ROUTE 4

THAI
PENNINSULA

0/2

ภาคใต้ แหล่งรวมชีวิตคาบสมุทรไทย

เลื่อนลงเพื่อดูต่อ ↓

ชีวิตในดินแดน
คาบสมุทรไทย

เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

จากการศึกษาพบว่าสรรพชีวิต
ในดินแดนคาบสมุทรไทยน่าจะมีมาตั้งแต่

500 ล้านปีที่แล้ว

เป็นอย่างน้อย

รอยอดีตของชีวิต
ในคาบสมุทรไทยยุคดึกดำบรรพ์

อาจจะเห็นชัดเจนที่นี่ อุทยานธรณีสตูล ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ
ของจังหวัดสตูล ได้แก่ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และเมืองสตูล

พบหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีมาแล้ว นั่นคือ

“ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเล
อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย”

ในหินทรายสีแดงบนเกาะตะรุเตา ตรงกับยุคแคมเบรียน (Cambrian)
ธรณีกาล ในยุคแรกของมหายุคพาเลโอโซอิก (Paleozoic)

ยุคของ “แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียว”
รวมถึงสัตว์มีกระดองต่าง ๆ ได้เกิดขึ้น
และอาศัยอยู่ในทะเล

แผ่นดินบริเวณนี้ยังจมอยู่ใต้ทะเล แม้แต่ไดโนเสาร์และมนุษย์
ก็ยังไม่ถือกำเนิดขึ้นมา นอกจากนี้ ยังพบซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ
อีกเป็นจำนวนมาก

ตั้งแต่
444 ล้านปีก่อน

ในช่วงต้นยุคเพอร์เมียน (Permian) คาบสมุทรไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของอนุทวีปชานไทยก็ได้แยกตัวออกจากแผ่นทวีปกอนด์วานา (Gondwana) ที่อยู่ทางซีกโลกใต้ เคลื่อนที่ขึ้นมาชนกับแผ่นทวีปอินโดจีน (Indochina) ที่เป็นภาคอีสานของไทยเมื่อช่วงปลายยุคไทรแอสซิก (Triassic) ผ่านการเวลา และการเคลื่อนตัวทางธรณีวิทยา จนมาถึงปัจจุบัน ที่มีความหลากหลายทั้งซากดึกดำบรรพ์และสิ่งมีชีวิต

ต่อมา ถ้ำกลายเป็น
“บ้านหลังแรกของมนุษย์”

มีการค้นพบเครื่องมือที่ทำจากกระดูกสัตว์และซากกระดูกสัตว์ในถ้ำที่มีความสูงจากพื้นดินกว่า 30 เมตร สันนิษฐานได้ว่า เริ่มมีมนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่ 6,000 ปีก่อน

การค้นพบสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็น
ซากดึกดำบรรพ์หรือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบริเวณ “อุทยานธรณีสตูล”

สะท้อนให้เห็นว่า ณ คาบสมุทรไทย
มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลาย
ทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต

ตั้งแต่เมื่อหลายร้อยล้านปีถึงปัจจุบัน

เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า คาบสมุทรไทยมีความเป็นมาหลายร้อยล้านปีแล้ว
และหลายชีวิตได้พึ่งพาอาศัยทุกชีวิตบนพื้นที่แห่งนี้มาอย่างยาวนาน
เมื่อ“อุทยานธรณีสตูล” สะสมความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์

จึงกลายเป็นแหล่งสำคัญ
ด้านธรรมชาติวิทยาอีกแห่งที่น่า
ค้นหาในคาบสมุทรไทย

และเป็นอีกพื้นที่ศึกษาของ “พวกเรา”

นักอนุกรมวิธาน

จากพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
แต่ยังมีพื้นที่อื่น ๆ อีกมากมายที่เราได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับ
คาบสมุทรไทย เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่วงกว้าง

500 ล้านปี สู่ 6,000 ปี
จากยุคดึกดำบรรพ์ สู่ยุคมนุษย์ถ้ำ

โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สิ่งมีชีวิต
เกิดวิวัฒนาการและการปรับตัว เพื่อให้อยู่รอดในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ
บางชนิดก็สูญพันธุ์ บางชนิดก็อยู่ในเฉพาะถิ่น

