หรือแม้กระทั่งปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวได้ ดังนั้น ปะการังชนิดนี้จึงสามารถมีอายุยืนยาวได้หลายร้อยปี
- ปะการังดอกกะหล่ำ
มีโครงสร้างหินปูนเป็นก้อนหรือพุ่ม เป็นที่อยู่อาศัยของปู ปลาบู่ทะเล และหนอนทะเลบางชนิด โดยสัตว์เหล่านี้ใช้ปะการังดอกกะหล่ำเป็นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่หลบภัยจากศัตรู ปะการังดอกกะหล่ำหนึ่งกอ สามารถพบสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ได้มากกว่าร้อยตัว
- ปะการังเขากวางพุ่ม
มีโครงสร้างเป็นแบบพุ่ม อาจมีฐานยึดพื้นด้านใต้ที่แผ่ออกเป็นฐานให้กิ่งก้านเติบโต แต่ละช่องมีลักษณะเหมือนกลีบดอกไม้เรียงตัวสลับกันอย่างสวยงาม
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว
สภาวะฟอกขาว คือ สภาวะที่ปะการังขับสาหร่ายออกจากเนื้อเยื่อ เนื่องจากมีสภาพเครียดบางอย่าง ทำให้การอยู่ร่วมกันเกิดผลเสีย สภาพเครียดนี้อาจเป็นความผิดปกติของอุณหภูมิ ความเค็มของน้ำทะเล หรือปริมาณความเข้มของแสง ฯลฯ
การเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวทำให้ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญไป ทำให้ปะการังอ่อนแอ และถ้าหากทนต่อสภาวะนี้ไม่ได้ ก็อาจส่งผลให้ปะการังตายลงในที่สุด
หากเริ่มเกิดสภาวะปะการังฟอกขาว จะทำให้ปะการังในบริเวณเดียวกันค่อย ๆ ทยอยตายลงไป เมื่อแนวปะการังเสื่อมโทรมจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในแนวปะการัง โดยเฉพาะสังคมปลาและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยในแนวปะการัง
เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย
จากการทำประมงแบบเกินศักยภาพที่ธรรมชาติจะผลิตทดแทนได้ ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น จึงมีการกำหนดเครื่องมือประมงที่ห้ามใช้หรือมีไว้ในครอบครอง เพื่อลดการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ ดังนี้
- เครื่องมืออวนรุน ที่ใช้ประกอบกับเรือยนต์ ยกเว้นเครื่องมืออวนรุนที่เคยใช้ประกอบเรือยนต์ตามรูปแบบของเครื่องมือ ขนาดเรือ วิธีการทำประมง พื้นที่ทำการประมง และเงื่อนไขที่ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายกำหนด
- เครื่องมือโพงพาง รั้วไซมาน หรือกั้นซู่รั้วไซมาน เครื่องมือลี่ หรือเครื่องมืออื่นที่มีลักษณะและวิธีการคล้ายคลึงกัน
- เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร ซึ่งห้ามใช้ทำการประมงในเวลากลางคืน
- เครื่องมือลอบพับได้หรือไอ้โง่ ที่มีช่องทางเข้าของสัตว์น้ำสลับซ้ายขวาอยู่ทางด้านข้างเพื่อดักสัตว์น้ำ
- เครื่องมืออวนลากที่มีช่องตาอวนก้นถุงเล็กกว่า 5 เซนติเมตร
- เครื่องมือทำการประมงอื่นตามรูปแบบของเครื่องมือ วิธีการทำประมง พื้นที่ทำการประมง ขนาดของเรือที่ใช้ประกอบการทำการประมง และเงื่อนไขอื่นที่ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายกำหนด
ชาวอุรักลาโว้ย
“ชาวอุรักลาโว้ย” ที่คนต่างกลุ่มมักเรียกว่า “ชาวเล” เป็นชาติพันธุ์ที่อาศัยร่อนเร่อยู่ตามทะเลฝั่งอันดามันของไทย โดยมักพักอาศัยอยู่บนเกาะตั้งแต่ช่องแคบมะละกาขึ้นไปจนถึงหมู่เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ เกาะบุโหลน เกาะพีพี เกาะจำ และเกาะลันตา แต่เดิมชาวอุรักลาโว้ยเป็นชนเผ่าใหญ่ในประเทศมาเลเซีย แต่เกิดความขัดแย้งทางศาสนา จึงต้องย้ายถิ่นฐานมายังบริเวณหมู่เกาะในทะเลอันดามันของไทย ชาวอุรักลาโว้ยทำมาหากินโดยการทำประมงแบบตกเบ็ด ดำน้ำแทงปลา หาหอย และล่าสัตว์ทะเลเป็นอาหาร อยู่อาศัยกันเป็นครอบครัวเดี่ยว อุรักลาโว้ยจะใช้เรือเป็นทั้งยานพาหนะ เครื่องมือทำมาหากิน และที่อยู่อาศัย ผู้ชายแต่งกายโดยการนุ่งผ้าขาวม้าหรือกางเกงเล เปลือยท่อนบน ส่วนผู้หญิงมักนุ่งผ้าปาเต๊ะกับกระโจมอก
ปัจจุบัน ชาวอุรักลาโว้ยปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทั้งวิธีการหาปลาที่เปลี่ยนจากแบบดั้งเดิมเป็นการเช่าซื้ออวนและเรือหางยาว พร้อมเครื่องจากนายทุนเพื่อหาปลา แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ทันสมัย และอาศัยอยู่ในบ้านแบบก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องหรือสังกะสี
ห่วงโซ่อาหาร
ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) คือ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่มีการบริโภคต่อกันเป็นทอด ๆ เพื่อถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย
สิ่งมีชีวิตสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง ดังนั้น ในระบบนิเวศหนึ่งสามารถมีห่วงโซ่อาหารได้หลายห่วงโซ่ซึ่งอาจเชื่อมโยงกัน เรียกว่า สายใยอาหาร (Food web)
เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตที่ควรมีมากที่สุด คือ ผู้ผลิต แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่ควรมีสิ่งมีชีวิตใดในจำนวนที่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ห่วงโซ่อาหารเสียสมดุล และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เป็นทอด ๆ
ไม่ใช่นะจ๊ะ
เกาะมันใน เป็นเกาะในเขตจังหวัดชลบุรี อยู่ในฝั่งอ่าวไทยจ้า นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลและแหล่งฟื้นฟูปะการังอีกด้วย
ไม่ใช่นะจ๊ะ
เกาะยอ เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา และอยู่ในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ ไม่อยู่ในเขตชายฝั่งจ้า
ถูกต้องนะคร้าบ
เกาะลิบง เป็นเกาะหนึ่งในเขตจังหวัดตรัง เป็นที่ชุมนุมของสัตว์น้ำคุ้มครองอย่างพะยูน และเป็นจุดชุมนุมของนกทะเลจำนวนมากที่อพยพหนีหนาวมาพักพิงที่นี่ด้วย
ไม่ใช่นะจ๊ะ
เกาะกระดาด เป็นเกาะที่อยู่ในเขตจังหวัดตราด อยู่ในฝั่งอ่าวไทยจ้า เกาะนี้มีภูมิประเทศที่แตกต่างจากเกาะทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นพื้นที่แบนราบกลางทะเล พืชพันธุ์ที่ขึ้นบนเกาะเป็นแบบทุ่งหญ้าสะวันนา และที่แห่งนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงกวางนับพันตัวอีกด้วย
ไม่ใช่นะจ๊ะ
ไรแดงนับเป็นแพลงก์ตอนชนิดหนึ่งนะ และเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ในตระกูลครัสเตเชียน อาศัยอยู่ในน้ำจืด เป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์น้ำจืด น้ำเค็ม และนิยมนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงาม นอกจากนี้ ยังเป็นตัวช่วยบำบัดน้ำเสียและบ่งบอกคุณภาพของน้ำได้อีกด้วย
ไม่ใช่นะจ๊ะ
แมงกะพรุนนับเป็นแพลงก์ตอนชนิดหนึ่งนะ โดยจัดอยู่ในประเภทแพลงก์ตอนสัตว์ เพราะเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ลอยไปตามกระแสน้ำ แม้จะใช้ชีวิตโดยการลอยล่องในน้ำไปเรื่อย ๆ แมงกะพรุนก็นับเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่อยู่รอดมายาวนานถึง 600 ล้านปี
ไม่ใช่นะจ๊ะ
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นแพลงก์ตอนชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในประเภทแพลงก์ตอนพืช
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นแพลงก์ตอนพืชกลุ่มนึงที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดการสาหร่ายบลูม (Algal bloom) ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ซึ่งหมายถึงปรากฏการณ์ที่แหล่งน้ำมีธาตุอาหารมากเกินไป จนสาหร่ายหรือแพลงก์ตอนพืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้มาจากการใช้สารเคมีในแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ ปรากฏการณ์นี้เป็นอันตรายต่อสัตว์และมนุษย์ที่บริโภคหรือสัมผัสน้ำที่ได้รับปฏิกิริยาจากแพลงก์ตอนชนิดนี้ด้วยนะ
ถูกต้องนะคร้าบ
กุ้งไม่นับว่าเป็นแพลงก์ตอน แต่ถือเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถ้าหากเป็นตัวอ่อนของกุ้งที่มีขนาดเล็ก ก็นับได้ว่าเป็นแพลงก์ตอน เพราะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยกระแสน้ำพัดพาไป
ลักษณะทั่วไป
เป็นหอยฝาเดียวที่อาศัยในทะเล ความพิเศษของหอยชนิดนี้ไม่ใช่แค่ความสวยงาม แต่ยังมีพิษสงที่ร้ายกาจ โดยจะใช้เข็มพิษแทงเหยื่อ เพื่อให้เหยื่อเป็นอัมพาตหรือตายก่อนเข้าจัดการกินเหยื่อ
“หอยเต้าปูน” มีพิษรุนแรงจนทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้ภายในเวลาเพียง 15 นาที
ลักษณะทั่วไป
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วิวัฒนาการจากบนบกกลับไปอาศัยอยู่ในทะเล มีลักษณะลำตัวคล้ายกับวาฬและโลมา ซึ่งคล้ายกับปลา ขาคู่หน้าได้เปลี่ยนไปเป็นครีบรูปใบพาย ส่วนขาคู่หลังลดรูปหายไป มีส่วนหางแบนกว้าง ไม่มีครีบหลัง เพศเมียมีเต้านมอยู่ที่ฐานครีบ
พะยูนเป็นสัตว์กินพืชที่มีบรรพบุรุษร่วมกับกลุ่มช้าง กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร มีนิสัยรักสงบ ไม่ดุร้าย เป็นสัตว์สัญลักษณ์ของจังหวัดตรัง โดยมีความร่วมมือของภาครัฐและประชาชนในการร่วมกันอนุรักษ์พะยูน ซึ่งปัจจุบันพะยูนถูกจัดสถานภาพโดย IUCN ให้อยู่ในระดับมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
ลักษณะทั่วไป
เป็นปูขนาดใหญ่ กระดองโค้งนูนเป็นรูปไข่ในแนวขวาง ผิวกระดองเรียบมัน เบ้าตามีขนาดเล็ก ขอบข้างกระดองเรียบไม่มีหนาม ตอนปากปิดมีช่องว่างคล้ายรูปว่าวที่ตรงกลาง ด้านข้างปากไม่มีปื้นขน ก้ามมีขนาดใหญ่ ทั้งตัวมีสีน้ำตาล
ปูไก่จัดอยู่ในกลุ่มปูบก ซึ่งสามารถอาศัยอยู่บนบกได้นาน ต้องการลงน้ำไปเพื่อเปลี่ยนน้ำในเหงือกแค่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นส่วนของก้นรูที่ปูขุดเพื่อพักอาศัย รูของปูจึงต้องมีน้ำใต้ดินหล่อเลี้ยงอยู่ด้านล่าง วงจรชีวิตช่วงแรกของปูไก่จะต้องล่องลอยเป็นแพลงก์ตอนอยู่ในทะเล เนื่องจากแม่ปูจะออกไข่ในน้ำที่บริเวณชายฝั่ง ลูกปูจะหากินและลอกคราบหลายครั้ง ก่อนมีหน้าตาเหมือนพ่อแม่ปูขนาดย่อส่วน จึงขึ้นจากบกเข้าไปป่าชายฝั่ง และหากินเติบโตกลายเป็นพ่อแม่ปูชุดใหม่
ลักษณะทั่วไป
ตัวเต็มวัยยาวได้ถึง 2.27 เมตร แต่โดยทั่วไปยาวน้อยกว่า 2 เมตร น้ำหนัก 70-100 กิโลกรัม หัวกลมหลิมเหมือนบาตรพระ ไม่มีจะงอยปาก หลังเรียบไม่มีครีบหลัง ครีบข้างค่อนข้างใหญ่ปลายแหลม ฟันในปากจะเป็นตุ่ม ไม่แหลมคม
