#PSUNHM 🦇🦇🦇 จบไปแล้วกับ “ปฏิบัติการธรรมชาติศึกษาค้างคาวเมืองไทย ตอน Bats – Pics & Sounds” 📸 เมื่อวันที่ 22-24 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าหาดใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง และถ้ำสีสอน ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ต้องขอขอบคุณเจ้าของสถานที่และท่านผู้เข้าร่วมกิจกรรมมา ณ ที่นี้ครับ
.
📍ในปฏิบัติการศึกษาค้างคาวภาคสนามครั้งนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธรรมชาติวิทยามืออาชีพต่างก็ได้ฝึกการสำรวจ การจับค้างคาว การจำแนกชนิด และที่สำคัญคือ ‘การถ่ายภาพและบันทึกเสียงค้างคาว’ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการร่วมพัฒนาฐานข้อมูลการปรากฏและเสียงค้างคาวของไทยต่อไป
.
📸ในการสำรวจภาคสนามครั้งนี้ เราพบค้างคาวรวมทั้งสิ้น 14 ชนิด ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับการสำรวจเพียงสองคืนในช่วงหน้าฝนแบบนี้
.
📍ชนิดที่น่าสนใจที่เราพบ ได้แก่ #ค้างคาวขอบหูขาวกลาง (𝐶𝑦𝑛𝑜𝑝𝑡𝑒𝑟𝑢𝑠 𝑠𝑝ℎ𝑖𝑛𝑥) ที่แม้จะเป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากในภาคใต้ แต่มันถือเป็นชนิดที่สำคัญมากต่อการ “ปลูกป่า” ตามธรรมชาติ นอกจากนั้นเรายังพบค้างคาวป่าขนาดเล็กที่กินแมลงในป่ารกเป็นอาหาร คือ #ค้างคาวยอดกล้วยเล็ก (𝐾𝑒𝑟𝑖𝑣𝑜𝑢𝑙𝑎 𝑚𝑖𝑛𝑢𝑡𝑎) และ #ค้างคาวฟันร่องเล็ก (𝑃ℎ𝑜𝑛𝑖𝑠𝑐𝑢𝑠 𝑎𝑡𝑟𝑜𝑥) ที่นอกจากน่ารักแล้ว ⚠️ยังหายากและพบได้เฉพาะป่าภาคใต้เท่านั้น
.
😀 หวังว่าความรู้และทักษะการศึกษาค้างคาวที่ได้ส่งต่อสู่เครือข่ายนักนิยมธรรมชาติจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้และมีส่วนช่วยสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ค้างคาวในวงกว้างยิ่งขึ้น แล้วพบกันใหม่กับกิจกรรมปฏิบัติการธรรมชาติศึกษากับ PSUNHM ครั้งต่อไปครับ 🍃
🙏 ขอบคุณภาพจาก คุณ Katanyou Wuttichaitanakorn Katanyou Photographer และคุณ Kawin Sirichantakul