ม.สงขลานครินทร์ พบค้างคาวชนิดใหม่ของโลก!

นักศึกษาและนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี ม.สงขลานครินทร์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมมือกับนักวิจัยค้างคาวจาก 7 สถาบันทั่วโลกค้นพบและตั้งชื่อค้างคาวชนิดใหม่ในวงศ์ค้างคาวหน้ายักษ์ที่สำรวจพบจากป่าฮาลา-บาลา และป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส รวมทั้งตัวอย่างจากประเทศมาเลเซียด้วย โดยตั้งชื่อว่า “𝐻𝑖𝑝𝑝𝑜𝑠𝑖𝑑𝑒𝑟𝑜𝑠 𝑘𝑖𝑛𝑔𝑠𝑡𝑜𝑛𝑎𝑒” เพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr. Tigga Kingston ผู้ก่อตั้งหน่วยวิจัยและอนุรักษ์ค้างคาวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEABCRU) และผู้นำเครือข่ายความหลากหลายของค้างคาวโลก (GBatNet) โดยค้างคาวชนิดใหม่นี้มีชื่อไทยว่า #ค้างคาวหน้ายักษ์เล็กสีเขม่า ตามลักษณะของสีขน ค้างคาวชนิดนี้พบเพียงสองพื้นที่ในไทยเท่านั้น กับอีก 1 แห่งในคาบสมุทรมลายูของประเทศมาเลเซีย และอีก 2 แห่งในรัฐซาบาห์ของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว แต่คาดว่าจะพบการกระจายของชนิดนี้เพิ่มขึ้นในอนาคตเมื่อมีการศึกษาตัวอย่างอ้างอิงเพิ่มเติม

ม.สงขลานครินทร์ พบค้างคาวชนิดใหม่ของโลก! Read More »