#PSUNHM 🌲 พิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.จัดโครงการห้องเรียนธรรมชาติ ตอน จุดประกายความคิด สู่เส้นทางนวัตกร กับนักวิทยาศาตร์มืออาชีพให้แก่นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 🏕️🦇🦋
.
🌲เมื่อวันที่ วันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารีและศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการห้องเรียนธรรมชาติ ตอน จุดประกายความคิด สู่เส้นทางนวัตกร กับนักวิทยาศาตร์มืออาชีพ ให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อพานักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับนักวิจัย ณ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล โดยมีคุณณัฐรดา มิตรปวงชน เป็นหัวหน้าโครงการ และมีนางสาวนัจฐามาศ เมฆเมือง เป็นผู้ประสานงานโครงการ มีนักเรียนเข้าร่วมกว่า 58 คน และครูผู้ประสานงานจำนวน 6 คน
.
🌲พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ เป็นหน่วยงานที่มีนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานเฉพาะกลุ่มสัตว์เป็นจำนวนมาก ทำให้ในกิจกรรมในครั้งนี้นักเรียนจะได้ทดลองเป็นนักวิจัย เรียนรู้กระบวนการทำงานวิจัยโดยมีนักวิจัยเฉพาะด้านร่วมให้ความรู้และดูแลกำกับจนได้มาเป็นโครงร่างงานวิจัยแบบกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นหาตัวเองในการเป็นนักธรรมชาติวิทยา และนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเวียนฐานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ฯ ม.อ.ประจำฐานความรู้ต่าง ๆ ดังนี้
• ฐานแมลง โดย คุณณัฐรดา มิตรปวงชน และ ดร.อับดุลเลาะ ซาเมาะ
• ฐานซากดึกดำบรรพ์ โดย ดร.กิตติชัย ทองเติม และ คุณปรัญชัย มาลัยกนก
• ฐานแพลงก์ตอน โดย ดร.พรรณี สอาดฤทธิ์
• ฐานครัสเตเชียน โดย คุณเรืองฤทธิ์ พรหมดำ
• ฐานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดย ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข และคุณอวัศยา พิมสาย
• ฐานพืช โดย คุณธนัชกฤศ ทรงเดชาไกรวุฒิ
• ฐานสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและนก ได้รับเกียรติจากนักวิจัยประจำหลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. โดย ดร.ยิ่งยศ ลาภวงศ์ และคุณหัตถญา เจริญทรัพย์ มาร่วมให้ความรู้ในครั้งนี้
.
ความรู้ในครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายความคิด สู่เส้นทางนวัตกร กับนักวิทยาศาตร์มืออาชีพให้กับนักเรียนห้องเรียนพิเศษที่มีความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ ได้ฝึกปฏิบัติจริง และได้แลกเปลียนเรียนรู้กับนักวิจัยเฉพาะด้าน ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาความรู้และเตรียมพร้อมสู่การเป็นนักวิจัยในอนาคตต่อไป