🕘 พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดทุกวันอังคาร-เสาร์ (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 9.00-16.00 น.
🇺🇸 English

พิพิธภัณฑ์ ฯ ได้รับรางวัลดีเด่น Thailand Tourism Silver Awards ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลดีเด่น Thailand Tourism Silver Awards ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 จัดโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

พิพิธภัณฑ์ ฯ ได้รับรางวัลดีเด่น Thailand Tourism Silver Awards ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ Read More »

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.จัดโครงการห้องเรียนธรรมชาติ ตอน จุดประกายความคิด สู่เส้นทางนวัตกร กับนักวิทยาศาตร์มืออาชีพให้แก่นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

เมื่อวันที่ วันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารีและศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการห้องเรียนธรรมชาติ ตอน จุดประกายความคิด สู่เส้นทางนวัตกร กับนักวิทยาศาตร์มืออาชีพ ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อพานักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับนักวิจัย ณ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล โดยมีคุณณัฐรดา มิตรปวงชน เป็นหัวหน้าโครงการ และมีนางสาวนัจฐามาศ เมฆเมือง เป็นผู้ประสานงานโครงการ มีนักเรียนเข้าร่วมกว่า 58 คน และครูผู้ประสานงานจำนวน 6 คน

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.จัดโครงการห้องเรียนธรรมชาติ ตอน จุดประกายความคิด สู่เส้นทางนวัตกร กับนักวิทยาศาตร์มืออาชีพให้แก่นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย Read More »

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. จัดโครงการ Workshop ชีววิทยาและการจำแนกชนิดของปลาหมึก

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. จัดโครงการ Workshop ชีววิทยาและการจำแนกชนิดของปลาหมึก ระหว่างวันที่ 4 – 7 กรกฎาคม 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. จัดโครงการ Workshop ชีววิทยาและการจำแนกชนิดของปลาหมึก Read More »

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. พร้อมผลักดันพัทลุง สู่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีความโดดเด่นด้านวิชาการ

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 #นายกเทศมนตรีตำบลมะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เยี่ยมชมนิทรรศการซากดึกดำบรรพ์ที่พบในจังหวัดพัทลุง ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี คุณณัฐรดา มิตรปวงชน รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯให้การต้อนรับ พร้อมด้วย ดร.กิตติชัย ทองเติม ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ยุคไทรแอสซิกในจังหวัดพัทลุง

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. พร้อมผลักดันพัทลุง สู่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีความโดดเด่นด้านวิชาการ Read More »

ปฏิบัติการธรรมชาติศึกษาค้างคาวเมืองไทย ตอน Bats – Pics & Sounds

#PSUNHM 🦇🦇🦇 จบไปแล้วกับ “ปฏิบัติการธรรมชาติศึกษาค้างคาวเมืองไทย ตอน Bats – Pics & Sounds” 📸 เมื่อวันที่ 22-24 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าหาดใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง และถ้ำสีสอน ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ต้องขอขอบคุณเจ้าของสถานที่และท่านผู้เข้าร่วมกิจกรรมมา ณ ที่นี้ครับ

ปฏิบัติการธรรมชาติศึกษาค้างคาวเมืองไทย ตอน Bats – Pics & Sounds Read More »

โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ มูลนิธิ​ธรรมิก​ชน​เพื่อ​คนตาบอด​ใน​ประเทศไทย​ใน​พระ​บรม​ราชูปถัมภ์​สาขา​ จังหวัด​สงขลา เข้าชมนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ฯ

โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ Read More »

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์และเครือข่ายความร่วมมือผู้ปกครองในพื้นที่ภาคใต้ ร่วมกันจัดโครงการ Nature Decoding ถอดรหัสลับในธรรมชาติ

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงานประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ และเครือข่ายความร่วมมือผู้ปกครองในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ร่วมกันจัดโครงการ Nature Decoding ถอดรหัสลับในธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ ม.สงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์และเครือข่ายความร่วมมือผู้ปกครองในพื้นที่ภาคใต้ ร่วมกันจัดโครงการ Nature Decoding ถอดรหัสลับในธรรมชาติ Read More »

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 (TST 2023)

โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจากอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 (The 11th Conference on Taxonomy and Systematics in Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย ที่ทำวิจัยทั้งในอดีตและปัจจุบันและบุคคลทั่วไปที่สนใจงานด้านอนุกรมวิธานและชิสเทมาติคส์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ทั้งในระดับชาติ/ระดับนานาชาติ ในครั้งนี้ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ กล่าวรายงาน ณ ห้อง L1 ศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง)

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 (TST 2023) Read More »

โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาบุคลากร ภายใต้หัวข้อ “การบริหารจัดการและเสริมสร้างเครือข่ายงานพิพิธภัณฑ์”

เมื่อวันที่ 4 – 7 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษาสยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ สำนักงานอธิการบดี ประจำปี 2566 จัดโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาบุคลากร ภายใต้หัวข้อ “การบริหารจัดการและเสริมสร้างเครือข่ายงานพิพิธภัณฑ์” ณ จังหวัดกระบี่และภูเก็ต

โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาบุคลากร ภายใต้หัวข้อ “การบริหารจัดการและเสริมสร้างเครือข่ายงานพิพิธภัณฑ์” Read More »

ม.สงขลานครินทร์ พบค้างคาวชนิดใหม่ของโลก!

นักศึกษาและนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี ม.สงขลานครินทร์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมมือกับนักวิจัยค้างคาวจาก 7 สถาบันทั่วโลกค้นพบและตั้งชื่อค้างคาวชนิดใหม่ในวงศ์ค้างคาวหน้ายักษ์ที่สำรวจพบจากป่าฮาลา-บาลา และป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส รวมทั้งตัวอย่างจากประเทศมาเลเซียด้วย โดยตั้งชื่อว่า “𝐻𝑖𝑝𝑝𝑜𝑠𝑖𝑑𝑒𝑟𝑜𝑠 𝑘𝑖𝑛𝑔𝑠𝑡𝑜𝑛𝑎𝑒” เพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr. Tigga Kingston ผู้ก่อตั้งหน่วยวิจัยและอนุรักษ์ค้างคาวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEABCRU) และผู้นำเครือข่ายความหลากหลายของค้างคาวโลก (GBatNet) โดยค้างคาวชนิดใหม่นี้มีชื่อไทยว่า #ค้างคาวหน้ายักษ์เล็กสีเขม่า ตามลักษณะของสีขน ค้างคาวชนิดนี้พบเพียงสองพื้นที่ในไทยเท่านั้น กับอีก 1 แห่งในคาบสมุทรมลายูของประเทศมาเลเซีย และอีก 2 แห่งในรัฐซาบาห์ของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว แต่คาดว่าจะพบการกระจายของชนิดนี้เพิ่มขึ้นในอนาคตเมื่อมีการศึกษาตัวอย่างอ้างอิงเพิ่มเติม

ม.สงขลานครินทร์ พบค้างคาวชนิดใหม่ของโลก! Read More »