แต่ก็มีสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้
ในทุกสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะสัตว์ที่มีขนาดเล็กอย่าง

แมลง

ที่มีถิ่นอาศัยกระจายอยู่ทั่วโลก

หนึ่งในนั้นคือ

“แมลงหางดีด”

แมลงที่มีวิวัฒนาการเก่าแก่ที่สุด มีการพบฟอสซิล
แมลงหางดีดที่มีอายุย้อนกลับไปถึง 411 ล้านปีซึ่ง
ตรงกับยุคดีโวเนียน (Devonian)

แมลงหางดีดจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ขาปล้อง
ไม่มีปีก มีรูปร่างขนาดเล็กความยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
มีความพิเศษ คือ หางซึ่งใช้ในการดีดตัวเพื่อเคลื่อนที่
เมื่อตกใจหรือใช้หลบหนีศัตรู มีคอลโลฟอร์
(Collophore) หรือติ่งที่ยื่นออกมาจากท้องปล้องแรก
มีหน้าที่ควบคุม สมดุลของเหลวในร่างกาย
และช่วยในการยึดเกาะ

บทบาทสำคัญของแมลงหางดีด

คือ ช่วยย่อยสลายซากอินทรียวัตถุต่าง ๆ ทำให้มีการหมุนเวียน
ของธาตุอาหาร ช่วยปรับโครงสร้างของดิน และมีบทบาทสำคัญ
ในห่วงโซ่และสายใยอาหาร

มีรายงานการค้นพบแมลงหางดีด
กว่า 9,000 ชนิดทั่วโลก

แต่เพราะพวกมันมีขนาดเล็กและมีข้อมูลอ้างอิงจำกัด จึงมีการศึกษาแมลงชนิดนี้ไม่มากนัก

แต่พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี

มีนักอนุกรมวิธาน
ที่ศึกษากลุ่มแมลงหางดีด

ซึ่งเป็นแมลงโบราณที่เป็นรอยต่อของวิวัฒนาการที่สำคัญระหว่าง
สัตว์ขาปล้องในกลุ่มครัสเตเชีย (Crustacea) ซึ่งส่วนใหญ่อาศัย
อยู่ในน้ำกับกลุ่มแมลงที่แท้จริง (Entognatha) ซึ่งอาศัยอยู่บนบก

แมลงหางดีดบางชนิดเป็นตัวบ่งชี้
ความสำคัญของคอคอดกระ

ที่เป็นรอยต่อสำคัญในการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตตามหลัก
สัตว์ภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แมลงหางดีดจัดว่า เป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการปรับตัวได้สูง

คาบสมุทรไทยมีการค้นพบแมลงหางดีด
ในถ้ำกว่า 90 ชนิด บางชนิดพบได้เฉพาะ
ถ้ำในภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น

มีคำกล่าวว่า “ถ้ำ”
เป็นเสมือนเกาะแห่งความ
หลากหลายทางชีวภาพ

คลิกรับข้อมูลเพิ่มเติม

ในบรรดาสิ่งมีชีวิต
หลากหลายสายพันธุ์ ที่อาศัยบนโลกนั้น

เริ่มต้นจากในทะเล
ก่อนที่จะมีวิวัฒนาการต่อเนื่อง
เรื่อยมาจนถึงบนบก

สิ่งมีชีวิตอย่าง “มนุษย์”
เพิ่งถือกำเนิดและมีวิวัฒนาการมาไม่นาน
หากเทียบกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ

จากการศึกษาพบว่า
สายพันธุ์มนุษย์มีต้นกำเนิดมาจาก
กลุ่มไพรเมต (Primate)

ต่อมาวิวัฒนาการจากกลุ่มลิงไม่มีหางจำพวกชิมแปนซี
และกว่าจะมาเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันยังมี
มนุษย์สายพันธุ์อื่น ๆ ที่ได้ถือกำเนิดและมี
วิวัฒนาการขึ้นมาก่อนอีกด้วย

มนุษย์โฮโมเซเปียนส์
(Homo sapiens)

คือ บรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันมีวิวัฒนาการในช่วง
200,000 ปีที่แล้วตรงกับยุคไพลส์โตซีน (Pleistocene)
หรือ 1.8 ล้านปี ถึง 1 หมื่นปีก่อน

บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันกระจายกันอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ
ทั่วโลก โดยเริ่มจากทวีปแอฟริกาในประเทศไทยพบหลักฐาน
ของมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดกระบี่

บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันสายพันธุ์นี้
จัดว่าฉลาดหลักแหลมกว่ามนุษย์รุ่นอื่นๆ
หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

นอกจากความแตกต่างทางกายภาพแล้ว ก็มีสมองขนาดใหญ่
บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันจึงสามารถปรับตัวและสร้างสรรค์
สิ่งต่าง ๆ เป็นที่มาของชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โฮโมเซเปียนส์
ในภาษาละตินแปลว่า “มนุษย์ฉลาด”

สงสัยไหม ?

“มนุษย์โฮโมเซเปียนส์” มีวิวัฒนาการ
ร่วมสมัยกับสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ใดบ้าง ?

คำตอบคือ ไม่มีเลย

เพราะสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมากมายถือกำเนิดและดำรงชีวิตมานานก่อนที่จะมีมนุษย์เสียอีก ซึ่งสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์มีการปรับตัวมานาน กว่าร้อยล้านปี

มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ที่เพิ่งกำเนิดขึ้น เมื่อ 200,000 ปีที่แล้ว จึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตยุคดึกดำบรรพ์ลำดับท้าย ๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้นั่นเอง

เคยสงสัยหรือไม่

ทำไมเราจึงพบสิ่งมีชีวิตหลายชนิดกระจาย
อยู่ทั่วโลก สิ่งมีชีวิตเดินทางจนไปถึงอีก
ซีกโลกได้อย่างไร ?

ที่จริงแล้ว
สิ่งมีชีวิตอาจจะอาศัยหรือวิวัฒนาการ
อยู่กับที่ แต่สิ่งที่เคลื่อนที่ คือ
“แผ่นเปลือกโลก” ต่างหาก

รู้หรือไม่

แผนที่โลกยุคปัจจุบันไม่เหมือนในอดีตนะ

ว่ากันว่ารูปร่างโค้งเว้าของแต่ละทวีปสามารถประสานกันเป็นผืนเดียวได้
มีการค้นพบซากฟอสซิลที่เหมือนกันในต่างทวีปหรือพบสิ่งมีชีวิตที่
เหมือนกันในทวีปที่ห่างไกลกัน

จึงเกิดทฤษฎีว่า โลกเคยมีเพียงทวีปเดียวเรียกว่า
“พันเจีย” (Pangaea)
ประกอบด้วย “ลอเรเซีย” (Laurasia) ดินแดนทางตอนเหนือ และ
“กอนด์วานา” (Gondwana) ดินแดนทางตอนใต้
ก่อนที่แผ่นเปลือกโลกจะค่อย ๆ
เคลื่อนที่จนมีรูปร่างหน้าตาแบบแผนที่ที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน

ตลอดระยะเวลาหลายล้านปี

โลกไม่เคยหยุดนิ่ง

การเคลื่อนตัวของแมกมา (Magma) ที่อยู่ใต้ชั้นเปลือกโลก
ทำให้แผ่นเปลือกโลกไม่เคยหยุดเคลื่อนไหว

แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ปีละ 4 เซนติเมตร เท่ากับต้องใช้เวลา ประมาณ 500 ล้านปี ในการเคลื่อนที่ไปยังอีกซีกโลก ทำให้ทวีปต่าง ๆ ค่อย ๆ แยกออกจากกัน เราเรียกว่า “กระบวนการแปรสัณฐาน ของเปลือกโลก” (Plate tectonic)

กระบวนการแปรสัณฐานของเปลือกโลก
ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ
ที่แตกต่างกันออกไป

ไม่ว่าจะเป็น ภูเขา หุบเหว แอ่งขนาดใหญ่อย่างทะเล
มหาสมุทร และอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ กระบวนการ
แปรสัณฐานของเปลือกโลก

ยังก่อให้เกิดแรงอัด แรงดึง และแรงเฉือนในชั้นหิน
ทำให้เกิดรอยคดโค้ง รอยเลื่อน ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติอย่าง
แผ่นดินไหว สึนามิ หรือภูเขาไฟระเบิด ได้เช่นกัน

หน้าตาของแผนที่โลก
ที่เราคุ้นเคยในปัจจุบันมีลักษณะ
ใกล้เคียงกับโลกเมื่อ 150 ล้านปีที่ผ่านมา

และยังคงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ โดยที่มนุษย์อาจไม่ทันรู้สึก

กำเนิดประเทศไทย

ปัจจุบัน โลกของเรามีแผ่นเปลือกโลก ที่สำคัญ 13 แผ่น
และยังมีแผ่นเปลือกโลกอีกหลายขนาดซึ่งเป็นที่ตั้งของ
แผ่นดินน้อยใหญ่

ประเทศไทยประกอบด้วย
แผ่นเปลือกโลกขนาดเล็ก
เชื่อมกัน 2 แผ่น

คือ แผ่นเปลือกโลกชาน-ไทยและแผ่นเปลือกโลกอินโดจีน ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานาดินแดนทางตอนใต้ของโลก

เดิมแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นนี้ ไม่ได้อยู่ติดกัน จนเมื่อช่วงปลายยุคไทรแอสซิก เมื่อประมาณสองร้อยกว่าล้านปีที่ผ่านมา ได้เคลื่อนตัวมาชนกัน กลายเป็น “คาบสมุทรมลายู” และเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชียเมื่อ 50-75 ล้านปีก่อน แผ่นดินไทยในคาบสมุทรมลายู ก็ค่อย ๆ เคลื่อนตัวมาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน

แผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย
ครอบคลุมบริเวณคาบสมุทรไทย
หรือภาคใต้

รวมถึงภาคเหนือ ภาคตะวันตก ตลอดจนบางส่วนของมาเลเซีย
และตอนเหนือของเกาะสุมาตรา

แผ่นเปลือกโลกอินโดจีน ครอบคลุมบริเวณภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทย

ในอดีต พื้นที่แห่งนี้เป็นแอ่งใหญ่รับตะกอนจากแม่น้ำหลายสายซึ่งเกิดจากภูเขา
ที่ยกตัวขึ้นในยุคก่อน ทำให้เกิดการสะสมตัวของกลุ่มหินทรายเป็นชั้นหนา

ในคาบสมุทรไทย มี 2 รอยเลื่อยสำคัญ คือ

รอยเลื่อนระนอง และ
รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย

ซึ่งเป็นรอยเลื่อนมีพลังที่ยังมีโอกาสในการเคลื่อนตัวได้อีกครั้ง
และมีแนวโน้มที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้ในอีก 10-100 ปี

ปัจจุบันมนุษย์ยังไม่สามารถคาดการณ์เรื่องแผ่นดินไหวได้อย่างแม่นยำ
การรู้จักรอยเลื่อนจึงเป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ในการรับมือกับปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงต้องศึกษา
เรื่องธรรมชาติในมิติต่าง ๆ

ความหลากหลายทาง
ภูมิประเทศของภาคใต้

ส่วนหนึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกร่วมกับ
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
กลายเป็นความโดดเด่นของคาบสมุทรไทย

คาบสมุทรไทยไม่มีฤดูหนาว

มีภูมิอากาศร้อนชื้นแบบมรสุม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้
และตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี มีแผ่นดินที่แคบและยาว
ขนาบข้างด้วยทะเลทั้งสองฝั่ง คือ

ฝั่งอ่าวไทย

เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกทำให้มีที่ราบหรือสันทรายหลายแห่ง

ฝั่งอันดามัน

เกิดจากการทรุดตัวของเปลือกโลกทำให้มีที่ราบแคบและมีเกาะแก่งมาก

มีที่ราบยาวขนานไปกับแนวเทือกเขา

คาบสมุทรไทยมีแนวเทือกเขาสำคัญทอดตัวยาวในแนวเหนือ–ใต้
คือ เทือกเขานครศรีธรรมราช เปรียบเสมือนแกนกลางของภาค
อยู่ทางฝั่งตะวันออกยาวจรดมาเลเซีย เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทาง
ฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ นอกจากนี้ ยังมีเทือกเขา
สันกาลาคีรี กั้นพรมแดนไทยกับมาเลเซีย เทือกเขาตะนาวศรี
กั้นพรมแดนไทยกับพม่า ระหว่างเทือกเขาดังกล่าวจะประกอบด้วย
ภูเขาจำนวนมากที่เรียงตัวต่อเนื่องกันไป

มีแม่น้ำสายสั้น ๆ

ที่สำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่าวไทย อาทิ
แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำชุมพร เป็นต้น

มีแหล่งเก็บน้ำจืดขนาดใหญ่

อย่างทะเลสาบสงขลา

คาบสมุทรไทยกลายเป็นแหล่งรวม
ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์
ที่มีทั้ง ภูเขา ป่า ที่ราบ ที่ชุ่มน้ำ
ชายฝั่ง จรดท้องทะเลลึก

ส่งผลให้มีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ภาคใต้
โดยสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต่างต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ของคาบสมุทรที่มีสภาพไม่คงที่

ส่งผลให้ที่นี่เป็นแหล่งรวมของ
สิ่งมีชีวิต ซึ่งบางชนิดสามารถพบได้
เฉพาะที่คาบสมุทรไทยเท่านั้น

10 สิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจ
ที่พบในคาบสมุทรภาคใต้

หาดูได้ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี

ค่างแว่นถิ่นใต้

วงศ์ : Cercopithecidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trachypithecus obscrurus
ชื่อสามัญ : Dusky leaf monkey

ค้างคาวแวมไพร์แปลงทองอารีย์

วงศ์ : Megadermatidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eudiscoderma thongareeae
ชื่อสามัญ : Thongaree’s Disc-nosed Bat

ค้างคาวท้องสีน้ำตาลอาจารย์จุฑามาส

วงศ์ : Vespertilionidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eptesicus chutamasae
ชื่อสามัญ : Chutamas’s serotine

ค้างคาวจมูกหลอดหูสั้นใต้

วงศ์ : Vespertillionidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murina guilleni
ชื่อสามัญ : Guillen’s tube-nosed bat

ปูเขาหินปูนทุ่งหว้า

วงศ์ : Potamidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terrapotamon thungwa

ปูกระดุมท้ายสี่จุด

วงศ์ : Leucosiidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coleusia huilianae

แมลงวันขายาวปากหนาถิ่นลังกาวี

วงศ์ : Dolichopodidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thinophilus langkawensis

แมลงวันขายาวปีเตอร์อาจารย์จุฑามาส

วงศ์ : Dolichopodidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ngirhaphium chutamasae

ไรน้ำก้นหยัก

วงศ์ : Branchiopoda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Karualona serrulata

แมลงหางดีดขนนกสงขลา

วงศ์ : Paronellidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyphoderus songkhlaensis

5 ข้อเท็จจริงของคาบสมุทรไทย

ที่คุณอาจไม่เคยรู้

รู้หรือไม่

คาบสมุทรไทยก็มีไดโนเสาร์

อ่านต่อ

รู้หรือไม่

อ่าวไทยเคยเป็นผืนดินกว้างใหญ่มาก่อน

อ่านต่อ

รู้หรือไม่

คาบสมุทรไทย ตัวขวางกั้นทางภูมิศาสตร์ของสัตว์ทะเล

อ่านต่อ

รู้หรือไม่

ค้างคาวสามารถ “มองเห็น” โดยใช้เสียง และไม่ใช่แค่เสียงโซนาร์

อ่านต่อ

รู้หรือไม่

คาบสมุทรไทยเป็น
ทางแยกของสังคมสิ่งมีชีวิต

อ่านต่อ

ความจริงแล้ว สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก ไม่ได้มีความพิเศษ
กว่าสิ่งมีชีวิตที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวันแต่อย่างใด

คำว่า “ชนิดใหม่” (New species)

เป็นเพียงคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยมีนักอนุกรมวิธานพบและบันทึก
เพื่อเผยแพร่มาก่อน แต่คนในท้องถิ่นอาจพบเห็นอยู่แล้วเป็นปกติก็ได้

สิ่งมีชีวิตที่ค้นพบโดยนักวิจัยจากพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา
๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี ยังมีอีกหลายชนิด

คาบสมุทรไทย

จึงเป็นขุมทรัพย์ความรู้ทางธรรมชาติ
ของประเทศอีกแห่ง ที่มีเรื่องให้เรียนรู้อย่างไม่มีวันจบ

BACK TO

SELECT ROUTE

กลับไปเลือกเส้นทางอีกครั้ง

กลับสู่หน้าหลัก
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save