🕘 พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดทุกวันอังคาร-เสาร์ (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 9.00-16.00 น.
🇺🇸 English

พิพิธภัณฑ์ ฯ ได้รับรางวัลดีเด่น Thailand Tourism Silver Awards ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลดีเด่น Thailand Tourism Silver Awards ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 จัดโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.จัดโครงการห้องเรียนธรรมชาติ ตอน จุดประกายความคิด สู่เส้นทางนวัตกร กับนักวิทยาศาตร์มืออาชีพให้แก่นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

เมื่อวันที่ วันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารีและศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการห้องเรียนธรรมชาติ ตอน จุดประกายความคิด สู่เส้นทางนวัตกร กับนักวิทยาศาตร์มืออาชีพ ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อพานักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับนักวิจัย ณ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล โดยมีคุณณัฐรดา มิตรปวงชน เป็นหัวหน้าโครงการ และมีนางสาวนัจฐามาศ เมฆเมือง เป็นผู้ประสานงานโครงการ มีนักเรียนเข้าร่วมกว่า 58 คน และครูผู้ประสานงานจำนวน 6 คน

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. จัดโครงการ Workshop ชีววิทยาและการจำแนกชนิดของปลาหมึก

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. จัดโครงการ Workshop ชีววิทยาและการจำแนกชนิดของปลาหมึก ระหว่างวันที่ 4 – 7 กรกฎาคม 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. พร้อมผลักดันพัทลุง สู่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีความโดดเด่นด้านวิชาการ

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 #นายกเทศมนตรีตำบลมะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เยี่ยมชมนิทรรศการซากดึกดำบรรพ์ที่พบในจังหวัดพัทลุง ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี คุณณัฐรดา มิตรปวงชน รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯให้การต้อนรับ พร้อมด้วย ดร.กิตติชัย ทองเติม ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ยุคไทรแอสซิกในจังหวัดพัทลุง

ปฏิบัติการธรรมชาติศึกษาค้างคาวเมืองไทย ตอน Bats – Pics & Sounds

#PSUNHM 🦇🦇🦇 จบไปแล้วกับ “ปฏิบัติการธรรมชาติศึกษาค้างคาวเมืองไทย ตอน Bats – Pics & Sounds” 📸 เมื่อวันที่ 22-24 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าหาดใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง และถ้ำสีสอน ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ต้องขอขอบคุณเจ้าของสถานที่และท่านผู้เข้าร่วมกิจกรรมมา ณ ที่นี้ครับ

โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ มูลนิธิ​ธรรมิก​ชน​เพื่อ​คนตาบอด​ใน​ประเทศไทย​ใน​พระ​บรม​ราชูปถัมภ์​สาขา​ จังหวัด​สงขลา เข้าชมนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ฯ

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ. มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์และเครือข่ายความร่วมมือผู้ปกครองในพื้นที่ภาคใต้ ร่วมกันจัดโครงการ Nature Decoding ถอดรหัสลับในธรรมชาติ

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงานประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ และเครือข่ายความร่วมมือผู้ปกครองในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ร่วมกันจัดโครงการ Nature Decoding ถอดรหัสลับในธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ ม.สงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 (TST 2023)

โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจากอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 (The 11th Conference on Taxonomy and Systematics in Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย ที่ทำวิจัยทั้งในอดีตและปัจจุบันและบุคคลทั่วไปที่สนใจงานด้านอนุกรมวิธานและชิสเทมาติคส์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ทั้งในระดับชาติ/ระดับนานาชาติ ในครั้งนี้ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ กล่าวรายงาน ณ ห้อง L1 ศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ เชยจิตร (ตึกฟักทอง)

โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาบุคลากร ภายใต้หัวข้อ “การบริหารจัดการและเสริมสร้างเครือข่ายงานพิพิธภัณฑ์”

เมื่อวันที่ 4 – 7 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษาสยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ สำนักงานอธิการบดี ประจำปี 2566 จัดโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาบุคลากร ภายใต้หัวข้อ “การบริหารจัดการและเสริมสร้างเครือข่ายงานพิพิธภัณฑ์” ณ จังหวัดกระบี่และภูเก็ต

ม.สงขลานครินทร์ พบค้างคาวชนิดใหม่ของโลก!

นักศึกษาและนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี ม.สงขลานครินทร์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมมือกับนักวิจัยค้างคาวจาก 7 สถาบันทั่วโลกค้นพบและตั้งชื่อค้างคาวชนิดใหม่ในวงศ์ค้างคาวหน้ายักษ์ที่สำรวจพบจากป่าฮาลา-บาลา และป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส รวมทั้งตัวอย่างจากประเทศมาเลเซียด้วย โดยตั้งชื่อว่า “𝐻𝑖𝑝𝑝𝑜𝑠𝑖𝑑𝑒𝑟𝑜𝑠 𝑘𝑖𝑛𝑔𝑠𝑡𝑜𝑛𝑎𝑒” เพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr. Tigga Kingston ผู้ก่อตั้งหน่วยวิจัยและอนุรักษ์ค้างคาวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEABCRU) และผู้นำเครือข่ายความหลากหลายของค้างคาวโลก (GBatNet) โดยค้างคาวชนิดใหม่นี้มีชื่อไทยว่า #ค้างคาวหน้ายักษ์เล็กสีเขม่า ตามลักษณะของสีขน ค้างคาวชนิดนี้พบเพียงสองพื้นที่ในไทยเท่านั้น กับอีก 1 แห่งในคาบสมุทรมลายูของประเทศมาเลเซีย และอีก 2 แห่งในรัฐซาบาห์ของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว แต่คาดว่าจะพบการกระจายของชนิดนี้เพิ่มขึ้นในอนาคตเมื่อมีการศึกษาตัวอย่างอ้างอิงเพิ่มเติม