ความร่วมมือ

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.ร่วมถ่ายทำและโปรโมทงานเทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุงผ่านสื่อ ThaiPBS ร่วมกับนักเรียนและผู้ปกครองจากโรงเรียนบ้านดินพินรพี จังหวัดพัทลุง

🎥📺 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.ร่วมถ่ายทำและโปรโมทงานเทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุงผ่านสื่อ ThaiPBS ร่วมกับนักเรียนจากโรงเรียนบ้านดินพินรพี นำโดย ดร.กิตติชัย ทองเติม อาจารย์วิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ บรรยายให้ความรู้แก่เด็กๆ ณ วัดภูเขาทอง ตำบลมะกอกเหนือ จังหวัดพัทลุง ซึ่งงานเทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุง จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารซากดึกดำบรรพ์ ๕๐๐ ล้านปี เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.ร่วมถ่ายทำและโปรโมทงานเทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุงผ่านสื่อ ThaiPBS ร่วมกับนักเรียนและผู้ปกครองจากโรงเรียนบ้านดินพินรพี จังหวัดพัทลุง Read More »

มาแล้ว!! เทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุง (Phatthalung Fossil Festival)

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.และกรมทรัพยากรธรณี ขอเชิญน้องๆ สถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ และผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมงาน “เทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุง (Phatthalung Fossil Festival)” ในโครงการการเผยแพร่แนวทางการเชื่อมโยงแหล่งมรดกธรณีกับการบูรณาการการท่องเที่ยว จัดขึ้นวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 19.00 น. ณ อาคารซากดึกดำบรรพ์ ๕๐๐ ล้านปี เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ จังหวัดพัทลุง

มาแล้ว!! เทศกาลซากดึกดำบรรพ์พัทลุง (Phatthalung Fossil Festival) Read More »

พิพิธภัณฑ์ฯม.อ.นำโดย รองผู้อำนวยการฯ ร่วมเป็นวิทยากรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการค้นคว้า วิจัย และการบริการจัดการพิพิพิธภัณฑ์ ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมาพิพิธภัณฑ์ฯม.อ. ได้รับเชิญเป็นวิทยากรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการค้นคว้า วิจัย และการบริการจัดการพิพิพิธภัณฑ์ ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา นำโดย คุณณัฐรดา มิตรปวงชน รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯและหัวหน้างานกลุ่มนิทรรศการพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี เป็นวิทยากร และ ดร. พรรณี สอาดฤทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ

พิพิธภัณฑ์ฯม.อ.นำโดย รองผู้อำนวยการฯ ร่วมเป็นวิทยากรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการค้นคว้า วิจัย และการบริการจัดการพิพิพิธภัณฑ์ ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา Read More »

ป่าต้นสาคู: บ้านของสัตว์ป่าและความมั่นคงทางอาหารท้องถิ่น

ป่าสาคู มักพบในพื้นที่ชายฝั่งและพื้นที่ชุ่มน้ำ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพและให้หลักประกันความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชนท้องถิ่น นักวิจัยจาก ม.อ. นำโดยนางสาวอวัศยา พิมสาย และดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข ได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศป่าสาคูในภาคใต้ของประเทศไทย ผลการวิจัยที่สำคัญ

ป่าต้นสาคู: บ้านของสัตว์ป่าและความมั่นคงทางอาหารท้องถิ่น Read More »