พบได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล โดยพบมากที่สุดในฝั่งอ่าวไทย มักอยู่ตัวเดียวหรือ 2 ตัว หรืออาจรวมฝูง 10-20 ตัว ในบริเวณที่มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ กินกุ้ง หมึก และปลาขนาดเล็กตั้งแต่ผิวน้ำถึงพื้นท้องน้ำ
ลักษณะทั่วไป
นกขนาดเล็กมาก คล้ายนกนางแอ่นบ้าน แต่หน้าผากมีสีน้ำตาลแดงมากกว่า และไม่มีลายแถบที่อก คอและอกมีสีน้ำตาลเหลือง หางสั้น ขนหางคู่นอกยาวเลยออกไปเล็กน้อย
อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล บินฉวัดเฉวียนโฉบหากินแมลงในอากาศ โดยเฉพาะกลุ่มแมลงวัน
ลักษณะทั่วไป
กระดองแบนราบและกว้างกว่าแมงดาถ้วย หางมีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาเป็นสามเหลี่ยม มีสันซึ่งมีหนามเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวตามความยาวอยู่ตรงกลางด้านบนของหาง กระดองกว้างไม่เกิน 25 เซนติเมตร ยาวประมาณ 35–40 เซนติเมตร สีกระดองอ่อนกว่าแมงดาถ้วย
ขนาดกระดองของแมงดาจานใหญ่ประมาณจานข้าวใบใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ แมงดาจานกระจายทั่วไปตามชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย จัดเป็นแมงดาที่นำมารับประทานได้
ลักษณะทั่วไป
กระดองกลมและนูนเหมือนถ้วยคว่ำ
มีสีเขียวเหลือบเหลืองคล้ำ หัวโค้งกลม
หางเรียวยาวเป็นทรงกลม ความยาวรวมหาง
ประมาณ 40 เซนติเมตร
พบทั่วไปตามชายฝั่งทะเลมหาสมุทรอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ในประเทศไทยพบได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล ทั้งเนื้อและไข่มีพิษทุกฤดูกาล จึงไม่ควรนำมาบริโภค โดยพิษเกิดจากการที่ตัวแมงดาไปกินแพลงก์ตอนที่มีพิษเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ และพิษจากแบคทีเรียในลำไส้ของตัวแมงดาจึงสร้างพิษขึ้นมาเอง
ลักษณะทั่วไป
เป็นหมึกสายขนาดเล็กและมีวงแหวนชนิดเรืองแสงสีฟ้าอยู่บนลำตัวและหนวด ความยาวลำตัว 40 มิลลิเมตร ความยาวของหนวดมากกว่าความยาวลำตัว 1.5–2.5 เท่า ลำตัวเป็นถุงกลม ท้ายแหลม ลำตัวมีสีน้ำตาลมีจุดสีฟ้าเป็นวงแหวน
จัดเป็นผู้ล่าที่สำคัญเพราะมีพิษที่ร้ายแรง ทำหน้าที่ควบคุมประชากรสิ่งมีชีวิตในทะเลได้ และเป็นหมึกที่หายากใกล้สูญพันธุ์
ลักษณะทั่วไป
คล้ายหอยมือเสือชนิดอื่น มีเนื้อเยื่อนอกฝาหอยหรือแมนเทิลยื่นออกมา มีขนาดความกว้างของเปลือกประมาณ 40 เซนติเมตร
การที่หอยมือเสือใช้ประโยชน์จากสาหร่ายซูแซนเทลลีในการสังเคราะห์แสง ดูดซึมเอาสารต่าง ๆ รวมทั้งของเสีย สิ่งที่ขับถ่ายจากสัตว์อื่นในระบบนิเวศ ตะกอนในน้ำ มาสังเคราะห์เป็นอาหาร ทำให้หอยมือเสือทั้งสร้างอาหารและกำจัดของเสียในน้ำไปพร้อม ๆ กัน ทำให้น้ำบริเวณนั้นใสสะอาดขึ้น ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์
ลักษณะทั่วไป
ความยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 22 เซนติเมตร ลำตัวสีเข้มจนเกือบดำ และมีจุดสีฟ้ากระจายอยู่ทั่วตัว ซึ่งบ่งบอกอารมณ์ของปลาได้อีกด้วย
พบในป่าชายเลน ใช้ครีบอกที่แข็งแรงไถลหรือเดินตามพื้นเลนและกระโดดได้ และใช้ชีวิตอยู่บนบกได้เป็นเวลานาน บางพื้นที่ปลาตีนถูกจับมากินและเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม