PSU ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าบนเกาะพระทองผ่านงานวิจัยเชิงบูรณาการ

     พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมรสชกุมารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศและสัตว์ป่าของเกาะพระทอง จังหวัดพังงา โดยนักวิจัยร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและศึกษาสัตว์ป่าสายพันธุ์สำคัญ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
     ในช่วงปีที่ผ่านมา นักวิจัยของพิพิธภัณฑ์ฯ ได้ค้นพบพฤติกรรมการทำรังของนกตะกรุมในธรรมชาติที่ไม่เคยปรากฎต่อสายตาคนทั่วไป และได้บันทึกประชากรและการกระจายของกวางป่า ข้อมูลเหล่านี้ถูกแบ่งปันกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อใช้ในการวางแผนการใช้ที่ดิน พิพิธภัณฑ์ยังดำเนินการโครงการขยายผลสร้างจิตสำนึกรวมถึงการจัดค่ายเยาวชน เพื่อส่งเสริมการตระหนักถึงการอนุรักษ์

นอกจากนี้พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ฯ ยังดำเนินกิจกรรมวิจัยด้านอนุกรมวิธานและการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นที่สำคัญและโดดเด่นของภาคใต้ รวมถึงการบริการข้อมูลวิชาการ ให้ความรู้ทางด้านธรรมชาติวิทยา การอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ และยังมีงานวิจัยแผนบูรณาการ การส่งเสริมการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศในเกาะพระทองโดยบูรณาการงานวิจัยทรัพยากรท้องถิ่นและกิจกรรมชุมชนเชิงรุก ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้สนับสนุนการศึกษาความหลากหลายของของทรัพยากรท้องถิ่นในระบบนิเวศที่หลากหลายในภาคใต้ ทั้งระบบนิเวศป่าตั้งแต่ยอดเขา ถึงนิเวศถ้ำหินปูน ไปจนถึงระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งในแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่เจ็ด (2565-2569) นี้ นักวิจัยของพิพิธภัณฑ์ฯ ก็ได้ร่วมดำเนินการเก็บข้อมูลทางด้านความหลากหลาย การกระจาย ประชากร และนิเวศวิทยาของทรัพยากรชีวภาพกลุ่มต่าง ๆ ตัวอย่างของทรัพยากรชีวภาพ และข้อมูลทรัพยากรชีวภาพในรูปแบบดิจิตอล ที่ได้มาจากการวิจัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเกาะพระทอง ซึ่งนำไปสู่การร่วมกันกำหนดนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพ และการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism) และสื่อเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพกลุ่มต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นจะช่วยเผยแพร่องค์ความรู้อันนำมาสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนต่อไปอีกด้วย
เกาะพระทอง เป็นเกาะหนึ่งทางด้านตะวันตกของจังหวัดพังงา อยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ห่างจากฝั่งประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีความยาวตามแนวเหนือใต้ 15.4 กิโลเมตร ความกว้างตามแนวตะวันออกถึงตะวันตก 9.7 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 92 ตารางกิโลเมตร หรือ 57,500 ไร่
เกาะพระทอง มีระบบนิเวศที่หลากหลายและค่อนข้างสมบูรณ์ เช่น ทุ่งหญ้า แนวสันทราย ชายหาด ป่าชายเลน พรุ หญ้าทะเล และแนวปะการัง เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสูงมาก ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์บก และสัตว์ป่าที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจำนวนมากที่ได้ชี้บ่งถึงความรุ่มรวยทางทรัพยากรของเกาะพระทองและการนำไปใช้ประโยชน์เชิงรูปธรรมที่นำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารและการดำรงชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ เกาะพระทองเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ เป็นสถานที่ประกอบอาชีพและสร้างรายได้ของชาวบ้านในพื้นที่ เป็นพื้นที่เพื่อศึกษาวิจัยและติดตามประชากรของสิ่งมีชีวิตที่กระจายแคบและจำเพาะถิ่น
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสร้างรังวางไข่ของนกหายากที่สำคัญของประเทศ ประกอบกับปัจจุบันเกาะพระทองกำลังเป็นที่นิยมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ มีการพัฒนาทางโครงสร้างและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ดั้งนั้นเกาะพระทองจึงมีความสำคัญต่ออนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น ควรมีการจัดการที่ดีและถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้และทำความเข้าใจถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลง การเฝ้าระวัง และแนวทางการจัดการพื้นที่เกาะพระทองผ่านกระบวนการเรียนรู้และวิจัย และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเชิงสร้างสรรค์สู่ชุมชนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนต่อไป

PSU Promotes Nature and Wildlife Conservation on Koh Phrathong Island Through Integrative Research and Outreach
     The Princess Maha Chakri Sirindhorn Natural History Museum at Prince of Songkla University is conducting an integrated research project to conserve the ecosystem of Koh Phrathong Island. Researchers are collaborating with local communities and government agencies to protect biodiversity and study key wildlife species. This project is supported by the Plant Genetic Conservation Project under the initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn.
During recent years, PSUNHM researchers discovered unique nesting behavior of the threatened Lesser Adjutant bird and documented the population and distribution of the endangered Sambar Deer. This valuable data is being shared with local authorities to inform land use planning. The museum is also implementing outreach programs, including youth camps, to promote conservation awareness.

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง